หลักสูตรเศรษฐศาสตร์และการบริหาร
ภาพรวมหลักสูตร
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ในปัจจุบันผู้บริหารต้องเผชิญกับความท้าทายในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ภายในองค์การ ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ความรู้ความสามารถในการประยุกต์องค์ความรู้ด้านต่างๆที่จะนำไปสู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการองค์การ เพื่อให้การดำเนินงานด้านต่างๆ สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล องค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยในการบริหารจัดการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ภายใต้การดำเนินงานที่ประกอบด้วยคุณธรรม และจริยธรรมซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศโดยรวมอย่างยั่งยืน
ด้วยเหตุนี้คณะพัฒนาการเศรษฐกิจเล็งเห็นความจำเป็นในการผลิตบุคลากร เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศตามแนวทางดังกล่าว จึงได้เริ่มโครงการพิเศษหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และการบริหาร โดยหลักสูตรนี้เป็นการประยุกต์ทฤษฎีและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการตัดสินใจในองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ ที่กว้างไกลและเข้าใจสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ให้ได้ทั้งสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจและธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและเป็นผู้บริหารที่ก้าวล้ำในโลกธุรกิจยุคใหม่
รายละเอียดหลักสูตร
ใช้เวลาเรียน 1 ปี 9 เดือน เรียนเป็นรายวิชา (Block Course) เรียนวันเสาร์ เวลา 9.00 – 16.00 น. เรียนวันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 12.00 น. เน้นการประยุกต์หลักเศรษฐศาสตร์เพื่อใช้ในการตัดสินใจและบริหารองค์การ การเรียนประกอบด้วย การศึกษาทฤษฏี กรณีศึกษา การวิเคราะห์ข่าวสาร การอภิปราย การศึกษาดูงาน
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
วิธีการเรียนรู้
โครงสร้างหลักสูตรและแผนการเรียน
หมวดวิชา |
โครงสร้างหลักสูตรแผน ก. (2) |
โครงสร้างหลักสูตรแผน ข. |
1.หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน |
9 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
9 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
2.หมวดวิชาพื้นฐาน |
3 หน่วยกิต |
3 หน่วยกิต |
3.หมวดวิชาหลัก |
9 หน่วยกิต |
9 หน่วยกิต |
4.หมวดวิชาเอก |
9 หน่วยกิต |
9 หน่วยกิต |
5.หมวดวิชาเลือก |
3 หน่วยกิต |
12 หน่วยกิต |
6.วิชาการค้นคว้าอิสระ |
– |
3 หน่วยกิต |
7.วิทยานิพนธ์ |
12 หน่วยกิต |
– |
8.สอบประมวลความรู้ |
สอบประมวลความรู้ |
สอบประมวลความรู้ |
รวม |
36 หน่วยกิต |
36 หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
หมวดวิชาพื้นฐาน
ศบ 5000 การวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจเพื่อการบริหาร
ศึกษาเครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจเพื่อการประยุกต์ใช้กับการบริหารและการตัดสินใจทางธุรกิจในเชิงคุณภาพและปริมาณ การเลือกใช้และจัดเก็บข้อมูลปฐมภูมิ การสัมภาษณ์ การจัดทำและออกแบบการสำรวจด้วยแบบสอบถาม การระดมสมองกลุ่มย่อย การสำรวจแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เชิงปริมาณ และการนำเสนอข้อมูลโดยแผนภูมิและกราฟด้วยตรรกะและเหตุผล การประยุกต์ใช้การคำนวณ/ประมาณการทางสถิติ และการตีความข้อมูลสารสนเทศด้วยค่าพารามิเตอร์ทางสถิติและการกระจายของข้อมูล
หมวดวิชาหลัก
ศบ 6010 เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ
ทฤษฎีและวิธีคิดอย่างเศรษฐศาสตร์ในระดับจุลภาค ประกอบด้วยแนวคิด และหลักการทางเศรษฐศาสตร์สำหรับการตัดสินใจในภาวะที่มีทรัพยากรจำกัด การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต การวิเคราะห์โครงสร้างตลาด โดยเน้นการประยุกต์กับการตัดสินใจของผู้บริหารในการมองปัญหา ทางเลือก และผลที่จะเกิดขึ้น
ศบ 6020 การวิเคราะห์เศรษฐกิจแบบเปิด
วิเคราะห์การทำงานของระบบเศรษฐกิจมหภาค บทบาทของภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคครัวเรือนต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจระยะยาว และความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจในระยะสั้นในโลกปัจจุบันที่มีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสูง วิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการต่างๆของภาครัฐ รวมถึงศึกษาประเด็นสำคัญต่างๆในโลกปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจแบบเปิด
ศบ 6030 นโยบายเศรษฐกิจ
