หลักสูตร

หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต

ภาพรวมหลักสูตร

หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Master of Economics Program

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ และวิธีการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อประยุกต์ใช้ในองค์กรภาครัฐ องค์กรธุรกิจเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรสาธารณประโยชน์
มหาบัณฑิตทางเศรษฐศาสตร์ คือ ผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจการทำงานของระบบเศรษฐกิจ และบทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ มีทักษะทางเศรษฐศาสตร์ และสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์วิจัย ทั้งในภาคธุรกิจ ภาครัฐบาล องค์กรอิสระ และองค์กรระหว่างประเทศ ผู้สำเร็จการศึกษามีศักยภาพในการเพิ่มพูนความรู้ไปตามพลวัตของการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจโลกและมีจริยธรรมในทางวิชาการและการประกอบอาชีพ
เปิดสอนเฉพาะในภาคปกติ (เรียนในเวลาราชการ) โดยกำหนดให้ศึกษาไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต ซึ่งผู้ศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายในเวลาประมาณ 2 ปี

จำนวนรับ   จำนวนรับ 10 คน ต่อภาคการศึกษา

ค่าเล่าเรียน  ภาคปกติ หน่วยกิตละ 1,500 บาท

วันเรียน  ภาคปกติ เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ ในเวลาราชการ

จุดเด่นของหลักสูตรเศรษฐศาสตร์

          เป็นการเรียนทางด้าน เศรษฐศาสตร์สาธารณะ และเศรษฐศาสตร์การพัฒนา  มุ่งเน้นในการฝึกวิเคราะห์และประยุกต์ใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ เช่น ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาความยากจน ปัญหาการกระจายรายได้ ปัญหาที่เกิดจากผลกระทบภายนอก (Externality) ในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังศึกษาถึงโครงการพัฒนาต่างๆ ของรัฐบาลและแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่เข้าใจแนวคิดและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนา ผลกระทบจากนโยบายการพัฒนา และอิทธิพลของระบบเศรษฐกิจโลกต่อการดำเนินธุรกิจ และการพัฒนาประเทศ

  2. สร้างศักยภาพในการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจที่สามารถนำไปใช้ได้ในอาชีพนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน หน่วยงานด้านการวิจัยและการวางแผน หรือองค์กรระหว่างประเทศ

  3. มุ่งฝึกฝนให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรสามารถมองปัญหาของการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจได้ด้วยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งมีทักษะในการใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์

ความหวังผลการเรียนรู้

L01:     ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางเศรษฐกิจ และผลกระทบของนโยบายภาครัฐต่อเศรษฐกิจ

L02:    เก็บรวบรวมและจัดการข้อมูลด้วยเครื่องมือเชิงปริมาณที่เหมาะสม

L03:    เรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของความรู้และเทคโนโลยี

L04:   แสดงความสามารถในการสื่อสารทั้งด้วยการเขียน การพูด และรูปภาพอย่างมีจริยธรรม

วิธีการเรียนรู้

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือองค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันอนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน

โครงสร้างหลักสูตรและแผนการศึกษา

หมวดวิชา

โครงสร้างหลักสูตรแผน ก.(2)

(ทำวิทยานิพนธ์)

โครงสร้างหลักสูตรแผน ข.

1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน

ไม่นับหน่วยกิต

ไม่นับหน่วยกิต

2. หมวดวิชาพื้นฐาน

12 หน่วยกิต

12 หน่วยกิต

3. หมวดวิชาหลัก

12 หน่วยกิต

12 หน่วยกิต

4. หมวดวิชาเลือก

9 หน่วยกิต

5. วิชาการค้นคว้าอิสระ

3 หน่วยกิต

6. วิทยานิพนธ์

12 หน่วยกิต

7. สอบประมวลความรู้

สอบประมวลความรู้ สอบประมวลความรู้

หน่วยกิตทั้งหมด

36 หน่วยกิต

36 หน่วยกิต

1. รายวิชา

1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)

สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา 3 (3-0-6)
ND 4000 Foundation for Graduate Studies

ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 3 (3-0-6)
LC 4001 Reading Skills Development in English for Graduate Studies

ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ 3 (3-0-6)
LC 4002 Intgrated English Language Skills Development

ภส 4011 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 3 (3-0-6)
LC 4011 Remedial Reading Skills Development in English for Graduate Studies

ภส 4012 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ 3 (3-0-6)
LC 4012 Remedial Integrated English Language Skills Development

ศม 4000 หลักเศรษฐศาสตร์ 3 (3-0-3)
ME 4000 Principle of Economics

  • หน่วยกิตที่ได้จากการศึกษาวิชาในหมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยกิตตามข้อกำหนดการศึกษาในข้อ 3.1.1 การยกเว้นไม่ต้องเรียนวิชาในหมวดวิชาเสริมพื้นฐานกระทำได้ ตามข้อกำหนดที่ระบุไว้เกี่ยวกับวิชานั้น ๆ หรือให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน

  • ยกเว้นการเรียนวิชา ภส 4001, ภส 4002, ภส 4011, ภส 4012 ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา ตามเกณฑ์ที่คณะภาษาและการสื่อสารกำหนด

  • วิชา ศม 4000 ในหมวดวิชาเสริมพื้นฐานของคณะเป็นวิชาบังคับเรียน นักศึกษาอาจได้รับยกเว้น โดยการพิจารณาของอาจารย์ผู้สอนเป็นรายกรณี โดยให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน และผลการศึกษากำหนดเป็น S หรือ U

2. หมวดวิชาพื้นฐาน (12 หน่วยกิต)
(กำหนดให้เรียน 12 หน่วยกิต ในแผน ก.2 และแผน ข.)

ศม 5001 คณิตศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ 3 (3-0-3)
ME 5001 Mathematics for Economists

ศม 5002 การวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 (3-0-3)
ME 5002 Economic Data Analytics

ศม 5003 เศรษฐมิติ 3 (3-0-3)
ME 5003 Econometrics

ศม 5004 ปฏิบัติการทางเศรษฐมิติ 3 (3-0-6)
ME 5004 Lab for Econometrics

3. หมวดวิชาหลัก (12 หน่วยกิต)
(กำหนดให้เรียน 12 หน่วยกิต ในแผน ก.2 และแผน ข.)

ศม 6001 จุลเศรษฐศาสตร์ 3 (3-0-3)
ME 6001 Microeconomics

ศม 6002 มหเศรษฐศาสตร์ 3 (3-0-3)
ME 6002 Macroeconomics

ศม 6003 เศรษฐศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน 3 (3-0-3)
ME 6003 Economics of Sustainable Development

ศม 6004 นโยบายเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 3 (3-0-3)
ME 6004 Economic Policy for Stabilization

หมวดวิชาเลือก (9 หน่วยกิต)
กำหนดให้นักศึกษาในแผน ข. เรียนวิชา ศม 7100 การฝึกปฏิบัติการทางเศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาบังคับเลือก และเลือกวิชาอื่นอีกไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต โดยสามารถเลือกศึกษาวิชาในหมวดวิชาเอก หมวดวิชาเลือก วิชาการศึกษาตามแนวแนะ ในหลักสูตรอื่นของสถาบันเป็นวิชาเลือก

วิชาบังคับเลือก (3 หน่วยกิต)

ศม 7100 การฝึกปฏิบัติการทางเศรษฐศาสตร์ 3 (3-0-6)
ME 7100 Economics in Practice

วิชาเลือกทั่วไป (6 หน่วยกิต)

นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาวิชาในหมวดวิชาเอก หมวดวิชาเลือก วิชาการศึกษาตามแนวแนะ ในหลักสูตรอื่นของสถาบันเป็นวิชาเลือก เพื่อให้หน่วยกิตครบถ้วนตามข้อกำหนดของหลักสูตรได้

