หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
สมัครได้ที่นี่
ภาพรวมหลักสูตร
หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
Master of Economics Program (Business Economics)
หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) มีการเปิดสอนในเวลาราชการตั้งแต่ 2535 และได้เปิดสอนภาคพิเศษในปีต่อมา โดยมีการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานเน้นพัฒนาบุคลากรในสายอาชีพต่างๆ ดังนั้น หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจจึงมุ่งเน้นสร้างความเข้าใจทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์และวิธีการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งการประยุกต์ใช้เครื่องมือวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อองค์กรธุรกิจเอกชน องค์กรภาครัฐและองค์การสาธารณประโยชน์
ภาคปกติ
เรียนในเวลาราชการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 น.
สาขาวิชาเอก
– การวิเคราะห์โครงการ
– ธุรกิจระหว่างประเทศ
– ธุรกิจการเงินและการธนาคาร
ภาคพิเศษ
เรียนภาคพิเศษ วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.
สาขาวิชาเอก
– การวิเคราะห์โครงการ
– ธุรกิจระหว่างประเทศ
– ธุรกิจการเงินและการธนาคาร
รับนักศึกษาต่อภาคการศึกษา
ภาคปกติ : จำนวน 20 คน
ภาคพิเศษ : จำนวน 60 คน
อัตราค่าหน่วยกิต
ภาคปกติ : หน่วยกิตละ 1,500 บาท
ภาคพิเศษ : หน่วยกิตละ 4,500 บาท
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
ภาคปกติ : ประมาณ 99,000 บาท
ภาคพิเศษ : ประมาณ 210,000 บาท
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
ปรัชญา
หลักสูตรนี้มุ่งเน้นในการสร้างความเข้าใจในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์และวิธีการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งเครื่องมือวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อประยุกต์ใช้ในองค์กรธุรกิจเอกชน องค์กรภาครัฐและองค์กรสาธารณประโยชน์
มหาบัณฑิตทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คือ ผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจในการทำงานของระบบเศรษฐกิจภาคธุรกิจ และบทบาทของรัฐบาลที่มีผลต่อการประกอบธุรกิจ มีทักษะทางวิชาการเศรษฐศาสตร์ และการประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจ การวิจัย และมีศักยภาพในการเพิ่มพูนความรู้ไปตามพลวัตของการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจโลก และมีจริยธรรมในทางวิชาการและการประกอบอาชีพ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
-
เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในองค์กรธุรกิจเอกชน องค์กรภาครัฐ และองค์กรสาธารณประโยชน์
-
เพื่อสร้างศักยภาพของมหาบัณฑิตในการพัฒนาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์และการประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจ
-
เพื่อปลูกฝังจริยธรรมในการประกอบอาชีพแก่มหาบัณฑิต
-
เพิ่มทักษะในการปฏิบัติงานของมหาบัณฑิต
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
-
ประยุกต์ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ เศรษฐมิติ รวมถึงเทคนิคเชิงปริมาณ และทักษะการสร้างแบบจำลอง เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรม หน่วยงานรัฐ และสังคม
-
สร้างแบบจำลอง วิเคราะห์และแปลผลข้อมูล เพื่อการแก้ปัญหา โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และวิจัยที่ทันสมัย
-
รู้จักตั้งคำถาม ค้นคว้าและหาคำตอบ ตามกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต หาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้และเทคโนโลยี
-
บูรณาการหลักคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในบริบทขององค์กรและสังคม
-
สื่อสารและนำเสนออย่างมีประสิทธิผล ทั้งด้านการเขียน และการพูด
-
มีภาวะผู้นำทางความคิดและความรับผิดรับชอบ รวมถึงการทำงานเป็นทีมทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกของกลุ่ม
-
ปฏิบัติตามจรรยาบรรณของการประกอบวิชาชีพ มีจิตสำนึกต่อเพื่อนมนุษย์ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
วิธีการเรียนรู้
โครงสร้างหลักสูตรและแผนการเรียน
วิชาเอก มีสาขาวิชาเอกจำนวน 3 สาขาวิชา ดังนี้
-
การวิเคราะห์โครงการ (Project Analysis)
-
ธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business)
-
ธุรกิจการเงินและการธนาคาร (Business Finance and Banking)