ศึกษาหลักเศรษฐศาสตร์ในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการทำงานของกลไกตลาดและเชื่อมโยงมาสู่กรณีที่ตลาดล้มเหลวและตลาดไม่สมบูรณ์ และเงื่อนไขต่างๆ ที่รัฐบาลควรเข้าไปกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนความสำเร็จและความล้มเหลวของการแทรกแซงโดยภาครัฐผ่านการใช้นโยบายด้านต่างๆ เช่น นโยบายการกำหนดราคาสินค้า นโยบายภาษี นโยบายการเงินการคลังเพื่อนำไปสู่การการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว หลักสูตรยังครอบคลุมการวิเคราะห์นโยบายสำคัญต่างๆ เช่น นโยบายการกำหนดบทบาทของรัฐวิสาหกิจ นโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน นโยบายด้านการศึกษา หรือนโยบายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หมวดวิชาเอก
ศบ 7010 การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันและกลยุทธ์องค์การ
ศึกษากรอบแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างความสามารถในการแข่งขันในระดับองค์การ โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกขององค์ การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนเพื่อกำหนดกลยุทธ์ให้ตอบสนองต่อโอกาสและภัยคุกคาม รวมทั้งศึกษาวงจรชีวิตธุรกิจ วงจรชีวิตอุตสาหกรรม ห่วงโซ่คุณค่า การกำหนดกลยุทธ์ระดับองค์การ กลยุทธ์ระดับธุรกิจ และกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ การศึกษาในวิชานี้เป็นการประยุกต์ใช้ข้อมูล รวมถึงการใช้กรณีศึกษาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การ
ศบ 7020 การเงินสำหรับผู้บริหาร
วิชานี้ ศึกษาแนวคิดในการบริหารการเงิน ครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดเป้าหมายในการบริหารการเงิน เข้าใจตัวขับเคลื่อนหลักของผลการดำเนินงาน การวางกลยุทธ์ในการจัดการการเงิน เข้าใจหลักการวางแผนทางการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน งบประมาณลงทุน ต้นทุนของเงินทุน การเลือกใช้แหล่งเงินทุน และศึกษาหลักการบริหารความเสี่ยงด้านการเงิน เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร
ศบ 7030 การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ
ศึกษาแนวคิด กระบวนการ วิธีการวางแผน และดำเนินโครงการ วงจรของโครงการ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุนของภาคเอกชนและภาครัฐ ครอบคลุมการวิเคราะห์ด้านอุปสงค์และตลาด เทคโนโลยี การเงิน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การประเมินต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการภายใต้โครงสร้างตลาดต่างๆ ศึกษาความแตกต่างระหว่างการรวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ในทางธุรกิจและในทางเศรษฐศาสตร์ ศึกษาการเลือกใช้เกณฑ์ในการตัดสินใจลงทุน หลักการในการเลือกอัตราคิดลด การคำนวณและการใช้ราคาตลาด การประเมินมูลค่าสินค้าที่ไม่มีราคาตลาด การแปลงแผนองค์กร เป็นแผนธุรกิจ และแผนโครงการ การแปลงแผนกลยุทธ์ของโครงการเป็นแผนปฏิบัติโครงการ ตลอดจนการจัดเตรียมรายงานการวิเคราะห์โครงการ
ศบ 7040 เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ
ศึกษารูปแบบ ลักษณะการจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญทางเศรษฐกิจ และดัชนีชี้วัดสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจเพื่อการวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ ทำความเข้าใจที่มา ความหมาย และความสำคัญของดัชนีและข้อมูลทางเศรษฐกิจพื้นฐานที่สำคัญเพื่อประยุกต์ใช้ดัชนีทางเศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างเป็นเหตุเป็นผล เพื่อการประเมินสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจประกอบการวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และการคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจที่กระทบต่อการตัดสินใจในการบริหารธุรกิจ
ศบ 7050 การบริหารภายใต้พลวัตเศรษฐกิจโลก
ประยุกต์ใช้หลักความคิดเศรษฐศาสตร์การค้าและการเงินระหว่างประเทศเพื่อตัดสินใจเชิงบูรณาการภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกและการพัฒนาของเศรษฐกิจไทย ความสำคัญทั้งในแง่ของการใช้ประโยชน์และการลดผลกระทบทางลบจากการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และปัจจัยการผลิตที่เปิดกว้างมากขึ้น การเกิดขึ้นและบทบาทของเงินสกุลดิจิตอล การปรับตัวเพื่อรองรับความผันผวนที่รุนแรงมากขึ้นจากปัจจัยทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งพลวัตของความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนย้ายของเงินทุนระหว่างประเทศ แรงงาน อัตราแลกเปลี่ยน และเทคโนโลยีต่อภาคการผลิตจริง ที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ศบ 7060 การจัดการนวัตกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ศึกษากระบวนการสร้างนวัตกรรมตั้งแต่กระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ และการคิดเชิงผู้ประกอบการ มาสู่การกำหนดตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ขององค์กรและแนวทางในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับองค์กรนั้นๆ ศึกษาแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เพื่อเข้าใจตลาดโครงสร้างของนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นสำหรับทั้งเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นอกจากนั้นยังศึกษาการออกแบบนโยบายเพื่อส่งเสริมระบบการสร้างนวัตกรรมในระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบทรัพย์สินทางปัญญา ระบบคลัสเตอร์นวัตกรรม นโยบายสาธารณะอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