กรณีเลือกวิชาในหลักสูตรอื่นของสถาบันเป็นวิชาเลือก จะต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้แนะนำและได้รับอนุมัติจากคณบดี

หมายเหตุ: การจัดการเรียนการสอนในหมวดวิชาเลือกให้เป็นไปตามที่คณะกำหนด

4. หมวดวิชาการค้นคว้าอิสระ (3 หน่วยกิต)

ศม 9000 การค้นคว้าอิสระ 3 (0-0-12)
ME 9000 Independent Studies

5. วิชาการศึกษาตามแนวแนะ (3 หน่วยกิต)

ศม 8800 การศึกษาตามแนวแนะ 3 (3-0-3)
ME 8800 Directed Studies

6. วิทยานิพนธ์ (12 หน่วยกิต)

ศม 9004 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
ME 9004 Thesis 12 Credits

2. แผนการศึกษา

1) แผนการศึกษาแผน ก. (2) (ทำวิทยานิพนธ์)

เรียนก่อนเปิดภาค

สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
ND 4000 Foundation for Graduate Studies 3 Credits (Non credit)

ปีที่ 1, ภาคการศึกษาที่ 1

ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
LC 4001 Reading Skills Development in English for Graduate Studies 3 Credits (Non credit)

ศม 4000 หลักเศรษฐศาสตร์ 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
ME 4000 Principle of Economics 3 Credits (Non credit)

ศม 5001 คณิตศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ 3 หน่วยกิต
ME 5001 Mathematics for Economists 3 Credits

ศม 5002 การวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 หน่วยกิต
ME 5002 Economic Data Analytics 3 Credits

ศม 6001 จุลเศรษฐศาสตร์ 3 หน่วยกิต
ME 6001 Microeconomics 3 Credits

ปีที่ 1, ภาคการศึกษาที่ 2
ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
LC 4002 Intgrated English Language Skills Development 3 Credits (Non credit)

ศม 5003 เศรษฐมิติ 3 หน่วยกิต
ME 5003 Econometrics 3 Credits

ศม 5004 ปฏิบัติการทางเศรษฐมิติ 3 หน่วยกิต
ME 5004 Lab for Econometrics 3 Credits

ศม 6002 มหเศรษฐศาสตร์ 3 หน่วยกิต
ME 6002 Macroeconomics 3 Credits

ปีที่ 2, ภาคการศึกษาที่ 1

ศม 6003 เศรษฐศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน 3 หน่วยกิต
ME 6003 Economics of Sustainable Development 3 Credits

ศม 6004 นโยบายเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 3 หน่วยกิต
ME 6004 Economic Policy for Stabilisation 3 Credits

ศม 9004 วิทยานิพนธ์ 3 หน่วยกิต
ME 9004 Thesis 3 Credits

ปีที่ 2, ภาคการศึกษาที่ 2

ศม 9004 วิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิต
ME 9004 Thesis 9 Credits

2) แผนการศึกษาแผน ข. (ไม่ทำวิทยานิพนธ์)

เรียนก่อนเปิดภาค

สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
ND 4000 Foundation for Graduate Studies 3 Credits (Non credit)

ปีที่ 1, ภาคการศึกษาที่ 1

ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
LC 4001 Reading Skills Development in English for Graduate 3 Credits (Non credit)

ศม 4000 หลักเศรษฐศาสตร์ 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
ME 4000 Principle of Economics 3 Credits (Non credit)

ศม 5001 คณิตศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ 3 หน่วยกิต
ME 5001 Mathematics for Economists 3 Credits

ศม 5002 การวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 หน่วยกิต
ME 5002 Economic Data Analytics 3 Credits

ศม 6001 จุลเศรษฐศาสตร์ 3 หน่วยกิต
ME 6001 Microeconomics 3 Credits

ปีที่ 1, ภาคการศึกษาที่ 2
ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
LC 4002 Intgrated English Language Skills Development 3 Credits (Non credit)