หมวดวิชา |
โครงสร้างหลักสูตรแผน ก.(2)
|
โครงสร้างหลักสูตรแผน ข. |
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน |
ไม่นับหน่วยกิต |
ไม่นับหน่วยกิต |
2. หมวดวิชาพื้นฐาน |
6 หน่วยกิต |
6 หน่วยกิต |
3. หมวดวิชาหลัก |
9 หน่วยกิต |
9 หน่วยกิต |
4. หมวดวิชาเอก |
9 หน่วยกิต |
9 – 15 หน่วยกิต |
5. หมวดวิชาเลือก |
– |
3 – 9 หน่วยกิต |
6. วิชาการค้นคว้าอิสระ |
– |
3 หน่วยกิต |
7. วิทยานิพนธ์ |
12 หน่วยกิต |
– |
8. สอบประมวลความรู้ |
สอบประมวลความรู้ |
สอบประมวลความรู้ |
รวม |
36 หน่วยกิต |
36 หน่วยกิต |
แผนการศึกษาแผน ก. (2) (ทำวิทยานิพนธ์)
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
สพ 4000 * |
พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา |
3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ภส 4001 * |
การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา |
3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ศธ 4010 |
คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ |
3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ศธ 5010 |
พื้นฐานบัญชีและการเงิน |
3 หน่วยกิต |
ศธ 6010 |
จุลเศรษฐศาสตร์ |
3 หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
ภส 4002 * |
การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ |
3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ศธ 5020 |
เศรษฐมิติประยุกต์และการพยากรณ์ธุรกิจ |
3 หน่วยกิต |
ศธ 6020 |
มหเศรษฐศาสตร์ |
3 หน่วยกิต |
ศธ 7000 |
อุตสาหกรรมและกลยุทธ์องค์การ |
3 หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 3
ศธ 7xxx |
วิชาเอก (วิชาที่หนึ่ง) |
3 หน่วยกิต |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
ศธ 6030 |
นโยบายเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ |
3 หน่วยกิต |
ศธ 7xxx |
วิชาเอก (วิชาที่สอง) |
3 หน่วยกิต |
ศธ 9004 |
วิทยานิพนธ์ |
3 หน่วยกิต |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
ศธ 9004 |
วิทยานิพนธ์ |
9 หน่วยกิต |
แผนการศึกษาแผน ข. (ไม่ทำวิทยานิพนธ์)
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
สพ 4000 * |
พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา |
3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ภส 4001 * |
การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา |
3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ศธ 4010 |
คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ |
3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ศธ 5010 |
พื้นฐานบัญชีและการเงิน |
3 หน่วยกิต |
ศธ 6010 |
จุลเศรษฐศาสตร์ |
3 หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
ภส 4002 * |
การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ |
3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ศธ 5020 |
เศรษฐมิติประยุกต์และการพยากรณ์ธุรกิจ |
3 หน่วยกิต |
ศธ 6020 |
มหเศรษฐศาสตร์ |
3 หน่วยกิต |
ศธ 7000 |
อุตสาหกรรมและกลยุทธ์องค์การ |
3 หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 3
ศธ 7xxx |
วิชาเอก (วิชาที่หนึ่ง) |
3 หน่วยกิต |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
ศธ 6030 |
นโยบายเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ |
3 หน่วยกิต |
ศธ 7xxx |
วิชาเอก (วิชาที่สอง) |
3 หน่วยกิต |
ศธ 8001 |
สัมมนาปฏิบัติการทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ |
3 หน่วยกิต |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
ศธ 7xxx |
วิชาเลือก (วิชาที่หนึ่ง) |
3 หน่วยกิต |
ศธ 7xxx |
วิชาเลือก (วิชาที่สอง) |
3 หน่วยกิต |
ศธ 9000 |
การค้นคว้าอิสระ |
3 หน่วยกิต |
หมายเหตุ : แผนการศึกษาอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
* เฉพาะนักศึกษาภาคปกติ
คำอธิบายรายวิชา
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
สพ 4000 |
พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา |
3 หน่วยกิต |
แนะนำการเมืองและการปกครองไทย เศรษฐกิจไทย ธุรกิจไทย สังคมไทย จริยธรรมของนักบริหาร จริยธรรมทางวิชาการ การพัฒนาบุคลิกภาพ สุขภาพกาย สุขภาพจิต รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร การเขียนรายงานทางวิชาทางวิชาการ และเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา
ภส 4001 |
การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา |
3 หน่วยกิต |
สร้างเสริมความรู้พื้นฐานด้านไวยากรณ์ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาทักษะการอ่าน เช่น การศึกษาประเภทของประโยค การหาแกนหลักและส่วนขยายของประโยค เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้และพัฒนาทักษะการอ่านงานเขียนทางวิชาการ เช่น ตำรา บทความวิชาการ โดยเน้นการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ เพื่อหาข้อสรุป การตีความประโยคการเดาความหมายของคำศัพท์จากบริบท การอ่านแบบข้ามเพื่อหาข้อมูลเฉพาะ การหาความสัมพันธ์ของประโยคและย่อหน้าในงานเขียนและการอ่านเชิงวิเคราะห์
ภส 4002 |
การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ |
3 หน่วยกิต |
เนื้อหาและกิจกรรมเน้นการบูรณาการทักษะทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเชิงวิชาการเบื้องต้น
ภส 4011 |
การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา |
3 หน่วยกิต |
ฝึกทักษะและกลยุทธการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการที่นักศึกษาได้ศึกษามาก่อนแล้วในวิชา ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษาเพิ่มเติม ทั้งนี้นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนในลักษณะเฉพาะบุคคลมากขึ้น
ภส 4012 |
การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ |
3 หน่วยกิต |
ฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเพิ่มเติมและซ่อมเสริมทักษะดังกล่าว สำหรับนักศึกษาที่ยังบกพร่องในการเรียนวิชา ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ เพื่อปรับปรุงความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ด้วยการสอนและฝึกในลักษณะเฉพาะบุคคล
ศธ 4010 |
คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ |
3 หน่วยกิต |
ประยุกต์เทคนิคพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในการสร้างและวิเคราะห์ตัวแบบประเภทต่าง ๆ ทางเศรษฐศาสตร์ ศึกษาตีความข้อมูลทางเศรษฐกิจ การวิเคราะห์ข้อมูล ทฤษฎีความน่าจะเป็น หลักการและเทคนิคในการสุ่มตัวอย่าง การนิรนัยทางสถิติ การทดสอบสมมติฐาน สหสัมพันธ์ของตัวแปร การวิเคราะห์เส้นถดถอยอย่างง่าย การสรุปและการนำเสนอผลการวิเคราะห์ทางสถิติ
หมวดวิชาพื้นฐาน
ศธ 5010 |
พื้นฐานบัญชีและการเงิน |
3 หน่วยกิต |
ศึกษาหลักพื้นฐานทางบัญชีและงบการเงิน การวิเคราะห์งบการเงินเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ เครื่องมือพื้นฐานของการจัดการทางการเงิน เช่น มูลค่าตามเวลาของเงินและการประยุกต์ใช้ แนวคิดเรื่องความเสี่ยงผลตอบแทน โครงสร้างของอัตราดอกเบี้ยและการประยุกต์กับสินทรัพย์ทางการเงิน ต้นทุนของเงินทุน ตลอดจนศึกษาพื้นฐานการตัดสินใจเกี่ยวกับงบประมาณลงทุน
ศธ 5020 |
เศรษฐมิติประยุกต์และการพยากรณ์ธุรกิจ |
3 หน่วยกิต |
ศึกษาเครื่องมือพื้นฐานเชิงปริมาณเพื่อประมาณความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางเศรษฐศาสตร์ เช่น สมการถดถอย (regression) โดยเน้นวิธีกำลังสองน้อยที่สุดเป็นเครื่องมือในการประมาณ การทดสอบตัวแบบที่แตกต่างไปจากตัวแบบมาตรฐาน การพยากรณ์การวิเคราะห์อนุกรมเวลาของตัวแปรเศรษฐกิจและธุรกิจ และการประยุกต์เศรษฐมิติโดยการศึกษาผลงานที่เกี่ยวข้องและการปฏิบัติจริง
หมวดวิชาหลัก
ศธ 6010 |
จุลเศรษฐศาสตร์ |
3 หน่วยกิต |
ศึกษาวิธีการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ พฤติกรรมของผู้บริโภคและอุปสงค์ต่อสินค้า ทฤษฎีการผลิตและต้นทุนการผลิต โครงสร้างตลาดและทฤษฎีว่าด้วยการกำหนดราคาสินค้า ทฤษฎีเกมส์และการตัดสินใจ ทฤษฎีว่าด้วยตลาดของปัจจัยการผลิตและการกระจายรายได้ ความล้มเหลวของกลไกราคาและแนวทางแก้ไข
ศธ 6020 |
มหเศรษฐศาสตร์ |
3 หน่วยกิต |
วิชามหเศรษฐศาสตร์ศึกษาปฏิสัมพันธ์ในระดับมหภาคของหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งได้แก่ ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคต่างประเทศ ศึกษาทฤษฎีการเจริญเติบโตของประเทศในระยะยาว และวิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความผันผวนของระบบเศรษฐกิจในระยะสั้น รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายภาครัฐที่มีต่อภาคธุรกิจ
ศธ 6030 |
นโยบายเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ |
3 หน่วยกิต |
ศึกษากรอบความคิดในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจเพื่อให้นักธุรกิจมีพื้นฐานการวิเคราะห์ ทิศทางการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลและผลกระทบที่จะมีต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื้อหาวิชาครอบคลุมการทำงานของกลไกตลาด การดำเนินมาตรการแทรกแซงกลไกของรัฐในรูปแบบต่างๆและความบิดเบือนที่เกิดขึ้น แนวทางการดำเนินนโยบายของรัฐด้านสินค้าสาธารณะ ผลกระทบภายนอก ความสมมาตรของข้อมูล การแข่งขันทางการค้า และการดำเนินนโยบายรัฐวิสาหกิจ ในส่วนของนโยบายมหภาค ครอบคลุมนโยบายการเงินการคลังเพื่อรักษาเสถียรภาพและการขยายตัวทางทางเศรษฐกิจในระยะยาว และส่วนสุดท้ายเป็นการวิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้
หมวดวิชาเอกบังคับ
ศธ 7000 |
อุตสาหกรรมและกลยุทธ์องค์การ |
3 หน่วยกิต |
ศึกษาแนวคิดขององค์การอุตสาหกรรม การจัดการองค์การอุตสาหกรรมในสภาพแวดล้อมระดับสากล พฤติกรรมและกลยุทธ์ในสภาพการแข่งขันของตลาดต่างๆ การกำหนดกลยุทธ์ในองค์การ การออกแบบโครงสร้างวัฒนธรรม และกลยุทธ์ขององค์การอุตสาหกรรม ประเภทและรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงองค์การ เทคนิคการบริหารกลยุทธ์ในองค์การ
หมวดวิชาเอก
สาขาวิชาเอก การวิเคราะห์โครงการ
ศธ 7011 |
การวิเคราะห์ความคุ้มค่าการลงทุน |
3 หน่วยกิต |
ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการวิเคราะห์ความคุ้มค่าการลงทุนทั้งที่เป็นโครงการภาครัฐและโครงการเอกชนภายใต้โครงสร้างตลาดต่างๆ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจลงทุนที่ถูกต้องแม่นยำ การเลือกใช้เกณฑ์การตัดสินใจลงทุน เช่น มูลค่าสุทธิปัจจุบัน (NPV) อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) และค่าอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (ฺBenefit Cost Ratio) การใช้หลักการวิเคราะห์แบบ With and Without การเลือกใช้อัตราคิดลดที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์แบบราคาตลาดและแบบราคาคงที่ การใช้อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดและอัตราแลกเปลี่ยนเงา และ Conversion Factor การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของการลงทุนแบบต่างๆ รวมถึงวิธีการประเมินมูลค่าผลกระทบสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม
ศธ 7012 |
การวางแผนและจัดการโครงการ |
3 หน่วยกิต |
ศึกษาวงจรการวางแผนและดำเนินโครงการ แนวคิด กระบวนการ วิธีการวางแผนและวิเคราะห์โครงการลงทุนของภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ โดยครอบคลุมการวิเคราะห์ด้านอุปสงค์และการตลาด ด้านเทคนิค ด้านการเงิน ด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม การแปลงแผนขององค์กรเป็นแผนธุรกิจและแผนโครงการ การแปลงแผนกลยุทธ์ของโครงการเป็นแผนปฏิบัติโครงการและการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ ตลอดจนการจัดเตรียมรายงานการวิเคราะห์โครงการ
สาขาวิชาเอก ธุรกิจระหว่างประเทศ
ศธ 7021 |
การค้าและธุรกิจระหว่างประเทศ |
3 หน่วยกิต |
การศึกษาทฤษฎีและนโยบายการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ความร่วมมือและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและภาคธุรกิจภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดเศรษฐศาสตร์การค้าระหว่างประเทศในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และบทบาทขององค์กรระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมและการดำเนินงานของธุรกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งการศึกษากลยุทธ์และความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจระหว่างประเทศเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจโลก
ศธ 7022 |
การเงินระหว่างประเทศ |
3 หน่วยกิต |
ศึกษาทฤษฎีและนโยบายการเงินระหว่างประเทศ การปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและภาคธุรกิจภายในประเทศ สภาพแวดล้อมทางการเงินระหว่างประเทศ การพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน กลยุทธ์ของบริษัทกับการลงทุนในต่างประเทศ การบริหารความเสี่ยงจากการเมือง การประเมินโครงการลงทุนในต่างประเทศ
สาขาวิชาเอก ธุรกิจการเงินและการธนาคาร
ศธ 7031 |
ตลาดการเงินและสถาบันการเงิน |
3 หน่วยกิต |