หมวดวิชาเลือก
ศบ 7101 ทรัพยากรมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขัน
การประยุกต์ทฤษฎีจุลเศรษฐศาสตร์กับงานด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การเลือกรับพนักงาน การพัฒนาทักษะ การกำหนดภาระหน้าที่ การกำหนดค่าตอบแทน การเลื่อนตำแหน่งงาน รวมไปถึงการออกแบบโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังศึกษาตลาดแรงงาน และรูปแบบพัฒนาทักษะแรงงานสมัยใหม่เพื่อให้เท่าทันและเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ศบ 7102 สัมมนาทางเศรษฐศาสตร์และการบริหาร
การศึกษาเฉพาะเรื่องทางด้านเศรษฐศาสตร์การบริหาร เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในหัวข้อที่ทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
วิชาการศึกษาตามแนวแนะ
ศบ 8001 การศึกษาตามแนวแนะ
การศึกษาในหัวข้อเฉพาะทางเศรษฐศาสตร์และการบริหาร ที่เกี่ยวเนื่องกับหลักสูตร และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัย
ศบ 8002 การศึกษาตามแนวแนะ
การศึกษาในหัวข้อเฉพาะทางเศรษฐศาสตร์และการบริหาร ที่เกี่ยวเนื่องกับหลักสูตร และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัย
ศบ 8003 การศึกษาตามแนวแนะ
การศึกษาในหัวข้อเฉพาะทางเศรษฐศาสตร์และการบริหาร ที่เกี่ยวเนื่องกับหลักสูตร และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัย
วิชาค้นคว้าอิสระ
ศบ 9000 การค้นคว้าอิสระ
นักศึกษาเสนอผลงานวิจัยหรืองานค้นคว้าทางเศรษฐศาสตร์และการบริหาร ภายใต้คำแนะนำและการควบคุมของอาจารย์ โดยเน้นนักศึกษานำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ และระเบียบวิธีวิจัยมาประยุกต์ใช้กับงานวิจัย หรืองานค้นคว้า อีกทั้งมีความสามารถที่จะเสนอผลงานได้เป็นอย่างดี
วิชาวิทยานิพนธ์
ศบ 9004 วิทยานิพนธ์
นักศึกษาพัฒนาทักษะการวิจัยค้นคว้าโดยการจัดทำ และนำสนอผลงานวิจัย หรืองานค้นคว้าทางเศรษฐศาสตร์ภายใต้คำแนะนำและการควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างสมบูรณ์ โดยเน้นให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในงานวิจัย หรือค้นคว้าเชิงบริหารจัดการ และมีความสามารถในการนำเสนอผลงานได้เป็นอย่างชัดเจน
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาและวิธีการรับสมัคร
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ ที่ได้รับจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) หรือองค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยะฐานะที่สภาสถาบันอนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา
2) มีประสบการณ์การทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี นับตั้งแต่วันอนุมัติปริญญาถึงวันเรียนก่อนเปิดภาคการศึกษา หรือ
3) หรืออายุ 27 ปีขึ้นไป
วิธีการคัดเลือก
1) พิจารณาจากใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัคร
2) สอบข้อเขียน เพื่อทดสอบความรู้ทั่วไปทางเศรษฐศาสตร์และการบริหาร
3) ทดสอบประสบการณ์ผ่านการสัมภาษณ์
หลักฐานการสมัคร
-
ใบสมัคร ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ http://entrance.nida.ac.th/register/apphome.asp
-
หลักฐานแสดงคุณวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือหนังสือรับรองฉบับสภาอนุมัติ จำนวน 1 ฉบับ หรือหนังสือรับรองจากคณบดีคณะ ที่กำลังศึกษาว่าเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีสุดท้ายของหลักสูตรปริญญาตรี โดย ระบุหน่วยกิตที่ได้ศึกษาแล้วด้วย ทั้งนี้ หลักฐานดังกล่าวจะต้องประทับตราสถาบัน และ มีเจ้าหน้าที่รับรองอย่างครบถ้วน จำนวน 1 ฉบับ
-
หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Transcript) จำนวน 1 ชุด
(สำหรับผู้ที่ศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี จะต้องแนบใบแสดงผลการศึกษาระดับอนุปริญญา หรือเทียบเท่าด้วย จำนวน 1 ชุด) -
รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน)
-
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด
-
หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล
(กรณีชื่อ-ชื่อสกุล ไม่ตรงกับหลักฐานการศึกษา)เฉพาะผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศจะต้องมีเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
-
หนังสือรับรองมาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยติดต่อยื่นคำร้องขอได้ที่สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมแนบสำเนาหลักฐานการศึกษาด้วย
-
หนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษา โดยให้สถานศึกษาส่งหนังสือรับรองดังกล่าวโดยตรงที่ :
Educational Service Division,
National Institute of Development Administration,
118 Serithai Road, Klong Chan,
Bangkapi, Bangkok 10240 Thailand
Facsimile : (662) 377-7477