ศม 5003 เศรษฐมิติ 3 หน่วยกิต
ME 5003 Econometrics 3 Credits

ศม 5004 ปฏิบัติการทางเศรษฐมิติ 3 หน่วยกิต
ME 5004 Lab for Econometrics 3 Credits

ศม 6002 มหเศรษฐศาสตร์ 3 หน่วยกิต
ME 6002 Macroeconomics 3 Credits

ปีที่ 1, ภาคการศึกษาที่ 3
ศม 7100 การฝึกปฏิบัติการทางเศรษฐศาสตร์ 3 หน่วยกิต
ME 7100 Economics in Practice 3 Credits

ปีที่ 2, ภาคการศึกษาที่ 1
ศม 6003 เศรษฐศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน 3 หน่วยกิต
ME 6003 Economics of Sustainable Development 3 Credits

ศม 6004 นโยบายเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 3 หน่วยกิต
ME 6004 Economic Policy for Stabilisation 3 Credits

XX XXXX วิชาเลือก (#1) 3 หน่วยกิต
XX XXXX Elective Course (#1) 3 Credits

ปีที่ 2, ภาคการศึกษาที่ 2

ศม 9000 การค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
ME 9000 Independent Studies 3 Credits

XX XXXX วิชาเลือก (#2) 3 หน่วยกิต
XX XXXX Elective Course (#2) 3 Credits

คำอธิบายรายวิชา

หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน

สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา (3 หน่วยกิต)

แนะนำการเมืองและการปกครองไทย เศรษฐกิจไทย ธุรกิจไทย สังคมไทย จริยธรรมของนักบริหาร จริยธรรมทางวิชาการ การพัฒนาบุคลิกภาพ สุขภาพกาย สุขภาพจิต รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร การเขียนรายงานทางวิชาทางวิชาการ และเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา

ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา (3 หน่วยกิต)

สร้างเสริมความรู้พื้นฐานด้านไวยากรณ์ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาทักษะ การอ่าน เช่น การศึกษาประเภทของประโยค การหาแกนหลักและส่วนขยายของประโยค เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้และพัฒนาทักษะการอ่านงานเขียนทางวิชาการ เช่น ตำรา บทความวิชาการ โดยเน้นการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ เพื่อหาข้อสรุปการตีความประโยคการเดาความหมายของคำศัพท์จากบริบทการอ่านแบบข้ามเพื่อหาข้อมูลเฉพาะ การหาความสัมพันธ์ของประโยคและย่อหน้าในงานเขียนและการอ่านเชิงวิเคราะห์

ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ (3 หน่วยกิต)

เนื้อหาและกิจกรรมเน้นการบูรณาการทักษะทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเชิงวิชาการเบื้องต้น

ภส 4011 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ 3 (3-0-6)
LC 4011 Remedial Reading Skills Development in English for Graduate Studies

สำหรับบัณฑิตศึกษาฝึกทักษะและกลยุทธ์การอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการที่นักศึกษาได้ศึกษามาก่อนแล้วในวิชา ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษาเพิ่มเติม ทั้งนี้นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนในลักษณะเฉพาะบุคคลมากขึ้น

The course is intended to provide additional practices in the reading skills and strategies covered in LC 4001. Students receive individualized attention to enhance their reading skills for academic purposes.