ศึกษาภาพรวมของตลาดและสถาบันการเงินทั้งภายในและต่างประเทศ กลไกการทำงานของระบบการเงินที่สัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจ ปัจจัยกำหนดโครงสร้างอัตราดอกเบี้ย ทฤษฎีการลงทุนทางการเงิน การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน และนวัตกรรมทางการเงิน บทบาทของสถาบันการเงินประเภทต่าง ๆ ในการระดมทุนและการใช้เงินทุน การบริหารความเสี่ยง สินทรัพย์และหนี้สิน และการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศของสถาบันการเงิน การกำกับดูแลสถาบันการเงิน การวิเคราะห์ผลของการใช้นโยบายการเงินต่อระบบเศรษฐกิจ
ศธ 7032 |
การวิเคราะห์ธุรกิจและการเงิน |
3 หน่วยกิต |
ศึกษากระบวนการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของธุรกิจ การวิเคราะห์ความเสี่ยงธุรกิจและความเสี่ยงทางการเงิน การวิเคราะห์การลงทุน การวิเคราะห์สินเชื่อและการจัดการสินเชื่อ ตลอดจนศึกษารูปแบบการระดมทุนสมัยใหม่ต่าง ๆ ทั้งจากสถาบันการเงิน ตลาดทุน และแหล่งเงินทุนสมัยใหม่ โดยใช้กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง
หมวดวิชาเลือก
ศธ 7100 |
เศรษฐศาสตร์เพื่อการผลิตและการตลาด |
3 หน่วยกิต |
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการการผลิตและการตลาดของธุรกิจ ศึกษาทฤษฎีการผลิตและการดำเนินการขององค์การในด้านการวางแผน บริหารและควบคุมโรงงานเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิต ตลอดจนการควบคุมคุณภาพของสินค้าให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด ทฤษฎีและเทคนิคในการบริหารการตลาดในภาวะปัจจุบัน เน้นถึงกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มการขายและพัฒนาการตลาด การวิเคราะห์และพยากรณ์ภาวะตลาด เพื่อช่วยในการวางแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศธ 7200 |
เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการบุคลากร |
3 หน่วยกิต |
ศึกษาทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่าด้วยการบริหารจัดการบุคลากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร โดยเริ่มตั้งแต่ ทฤษฎีการว่าจ้างบุคลากร การกำหนดรายได้และผลตอบแทน การกำหนดแรงจูงใจในการทำงาน การเพิ่มทักษะของบุคลากร การจัดสรรภาระงาน การเลิกจ้าง และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร นอกจากนี้ ยังอธิบายถึงโครงสร้างขององค์กรประเภทต่างๆ อันส่งผลต่อการบริหารจัดงานบุคลากรในองค์กรได้อย่างเหมาะสม
ศธ 7300 |
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจยั่งยืน |
3 หน่วยกิต |
ศึกษาหลักคิดเพื่อการตัดสินใจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการประยุกต์ใช้ในมิติต่างๆ ตั้งแต่ระดับบุคคล ครัวเรือน องค์การ และการกำหนดนโยบายของประเทศ ศึกษากรณีตัวอย่างในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจในภาคธุรกิจ การศึกษาแนวคิดในการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาธุรกิจยั่งยืน รวมถึงการศึกษาแนวทางในการศึกษาวิจัยเพื่อการต่อยอดองค์ความรู้
ศธ 7400 |
การจัดการความเสี่ยงทางธุรกิจและองค์การ |
3 หน่วยกิต |
ศึกษาปรัชญา วัตถุประสงค์ และแนวคิดในการบริหารจัดการความเสี่ยงทางธุรกิจและองค์การ การระบุประเภทความเสี่ยง ปัจจัยความเสี่ยง การประเมินผลกระทบของการเกิดปัจจัยความเสี่ยง มาตรการควบคุมและวิธีการจัดการความเสี่ยง การจัดลำดับความเสี่ยงในองค์การ การสร้างวัฒนธรรมการจัดการความเสี่ยง ความสำเร็จของการบริหารความเสี่ยง และการสื่อสารมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อการบริหารความเสี่ยงภายในองค์การ
ศธ 8001 |
สัมมนาปฏิบัติการทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ |
3 หน่วยกิต |
นักศึกษาเสนอข้อเสนอโครงร่างวิจัยภายใต้คำแนะนำและการควบคุมของอาจารย์ เพื่อนำไปใช้ในวิชาการค้นคว้าอิสระ โดยเน้นให้นักศึกษาค้นคว้าประเด็นวิจัย ประเด็นปัญหา เลือกเครื่องมือวิจัยที่เหมาะสม และนำเสนอโครงร่างวิจัยต่ออาจารย์
วิชาการศึกษาตามแนวแนะ
ศธ 8800 |
การศึกษาตามแนวแนะ |
3 หน่วยกิต |
การศึกษาในหัวข้อเฉพาะทางในประเด็นเศรษฐศาสตร์การพัฒนาและ/หรือเศรษฐศาสตร์ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาวิชาเอก และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัย
วิชาการค้นคว้าอิสระ
ศธ 9000 |
การค้นคว้าอิสระ |
3 หน่วยกิต |
นักศึกษาเสนอผลงานวิจัยหรืองานค้นคว้าทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ภายใต้คำแนะนำและการควบคุมของอาจารย์ โดยเน้นให้นักศึกษานำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจมาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยหรืองานค้นคว้า อีกทั้งมีความสามารถที่จะเสนอผลงานได้เป็นอย่างดี
