FAQ หลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน

FAQ หลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน

ภาคปกติ แบ่งเป็น 2 กรณี

  • กรณีทุนส่งเสริมการศึกษา

กรณีทุนการศึกษา ประเภทที่ 1 : สนับสนุนค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าใช้จ่ายรายเดือน เกรดเฉลี่ยระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 3.00 กรณีทุนการศึกษา ประเภทที่ 2 : สนับสนุนค่าธรรมเนียมการศึกษา เกรดเฉลี่ยระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.75 ผู้สมัครกรณีทุนส่งเสริมการศึกษาแต่ละประเภท ยื่นเอกสารสมัครสอบสัมภาษณ์ตามประกาศพร้อมหนังสือรับรองผู้สมัคร จำนวน 3 ฉบับ ที่กองบริการการศึกษา (https://entrance.nida.ac.th/) หลังจากนั้นคณะจะกำหนดวันและเวลาในการสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ภาคปกติ

  • กรณีสอบข้อเขียน

ผู้สมัครต้องสอบข้อเขียนของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในวิชาภาษาอังกฤษและวิชาเฉพาะ 1 (ข้อสอบแนว Aptitude Test และวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน) ซึ่งต้องได้คะแนนรวมกัน ไม่ต่ำกว่า 950 คะแนน และยื่นผลคะแนนและเอกสารสมัครสอบตามประกาศสมัครเข้าเรียนคณะพัฒนาการเศรษฐกิจที่กองบริการการศึกษา (https://entrance.nida.ac.th/) หลังจากนั้นคณะจะกำหนดวันและเวลาในการสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน ภาคปกติ

ภาคพิเศษ แบ่งเป็น 2 กรณี

  • กรณีสอบข้อเขียน ผู้สมัครจะต้องสอบข้อเขียนในวิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาเศรษฐศาสตร์ และวิชาการเงิน โดยได้คะแนนจากทุกวิชารวมกันไม่ต่ำกว่า 50% จึงจะผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน (ภาคพิเศษ)

  • กรณีสอบสัมภาษณ์ จะพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครจากคุณสมบัติพื้นฐานต่างๆ เช่น สาขาวิชาที่ศึกษา ผลการศึกษาระดับปริญญาตรี บุคลิกภาพ ทัศนคติ ประสบการณ์ในการทำงาน หน้าที่และงานในความรับผิดชอบ โอกาสในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ความพร้อมในการศึกษาของผู้สมัคร เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้สมัครจะต้องได้รับการทดสอบทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ โดยการสรุปความเข้าใจจากบทความภาษาอังกฤษที่ได้อ่านให้กับคณะกรรมการ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาในการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน (ภาคพิเศษ) ด้วย

ภาคปกติ สอบข้อเขียน (ข้อสอบแบบปรนัย) ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ประกอบด้วยวิชาภาษาอังกฤษ และวิชาเฉพาะ 1 (ข้อสอบแนว Aptitude Test และวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน)

ภาคพิเศษ สอบข้อเขียน (ข้อสอบแบบปรนัย) ของคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ ประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาเศรษฐศาสตร์ และวิชาการเงิน Description

กรณีสอบสัมภาษณ์ ผู้สมัครต้องมีประสบการณ์การทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันเปิดภาคการศึกษาแรก โดยมีประสบการณ์การทำงานทางด้าน • มีประสบการณ์การทำงานในสายงานด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน บัญชี การตลาด พัฒนาธุรกิจ ๑ ปี หรือ • มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน ๑ ปี หรือ • มีประสบการณ์การทำงาน ด้านใดก็ได้ ๑ ปี โดยมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทางการเงิน ๑ ปี หลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี

- ตามแผนการเรียนของภาคปกติ ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี

- ตามแผนการเรียนของภาคพิเศษ ระยะเวลาการศึกษาประมาณ 1 ปี 8 เดือน

- ภาคปกติ เข้าศึกษาภาคการศึกษาที่ 2 ของทุกปี (ม.ค.-พ.ค.) ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม

- ภาคพิเศษ เข้าศึกษาภาคการศึกษาที่ 1 ของทุกปี (ส.ค.-ธ.ค.) ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม ภาคฤดูร้อน เดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม

- ภาคปกติ สัปดาห์ละ 12 ชม. ขึ้นอยู่กับตารางเรียน อาจอยู่ระหว่าง 2 – 4 วัน

- ภาคพิเศษ วันเสาร์ – อาทิตย์ สัปดาห์ละ 9 - 12 ชม. เรียนเฉพาะวันเสาร์ – อาทิตย์

- ค่าใช้จ่ายภาคปกติ ตลอดหลักสูตรประมาณ 97,000 บาท

- ค่าใช้จ่ายภาคพิเศษ ตลอดหลักสูตรประมาณ 240,000 บาท (รวมค่ากิจกรรมพิเศษและเอกสารประกอบการสอน)

ทุนการศึกษาภาคปกติ

• ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภท 1 คะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.50 จึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวรายภาค หากคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.50 จะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัว แต่ถ้าคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.30 จะได้รับทุนยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมด หากภาคการศึกษาใดได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.30 จะหมดสิทธิ์รับทุน

• ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภท 2 จะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.30 หากภาคการศึกษาใดได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดจะหมดสิทธิ์รับทุน

• ทุนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (MOU) ประเภทที่ 1 ผู้รับทุนจะต้องเป็นนักศึกษาต่างชาติที่มีความสัมพันธ์หรือมีข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับทางสถาบัน จะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.30 จึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงินสนับสนุน ค่าใช้จ่ายส่วนตัวรายภาค หากคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.30 จะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัว แต่ถ้าคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 จะได้รับทุนยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา หากภาคการศึกษาใดได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.00 จะหมดสิทธิ์รับทุน

• ทุนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (MOU) ประเภทที่ 2 ผู้รับทุนจะต้องเป็นนักศึกษาต่างชาติที่มีความสัมพันธ์หรือมีข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับทางสถาบัน จะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.00 หากภาคการศึกษาใดได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดจะหมดสิทธิ์รับทุน

• ทุนค่าธรรมเนียมการศึกษา ผู้รับทุนจะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตในภาคการศึกษาที่ขอทุน ซึ่งนักศึกษาจะต้องมีความจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน และหากมิใช่เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนภาคแรกจะต้องได้แต้มเฉลี่ยสะสมของภาคก่อนไม่น้อยกว่า 3.00

ทุนการศึกษาภาคพิเศษ

• ทุนส่งเสริมการศึกษา ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ผู้ได้รับทุนจะได้รับการสนับสนุนค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมกิจกรรมพิเศษทั้งหมดตลอดหลักสูตร ซึ่งในแต่ละภาคผู้รับทุนจะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.30