ภส 4012 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ 3 (3-0-6)
LC 4012 Remedial Integrated English Language Skills Development

ฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเพิ่มเติมและซ่อมเสริมทักษะดังกล่าว สำหรับนักศึกษาที่ยังบกพร่องในการเรียนวิชา ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ เพื่อปรับปรุงความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ด้วยการสอนและฝึกในลักษณะเฉพาะบุคคล

ศม 4000 หลักเศรษฐศาสตร์ 3 (3-0-3)
ME 4000 Principles of Economics

ศึกษานิยามและแนวคิดในวิชาเศรษฐศาสตร์ ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด และบทบาทของรัฐบาล ทฤษฎีอุปสงค์และอุปทาน หลักคิดมูลค่าส่วนเพิ่ม การหาทางเลือกที่ดีที่สุด ทฤษฎีการผลิตและต้นทุนการผลิต แนวคิดเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจมหภาค ทฤษฎีเกี่ยวกับอุปสงค์รวม ดุลยภาพของระบบเศรษฐกิจ ความต้องการถือเงิน ธนาคารกลางและนโยบายการเงิน รัฐบาล และนโยบายการคลัง ปัญหาเงินเฟ้อ และการว่างงาน ดุลการชำระเงินและอัตราแลกเปลี่ยน

2) หมวดวิชาพื้นฐาน

ศม 5001 คณิตศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ 3 (3-0-3)
ME 5001 Mathematics for Economists

การศึกษาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เพื่อประยุกต์ใช้กับปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ ตั้งแต่พื้นฐานจำนวนจริง เซต ความสัมพันธ์ ฟังก์ชั่นต่าง ๆ ลำดับและอนุกรม ผ่านการประยุกต์ใช้ในการคำนวณดอกเบี้ย ระบบสมการและการแก้ปัญหาดุลยภาพ เมทริกซ์ และพีชคณิตเชิงเส้นเพื่อสามารถคำนวณตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต ลิมิต อนุพันธ์ และอินทิกรัลเบื้องต้น จนนำมาสู่การหาค่าสูงสุดต่ำสุดของฟังก์ชั่น

ศม 5002 การวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 (3-0-3)
ME 5002 Economic Data Analytics

ศึกษาวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์  หัวข้อการศึกษาประกอบด้วย สถิติพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวน  การวิเคราะห์ปัจจัย การวิเคราะห์สมการถดถอย การวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลา การวิเคราะห์เชิงกลุ่ม การวิเคราะห์การจำแนก การโปรแกรมเชิงเส้น และการจำลองสถานการณ์

ศม 5003 เศรษฐมิติ 3 (3-0-3)
ME 5003 Econometrics

ศึกษาเครื่องมือทางเศรษฐมิติ และสถิติเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ และหาคำตอบในประเด็นที่สนใจ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และนโยบาย โดยเนื้อหาครอบคลุมแบบจำลองสมการถดถอย แบบจำลองตัวแปรตามเป็นเชิงคุณภาพ และอนุกรมเวลา

ศม 5004 ปฏิบัติการทางเศรษฐมิติ 3 (3-0-6)
ME 5004 Lab for Econometrics

จุดประสงค์ของรายวิชานี้เพื่อสอนให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์จากการปฏิบัติจริงในการทำวิจัยทางเศรษฐมิติ นักศึกษาผู้สำเร็จการศึกษาในวิชานี้จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการตั้งคำถามวิจัยที่เหมาะสม การทบทวนวรรณกรรม การเลือกข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับตอบคำถามวิจัย ตลอดจนการประมาณการตัวแบบทางเศรษฐมิติ โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม เนื้อหาของวิชาครอบคลุมการประมาณการตัวแบบด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดอย่างง่าย และวิธีทดสอบข้อสมมติของตัวแบบ การประมาณการตัวแบบที่ตัวแปรตามมีค่าจำกัด และการวิเคราะห์เชิงอนุกรมเวลาอย่างง่าย

3) หมวดวิชาหลัก

ศม 6001 จุลเศรษฐศาสตร์ 3 (3-0-3)
ME 6001 Microeconomics

ศึกษาขอบเขตและวิธีการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ พฤติกรรมของผู้บริโภค พฤติกรรมของผู้ผลิต โครงสร้างตลาดสินค้า ทฤษฎีเกม แนวคิดเกี่ยวกับการตั้งเสนอราคาสินค้า โครงสร้างตลาดปัจจัยการผลิต ทฤษฎีดุลยภาพทั่วไป ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ

ศม 6002 มหเศรษฐศาสตร์ 3 (3-0-3)
ME 6002 Macroeconomics

ทฤษฎีและตัวแบบหลักในมหเศรษฐศาสตร์ โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบเชิงสถิติและเชิงพลวัต ตรวจสอบทฤษฎีกับปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจและผลกระทบของมาตรการการเงินและการคลัง ทฤษฎีและตัวแบบการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ศึกษาประเด็นเกี่ยวกับเสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจ และการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจมหภาค

ศม 6003 เศรษฐศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน 3 (3-0-3)
ME 6003 Economics of Sustainable Development

เศรษฐศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน มุ่งเน้นศึกษาทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจจากอดีตถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งวิเคราะห์นโยบายการพัฒนาจากทฤษฎีต่าง ๆ ที่อธิบายสัมฤทธิ์ผลของนโยบายและผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นจากนโยบายต่าง ๆ เหล่านั้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความไม่ยั่งยืนทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ วิชานี้ยังศึกษาทฤษฎีและนโยบายการพัฒนาทางเลือกอื่น ๆ ด้วย เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงองค์ความรู้ในด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนในปัจจุบัน

ศม 6004 นโยบายเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 3 (3-0-3)
ME 6004 Economic Policy for Stabilization

ศึกษาความสำคัญและปัญหาของความไม่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ต้นเหตุของความไม่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และบทบาทของนโยบายการคลังและการเงินในการแก้ปัญหานี้ เนื้อหาประกอบไปด้วยสาเหตุของปัญหาเงินเฟ้อ การว่างงาน ภาวะเศรษฐกิจซบเซา ผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของการดำเนินนโยบายด้านภาษี การใช้จ่ายภาครัฐ และการบริหารหนี้สาธารณะ นอกจากนี้วิชายังครอบคลุมเรื่องการกำกับดูแลตลาดการเงิน การบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยน ทุนสำรองระหว่างประเทศ การคาดการณ์ของตลาด รวมทั้งความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของการดำเนินนโยบายการเงิน ทั้งนี้ เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

4) หมวดวิชาเลือก

ศม 7100 การฝึกปฏิบัติการทางเศรษฐศาสตร์ 3 (3-0-6)
ME 7100 Economics in Practice

การปฏิบัติการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ผ่านการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ กรณีศึกษา ตลอดจนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางเศรษฐศาสตร์ผ่านการปฏิบัติการวิจัย หรือสหกิจศึกษา โดยมีการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อนำเสนอผลงาน ภายหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานแล้ว

วิชาการค้นคว้าอิสระ

ศม 9000 การค้นคว้าอิสระ 3 (0-0-12)
ME 9000 Independent Studies

นักศึกษาเสนอผลงานวิจัยหรืองานค้นคว้าทางเศรษฐศาสตร์ ภายใต้คำแนะนำและการควบคุมของอาจารย์ โดยเน้นให้นักศึกษานำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยหรืองานค้นคว้า อีกทั้งมีความสามารถที่จะเสนอผลงานได้เป็นอย่างดี

5) วิชาการศึกษาตามแนวแนะ

ศม 8800 การศึกษาตามแนวแนะ 3 (3-0-3)
ME 8800 Directed Studies

การศึกษาในหัวข้อเฉพาะทางในประเด็นเศรษฐศาสตร์การพัฒนาหรือเศรษฐศาสตร์ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาวิชาเอก และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัย

6) วิทยานิพนธ์

ศม 9004 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
ME 9004 Thesis

นักศึกษาเสนอผลงานวิจัยหรืองานค้นคว้าทางเศรษฐศาสตร์ ภายใต้คำแนะนำและการควบคุมของอาจารย์ โดยเน้นให้นักศึกษานำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยหรืองานค้นคว้า อีกทั้งมีความสามารถที่จะเสนอผลงานได้เป็นอย่างดี