วิชาวิทยานิพนธ์
ศธ 9004 |
วิทยานิพนธ์ |
12 หน่วยกิต |
ศึกษาและนำเสนอวิทยานิพนธ์ทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ภายใต้คำแนะนำและการควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และผ่านการพิจารณาให้ความเห็นโดยคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ และทักษะในการวิเคราะห์และวิจัย เพื่อพัฒนาผลงานวิจัยที่โดดเด่นและเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการ ได้มาตรฐานระดับที่สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ได้ในระดับชาติหรือนานาชาติ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาและวิธีการรับสมัคร
สมัครภาคปกติ
ภาคปกติ กรณีปกติ
รับสมัครครั้งที่ 1 ประมาณปลายเดือนตุลาคม
รับสมัครครั้งที่ 2 ประมาณปลายเดือนมกราคม
รับสมัครครั้งที่ 3 ประมาณเดือนเมษายน
รับสมัครครั้งที่ 4 ประมาณเดือนกรกฎาคม
คุณสมบัติ
-
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า โดยสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) หรือองค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยะฐานะที่สภาสถาบันอนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา
-
เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงอย่างอื่นซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา โดยมีใบรับรองจากแพทย์ปริญญาที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์
-
เป็นผู้มีความประพฤติดี
หมายเหตุ : คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน
วิธีการคัดเลือก
พิจารณาจากคะแนนการสอบข้อเขียน (วิชาเฉพาะ 1และวิชาภาษาอังกฤษ) และการสอบสัมภาษณ์
ภาคปกติ กรณีทุนส่งเสริมการศึกษา
รับสมัครครั้งที่ 1 ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน
รับสมัครครั้งที่ 2 ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์
รับสมัครครั้งที่ 3 ประมาณเดือนเมษายน
รับสมัครครั้งที่ 4 ประมาณเดือนสิงหาคม
การรับสมัครสามารถดูได้ที่ การรับสมัครนักศึกษาภาคปกติ (http://edserv.nida.ac.th)
คุณสมบัติ
-
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า โดยสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) หรือองค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยะฐานะที่สภาสถาบันอนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา
-
เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงอย่างอื่นซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา โดยมีใบรับรองจากแพทย์ปริญญาที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์
-
เป็นผู้มีความประพฤติดี
-
มีคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรี ไม่ต่ำกว่า 2.75
วิธีการคัดเลือก
คัดเลือกโดยการสอบสัมภาษณ์และพิจารณาผลการศึกษาระดับปริญญาตรี ประวัติส่วนตัว ประสบการณ์และอื่น ๆ
การให้ทุนการศึกษา
คณะจะพิจารณาคัดเลือกผู้สมควรได้รับทุนค่าธรรมเนียมการศึกษาให้แก่ผู้ผ่านการคัดเลือกที่มีคุณสมบัติเหมาะสม โดยจะให้ทุกภาคการศึกษาจนสำเร็จการศึกษา ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการให้ทุนที่คณะกำหนด
หลักฐานการสมัคร
-
ใบสมัคร ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ http://edserv.nida.ac.th
-
หลักฐานแสดงคุณวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือหนังสือรับรองฉบับสภาอนุมัติ จำนวน 1 ฉบับ หรือหนังสือรับรองจากคณบดีคณะ ที่กำลังศึกษาว่าเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีสุดท้ายของหลักสูตรปริญญาตรี โดย ระบุหน่วยกิตที่ได้ศึกษาแล้วด้วย ทั้งนี้ หลักฐานดังกล่าวจะต้องประทับตราสถาบัน และ มีเจ้าหน้าที่รับรองอย่างครบถ้วน จำนวน 1 ฉบับ
-
หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Transcript) จำนวน 1 ชุด
(สำหรับผู้ที่ศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี จะต้องแนบใบแสดงผลการศึกษาระดับอนุปริญญา หรือเทียบเท่าด้วย จำนวน 1 ชุด) -
รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน)
-
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด
-
หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล (กรณีชื่อ-ชื่อสกุล ไม่ตรงกับหลักฐานการศึกษา)
-
หนังสือรับรองผู้สมัครคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษา จำนวน 3 ฉบับ
