สมัครเรียนได้ที่นี้
หลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน
ภาพรวมหลักสูตร
หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเงิน)
Master of Economics Program (Financial Economics)
ในแวดวงการเงินทุกวันนี้ เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและมีวิวัฒนาการที่สำคัญ ที่ธุรกิจการเงินต้องพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันยุคทันสมัย ในอุตสาหกรรมการเงินและบริการทางการเงินมีการแข่งขันสูงขึ้นในรูปแบบที่เปลี่ยนไป ต้องพัฒนาให้เข้ากับสังคมยุคดิจิทัล เทคโนโลยีดังกล่าวจึงส่งผลกระทบต่อวิชาชีพด้านเศรษฐศาสตร์การเงิน ถือว่าเป็นความท้าทายของนักเศรษฐศาสตร์การเงินในโลกยุคใหม่ ที่ต้องมีทักษะความสามารถที่สำคัญในด้านการวิเคราะห์สถานการณ์และการเปลี่ยนแปลง
คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ ได้เปิดสอนหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยมุ่งเน้นในการจัดสรรทรัพยากรเงินทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด ภายใต้ความเสี่ยง และความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลข่าวสาร ดังนั้น หลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงินจึงเป็นการผสมผสานของ 3 สาขาวิชาหลัก ได้แก่ ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ทฤษฎีทางการเงิน และเครื่องมือทางเศรษฐมิติ เข้าด้วยกัน เพื่อผลิตบุคลากรทางการเงินที่สามารถเชื่อมโยงเศรษฐกิจ มหภาค ตลาดทุน ตลาดเงิน ทั้งในและระหว่างประเทศ และสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางการเงินได้อย่างเหมาะสม และในปี พ.ศ. 2560 ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลง โดยจัดให้มี 2 สาขาวิชาเอก ได้แก่ สาขาวิชาเอกการวิเคราะห์การลงทุน และสาขาวิชาเอกการวางแผนการเงิน เพื่อให้นักศึกษาสามารถก้าวหน้าในเส้นทางวิชาชีพนักเศรษฐศาสตร์การเงินในโลกยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริหารจัดการกองทุน วาณิชธนกิจ วิจัย และบริหารความมั่งคั่ง
เปิดสอนทั้งภาคปกติ (เรียนในเวลาราชการ) และนอกเวลาราชการ (เรียนวันเสาร์-อาทิตย์ หรือในวันธรรมดานอกเวลาราชการเฉพาะบางวิชา) โดยกำหนดให้ศึกษาไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต ซึ่งผู้ศึกษาในภาคปกติและภาคพิเศษสามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายในเวลาประมาณ 1 ปี 8 เดือน
ความแตกต่างระหว่างหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ กับเศรษฐศาสตร์การเงิน
หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (สาขาวิชาธุรกิจการเงิน) มุ่งเน้นที่จะอธิบายปรากฏการณ์ทางการเงินและช่วยตัดสินใจในปัญหาต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจการเงิน เช่น ทางเลือกของการลงทุนใดเหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจ ความเสี่ยงทางการเงินเป็นอย่างไรและจะจัดการความเสี่ยงเหล่านั้นได้อย่างไร ตลอดจนการเลือกแนวทางในการจัดการสินทรัพย์และภาระผูกพันของธุรกิจควรเป็นไปอย่างไร เป็นต้น
ในขณะที่หลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงินมุ่งเน้นในการตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในตลาดการเงินและราคาสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น ราคาของสินทรัพย์ทางการเงินประเภทต่างๆ (พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นสามัญ ตราสารอนุพันธ์) ถูกกำหนดขึ้นอย่างไร ผู้ลงทุนควรถือสินทรัพย์ทางการเงินประเภทใดบ้างในกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนจึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ในการลงทุน ผู้วิเคราะห์ควรใช้เครื่องมือใดจึงจะเหมาะสมในการวิเคราะห์การลงทุน เป็นต้น
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
วิธีการเรียนรู้
โครงสร้างหลักสูตรและแผนการเรียน
หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน
Master of Economics Program in Financial Economics
ชื่อปริญญา
