การศึกษาส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าที่เหมาะสม กรณีโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา
กฤตินันท์ จานงค์เดช |
บทคัดย่อ
ปัจจุบัน ปัญหาภาวะโลกร้อน ที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถือเป็นปัญหาสาคัญประการหนึ่งที่ประชาคมโลกต่างร่วมมือแก้ไข จนทาให้เกิดอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Kyoto Protocol) ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาดังกล่าว จึงได้จัดทาแผนพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศขึ้นเพื่อใช้ทดแทนพลังงานบางส่วนจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ที่เป็นต้นเหตุของปัญหาดังกล่าว หากแต่การนาพลังงานทดแทนบางประเภทมาใช้เพื่อลดปัญหามลภาวะดังกล่าว เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ยังมีประเด็นในเรื่องของต้นทุนในการผลิตที่สูงโดยเปรียบเทียบกับพลังงานในระบบ การลงทุนในพลังงานทดแทนจึงพัฒนาไม่ได้เท่าที่ควร ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาในพลังงานทดแทน รัฐจึงได้ให้การสนับสนุนในรูปแบบของส่วนเพิ่มราคารับซื้อแก่พลังงานทดแทน ซึ่งการสนับสนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อพลังงานทดแทนดังกล่าวนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในภาพรวม โดยการบวกรวมต้นทุนส่วนเพิ่มของราคารับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนนี้เข้าไปในส่วนของค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) ซึ่งจะทาให้ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไปต้องรับภาระจ่ายค่าไฟฟ้าสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้การศึกษาจึงต้องการศึกษาถึงอัตราที่เหมาะสมสาหรับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า โดยได้ทาการศึกษาภายใต้หลักคิดของการประเมินต้นทุนผลกระทบภายนอกที่หลีกเลี่ยงได้จากมลภาวะดังกล่าว และจากการศึกษาพบว่า มูลค่าต้นทุนผลกระทบภายนอกมีค่าอยู่ระหว่าง 0.5635 – 5.9127 บาท/กิโลวัตต์ ซึ่งคงมีค่าน้อยกว่าส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ดังนั้นภายใต้บริบทของการศึกษานี้ มูลค่าต้นทุนผลกระทบภายนอกที่ได้จากการศึกษา จึงแสดงให้เห็นถึงความไม่เหมาะสมของอัตราส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าในปัจจุบัน และอัตราส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าที่เหมาะสมจึงไม่ควรเกินกว่ามูลค่าต้นทุนผลกระทบภายนอกที่ได้จากการศึกษา
คำสำคัญ: พลังงานทดแทน, ส่วนเพิ่มราคารับซื้อ, ต้นทุนผลกระทบภายนอก, ต้นทุนหลีกเลี่ยง
5520312017