(ดาวน์โหลดได้จากแบบฟอร์มใบสมัครหน้าสุดท้ายที่ http://edserv.nida.ac.th -
ใบรับรองคะแนนภาษาอังกฤษ (ถ้ามี)
เฉพาะผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศจะต้องมีเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
-
หนังสือรับรองมาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยติดต่อยื่นคำร้องขอได้ที่สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมแนบสำเนาหลักฐานการศึกษาด้วย
-
หนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษา โดยให้สถานศึกษาส่งหนังสือรับรองดังกล่าวโดยตรงที่ :
Educational Service Division,
National Institute of Development Administration,
118 Serithai Road, Klong Chan,
Bangkapi, Bangkok 10240 Thailand
Facsimile : (662) 377-7477
หมายเหตุ : เอกสารผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ สถาบันอนุโลมให้ส่งได้ถึงวันสอบสัมภาษณ์หรืออย่างช้าที่สุดในวันเปิดภาคการศึกษา มิฉะนั้น จะถือว่าเอกสารไม่ครบถ้วนและหมดสิทธิ์เข้าศึกษาในสถาบัน
การขอรับใบสมัคร
-
กองบริการการศึกษา อาคารนราธิปพงษ์ประพันธ์ ชั้น 3 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
-
สั่งพิมพ์ใบสมัครจาก :
Website ของกองบริการการศึกษา http://edserv.nida.ac.th/
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เลขหมายโทรศัพท์ 0-2727-3370 , 0-2727-3371
การสมัครสอบคัดเลือก
-
ผู้สนใจยื่นใบสมัครคัดเลือกพร้อมหลักฐานการสมัครได้ที่ กองบริการการศึกษา อาคารนราธิปพงษ์ประพันธ์ ชั้น 3
-
สมัครออนไลด์ได้ที่ http://entrance.nida.ac.th/registrar/apphome.asp
หมายเหตุ : ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ http://www.nida.ac.th
สมัครภาคพิเศษ
เรียนวันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ประมาณ 210,000 บาท
สาขาวิชาเอก
-
การวิเคราะห์โครงการ (Project Analysis)
-
ธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business)
-
ธุรกิจการเงินและการธนาคาร (Business Finance and Banking)
เปิดรับสมัครปีละ 2 ภาคการศึกษา
กรณีสอบข้อเขียน ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง
กรณีสอบสัมภาษณ์ ภาคการศึกษาละ 3 ครั้ง
ครั้งที่ 1-3 ประมาณเดือนพฤศจิกายน – กลางเดือนมิถุนายน (เปิดภาคเรียนเดือนสิงหาคม)
ครั้งที่ 4-6 ประมาณปลายเดือนมิถุนายน – พฤศจิกายน (เปิดภาคเรียนเดือนมกราคม)
คุณสมบัติของผู้สมัครและวิธีการคัดเลือก
กรณีสอบข้อเขียน
-
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รับรอง
-
มีประสบการณ์ทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันเปิดภาคการศึกษา
วิธีการคัดเลือกพิจารณา 2 ลักษณะ คือ พิจารณาข้อมูลในใบสมัครและการสอบข้อเขียน ดังนี้
1. การพิจารณาใบสมัคร
คณะกรรมการคัดเลือกจะพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครจากคุณสมบัติพื้นฐานต่างๆ ของผู้สมัคร เช่น สาขาวิชาที่ศึกษา ผลการศึกษาระดับปริญญาตรี อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน หน้าที่และงานในความรับผิดชอบ โอกาสในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ เป็นต้น
ดังนั้น ผู้สมัครควรกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเองให้สมบูรณ์และแนบหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
2. การสอบข้อเขียน
เพื่อทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และความรู้ทั่วไปทางเศรษฐศาสตร์ ใช้เวลาในการสอบ 2 ชั่วโมง 30 นาที
กรณีสอบสัมภาษณ์
-
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รับรอง
-
มีประสบการณ์ทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี หลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี นับตั้งแต่วันอนุมัติปริญญาถึงวันเปิดภาคการศึกษา
การคัดเลือกพิจารณา 2 ลักษณะ คือ พิจารณาข้อมูลในใบสมัครและการสอบสัมภาษณ์ ดังนี้
1. การพิจารณาใบสมัคร
คณะกรรมการคัดเลือกจะพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครจากคุณสมบัติพื้นฐานต่างๆ ของผู้สมัคร เช่น สาขาวิชาที่ศึกษา ผลการศึกษาระดับปริญญาตรี อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน หน้าที่และงานในความรับผิดชอบ โอกาสในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ เป็นต้น
ดังนั้น ผู้สมัครควรกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเองให้สมบูรณ์และแนบหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