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเงิน)
ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์การเงิน)
Master of Economics (Financial Economics)
M. Econ. (Financial Economics)
วิชาเอก มีสาขาวิชาเอกจำนวน 2 สาขาวิชา ดังนี้
– การวิเคราะห์การลงทุน (Investment Analysis)
– การวางแผนการเงิน (Financial Planning)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
แผน ก. (2) 36 หน่วยกิต ศึกษารายวิชา 24 หน่วยกิต วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
แผน ข 36 หน่วยกิต ศึกษารายวิชา 33 หน่วยกิต วิชาค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา
|
โครงสร้างหลักสูตร แผน ก.(2)(ทำวิทยานิพนธ์) |
โครงสร้างหลักสูตร แผน ข.(ไม่ทำวิทยานิพนธ์) |
---|---|---|
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน |
ไม่นับหน่วยกิต |
ไม่นับหน่วยกิต |
2. หมวดวิชาพื้นฐาน |
6 หน่วยกิต |
6 หน่วยกิต |
3. หมวดวิชาหลัก |
9 หน่วยกิต |
9 หน่วยกิต |
4. หมวดวิชาเอก |
9 หน่วยกิต |
9 – 15 หน่วยกิต |
5. หมวดวิชาเลือก |
– |
3 – 9 หน่วยกิต |
6. วิชาการค้นคว้าอิสระ |
– |
3 หน่วยกิต |
7. วิทยานิพนธ์ |
12 หน่วยกิต |
– |
8. สอบประมวลความรู้ |
สอบประมวลความรู้ |
สอบประมวลความรู้ |
รวม |
36 หน่วยกิต |
36 หน่วยกิต |
แผนการศึกษา
แผน ก.(2) (ทำวิทยานิพนธ์)
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา
|
3 หน่วยกิต(ไม่นับหน่วยกิต) |
ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
|
3 หน่วยกิต(ไม่นับหน่วยกิต) |
ศก 4001 จริยธรรมกับเศรษฐศาสตร์การเงิน
|
1.5 หน่วยกิต(ไม่นับหน่วยกิต) |
ศก 5011 การวิเคราะห์เชิงปริมาณสำหรับเศรษฐศาสตร์การเงิน |
1.5 หน่วยกิต |
ศก 5012 เศรษฐมิติการเงิน |
3 หน่วยกิต |
ศก 6011 เศรษฐศาสตร์จุลภาคเพื่อการวิเคราะห์ทางการเงิน |
3 หน่วยกิต |
ศก 6013 การเงินธุรกิจ |
3 หน่วยกิต |
ศก 7xxx วิชาเอก (วิชาที่ 1) |
3 หน่วยกิต |
รวม |
13.5 หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ
|
3 หน่วยกิต(ไม่นับหน่วยกิต) |
ศก 5013 การวิจัยทางเศรษฐศาสตร์การเงิน |
1.5 หน่วยกิต |
ศก 6012 เศรษฐศาสตร์มหภาคและระบบการเงิน |
3 หน่วยกิต |
ศก 7xxx วิชาเอก (วิชาที่ 2) |
3 หน่วยกิต |
รวม |
7.5 หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคฤดูร้อน
ศก 7xxx วิชาเอก (วิชาที่ 3) |
3 หน่วยกิต |
รวม |
3 หน่วยกิต |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
ศก 9004 วิทยานิพนธ์ |
3 หน่วยกิต |
รวม |
3 หน่วยกิต |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
ศก 9004 วิทยานิพนธ์ |
9 หน่วยกิต |
รวม |
9 หน่วยกิต |
แผนการศึกษา แผน ข (ไม่ทำวิทยานิพนธ์)
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา
|
3 หน่วยกิต(ไม่นับหน่วยกิต) |
ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
|
3 หน่วยกิต(ไม่นับหน่วยกิต) |
ศก 4001 จริยธรรมกับเศรษฐศาสตร์การเงิน
|
1.5 หน่วยกิต(ไม่นับหน่วยกิต) |
ศก 5011 การวิเคราะห์เชิงปริมาณสำหรับเศรษฐศาสตร์การเงิน |
1.5 หน่วยกิต |
ศก 5012 เศรษฐมิติการเงิน |
3 หน่วยกิต |
ศก 6011 เศรษฐศาสตร์จุลภาคเพื่อการวิเคราะห์ทางการเงิน |
3 หน่วยกิต |
ศก 6013 การเงินธุรกิจ |
3 หน่วยกิต |
ศก 7xxx วิชาเอก (วิชาที่ 1) |
3 หน่วยกิต |
รวม |
13.5 หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ
|
3 หน่วยกิต(ไม่นับหน่วยกิต) |
ศก 5013 การวิจัยทางเศรษฐศาสตร์การเงิน |
1.5 หน่วยกิต |
ศก 6012 เศรษฐศาสตร์มหภาคและระบบการเงิน |
3 หน่วยกิต |
ศก 7xxx วิชาเอก (วิชาที่ 2) |
3 หน่วยกิต |
รวม |
7.5 หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคฤดูร้อน
ศก 7xxx วิชาเอก (วิชาที่ 3) |
3 หน่วยกิต |
รวม |
3 หน่วยกิต |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
ศก 7xxx วิชาเลือก |
3 หน่วยกิต |
ศก 7xxx วิชาเลือก |
3 หน่วยกิต |
ศก 7xxx วิชาเลือก |
3 หน่วยกิต |
ศก 9000 การค้นคว้าอิสระ |
3 หน่วยกิต |
รวม |
12 หน่วยกิต |