Skip to content
คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
เกี่ยวกับคณะ
บุคลากร
ปริญญากิตติมศักดิ์
อดีตคณบดี
ผู้บริหารคณะ
อาจารย์ประจำ
เจ้าหน้าที่คณะ
ติดต่อเรา
หลักสูตร
หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
หลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน
หลักสูตรเศรษฐศาสตร์และการบริหาร
KMITL-NIDA Double Degree Program in Financial Engineering
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรอีเลิร์นนิ่ง
หลักสูตรอบรมพัฒนา
แผ่นพับแนะนำหลักสูตร
วิจัย
งานวิจัยที่ตีพิมพ์
วิทยานิพนธ์
การค้นคว้าอิสระ
ผลงานบริการวิชาการ
พัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์
Working Papers Series
บทความ ปี 2565
ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ
นักศึกษา
นักศึกษาปัจจุบัน
บริการงานการศึกษา
ศิษย์เก่า
นักศึกษาได้รับรางวัล
ข่าวสาร
ทุนการศึกษา
EN
สมัครเรียน
Back to NIDA
Search for:
FAQ
FAQ หลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน
February 11 2022
February 22 2022
1. การสอบคัดเลือก มีวิธีการอย่างไรบ้าง
ภาคปกติ แบ่งเป็น 2 กรณี
กรณีทุนส่งเสริมการศึกษา
กรณีทุนการศึกษา ประเภทที่ 1
: ยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมดตลอดหลักสูตร รวมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้แก่ผู้รับทุน ภาคการศึกษาละ 30,000 บาท และภาคฤดูร้อน ภาคละ 15,000 บาท ผู้รับทุนจะต้องมีผลการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 3.00 และต้องศึกษาในแผน 1 (ทำวิทยานิพนธ์) ซึ่งขณะกำลังศึกษาต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคไม่ต่ำกว่า 3.50
กรณีทุนการศึกษา ประเภทที่ 2
: ยกเว้นค่าหน่วยกิตให้แก่ผู้รับทุนตลอดหลักสูตร ผู้รับทุนจะต้องมีผลการศึกษาในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.75 และขณะกำลังศึกษาต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคไม่ต่ำกว่า 3.30
กรณีสอบสัมภาษณ์
ผู้สมัครมีผลการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.00 และดำเนินการคัดเลือกโดยการสอบสัมภาษณ์
ภาคพิเศษ แบ่งเป็น 2 กรณี
กรณีสอบข้อเขียน
ผู้สมัครจะต้องสอบข้อเขียนในวิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาเศรษฐศาสตร์ และวิชาการเงิน โดยได้คะแนนจากทุกวิชารวมกันไม่ต่ำกว่า 50% จึงจะผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน (ภาคพิเศษ)
กรณีสอบสัมภาษณ์
จะพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครจากคุณสมบัติพื้นฐานต่างๆ เช่น สาขาวิชาที่ศึกษา ผลการศึกษาระดับปริญญาตรี บุคลิกภาพ ทัศนคติ ประสบการณ์ในการทำงาน หน้าที่และงานในความรับผิดชอบ โอกาสในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ความพร้อมในการศึกษาของผู้สมัคร เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้สมัครจะต้องได้รับการทดสอบทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ โดยการสรุปความเข้าใจจากบทความภาษาอังกฤษที่ได้อ่านให้กับคณะกรรมการ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาในการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน (ภาคพิเศษ) ด้วย
2. ข้อสอบข้อเขียน ประกอบด้วยรายวิชาอะไรบ้าง
ภาคพิเศษ สอบข้อเขียน (ข้อสอบแบบปรนัย)
ของคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ ประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาเศรษฐศาสตร์ และวิชาการเงิน
3. เกณฑ์ในการสมัครเข้าศึกษาภาคพิเศษโดยการสอบสัมภาษณ์ ผู้สมัครต้องมีประสบการณ์การทำงานทางด้านใด
กรณีสอบสัมภาษณ์
ผู้สมัครต้องมีประสบการณ์การทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันเปิดภาคการศึกษาแรก โดยมีประสบการณ์การทำงานในสายงานด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน บัญชี การตลาด พัฒนาธุรกิจ หรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทางการเงิน
4. ระยะเวลาการศึกษา ใช้เวลานานเท่าไร
- ตามแผนการเรียนของภาคปกติ
ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี
- ตามแผนการเรียนของภาคพิเศษ
ระยะเวลาการศึกษาประมาณ 1 ปี 8 เดือน
5. วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
- ภาคปกติ
เข้าศึกษาภาคการศึกษาที่ 2 ของทุกปี (ม.ค.-พ.ค.) ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม
- ภาคพิเศษ
เข้าศึกษาภาคการศึกษาที่ 1 ของทุกปี (ส.ค.-ธ.ค.) ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม ภาคฤดูร้อน เดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม
6. การจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงินสัปดาห์ละกี่ชั่วโมง
-ภาคปกติ
สัปดาห์ละ 12 ชม. ขึ้นอยู่กับตารางเรียน อาจอยู่ระหว่าง 2 – 4 วัน
-ภาคพิเศษ
วันเสาร์ – อาทิตย์ สัปดาห์ละ 9 - 12 ชม. เรียนเฉพาะวันเสาร์ – อาทิตย์
7. ค่าใช้จ่ายในการเรียนหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน ตลอดหลักสูตรคิดเป็นเงินเท่าไร
- ค่าใช้จ่ายภาคปกติ
ตลอดหลักสูตรประมาณ 99,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายภาคพิเศษ
ตลอดหลักสูตรประมาณ 250,000 บาท (รวมค่ากิจกรรมพิเศษและเอกสารประกอบการสอน)
8. มีทุนการศึกษา จัดสรรให้ผู้เรียนหรือไม่
ทุนการศึกษาภาคปกติ
• ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภท 1
ผู้รับทุนจะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.50 จึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัว ภาคการศึกษาปกติ ภาคละ 30,000 บาท และภาคฤดูร้อน ภาคละ 15,000 บาท
• ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภท 2
ผู้รับทุนจะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.30 จึงจะมีสิทธิ์ได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
• ทุนค่าธรรมเนียมการศึกษา
ผู้รับทุนจะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตในภาคการศึกษาที่ขอทุน ซึ่งนักศึกษาจะต้องมีความจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน และหากมิใช่เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนภาคแรกจะต้องได้แต้มเฉลี่ยสะสมของภาคก่อนไม่น้อยกว่า 3.00
ทุนการศึกษาภาคพิเศษ
• ทุนส่งเสริมการศึกษา ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ
ผู้ได้รับทุนจะได้รับการสนับสนุนค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมกิจกรรมพิเศษทั้งหมดตลอดหลักสูตร ซึ่งผู้รับทุนจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.30
admineconnida
Related Posts
FAQ
FAQ หลักสูตรเศรษฐศาสตร์และการบริหาร
February 11 2022
February 22 2022
FAQ
FAQ หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
February 11 2022
February 22 2022