2. การสัมภาษณ์
คณะกรรมการคัดเลือกจะทำการสอบสัมภาษณ์ โดยพิจารณาจากบุคลิกภาพ ทัศนคติ ความพร้อมและความตั้งใจในการศึกษา ความสามารถในการถ่ายทอดความคิดเห็น และความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา
หมายเหตุ : การคัดเลือกผู้หนึ่งผู้ใดเข้าศึกษาในหลักสูตรอยู่ในดุลยพินิจของ คณะกรรมการประจำหลักสูตรและคณะกรรมการรับนักศึกษาของสถาบันฯ ทั้งนี้ การพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการดังกล่าวถือเป็นที่สิ้นสุด
หลักฐานการสมัคร
-
ใบสมัครที่กรอกข้อความอย่างสมบูรณ์
-
สำเนาปริญญาบัตร หรือหนังสือรับรอง (ฉบับสภาอนุมัติ) จำนวน 1 ฉบับ
-
สำเนาใบแสดงผลการศึกษา (transcript) จำนวน 3 ชุด ระบุวันสำเร็จการศึกษา(สำหรับผู้ที่ศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี จะต้องส่งสำเนาใบแสดงผลการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าด้วย จำนวน 1 ฉบับ )
-
สำเนาบัตรประชาชน 1 ชุด
-
รูปถ่ายหน้าตรง ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
-
หนังสือรับรองการทำงานจากหน่วยงาน จำนวน 1 ฉบับ
-
หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล กรณีชื่อ-ชื่อสกุล ไม่ตรงกับหลักฐานการสมัคร
-
หนังสือแสดงจุดประสงค์ของการศึกษาในหลักสูตร (เขียนหรือพิมพ์ด้วยกระดาษขนาด A4 ไม่มีแบบฟอร์ม)
-
หนังสือรับรองการได้ทุนสนับสนุนการศึกษาจากหน่วยงาน (ถ้ามี)
-
ค่าสมัครสอบ
เฉพาะผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศจะต้องมีเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
-
หนังสือรับรองมาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยติดต่อยื่นคำร้องขอได้ที่สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมแนบสำเนาหลักฐานการศึกษาด้วย
-
หนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษา โดยให้สถานศึกษาส่งหนังสือรับรองดังกล่าวโดยตรงที่ :
Educational Service Division,
National Institute of Development Administration,
118 Serithai Road, Klong Chan,
Bangkapi, Bangkok 10240 Thailand
Facsimile : (662) 377-7477
การขอรับใบสมัคร
ผู้สนใจจะสมัครเข้ารับการคัดเลือก ขอรับใบสมัครได้ที่
-
กองบริการการศึกษา อาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ ชั้น 3 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
-
คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ อาคารนวมินทราธิราช ชั้น 14 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
-
สั่งพิมพ์ใบสมัครจาก :
Website ของคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ www.econ.nida.ac.th
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เลขหมายโทรศัพท์ 0-2727-3176-77, 0-2727-3180
e-Mail : arpaporn.p@nida.ac.th monticha.chi@nida.ac.th
line: @mbenida
facebook: https://www.facebook.com/EconNIDAFanpage/
และ https://www.facebook.com/mbenidafanpage/
เพื่อเป็นการยกระดับภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สถาบันจึงกำหนดให้นักศึกษาระดับปริญญาโททุกคน ต้องผ่านเกณฑ์การสอบภาษาอังกฤษ ดังนี้
-
นักศึกษาที่ต้องใช้คะแนนสอบภาษาอังกฤษเพื่อประกอบการยื่นสมัครสอบสัมภาษณ์ในการเข้าศึกษาในสถาบัน ต้องมีผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ NIDA TEAP หรือคะแนนสอบ TOEFL หรือ IELTS ยื่นสมัครสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้ คะแนนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำให้เป็นไปตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด
-
นักศึกษาที่ไม่ต้องใช้คะแนนสอบภาษาอังกฤษประกอบการยื่นสมัครสอบสัมภาษณ์ในการเข้าศึกษาในสถาบัน นักศึกษาจะต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษ NIDA TEAP หรือผลการสอบ TOEFL หรือผลการสอบ IELTS มาแสดงก่อนการขอสำเร็จการศึกษา
ผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษตามประกาศฉบับนี้ กำหนดอายุผลคะแนน ดังนี้
-
ผลการสอบ NIDA TEAP จะต้องมีอายุไม่เกิน 1 ปี นับถึงวันยื่น
(สมัครสอบได้ที่ ศูนย์พัฒนาและบริการด้านภาษาและการสื่อสาร คณะภาษาและการสื่อสาร) -
ผลการสอบ TOEFL และ IELTS จะต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันยื่น
(คะแนนสอบ TOEFL Paper-Based จะต้องเป็นผลสอบจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ International Education เท่านั้น)