การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินเยน
ธัญธร วรรณบุตร |
บทคัดย่อ
จากการศึกษาข้อมูลมูลค่าการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของประเทศไทยในช่วง หลายปี ที่ผ่านมาพบว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทย อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อ เงินเยนซึ่งใช้เป็นตัวกลางในการทำธุรกรรมจึงมีความน่าสนใจสำหรับการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง การศึกษา ใน ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินเยน รวมถึง ศึกษาขนาด และทิศทางของความสัมพันธ์ภายใต้ทฤษฎีกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน อันประกอบด้วยทฤษฎีความเสมอภาค ของอำนาจซื้อ (PPP) วิธีด้านดุลการชำระเงิน (The BOP Approach) และวิธีด้านการเงิน (The Monetary Approach) โดยศึกษา ข้อมูลตั้งแต่ไตรมาส 4 พ.ศ.2540 ถึงปี พ.ศ. 2557 รวม 69 ตัวอย่าง ด้วยวิธีสมการ ถดถอยแบบกำลังสองน้อยที่สุด (OLS) จากการศึกษาพบว่ามีเพียงปัจจัยเดียวที่ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงิน บาทต่อเงินเยนคือ ปริมาณเงินในระบบโดยเปรียบเทียบระหว่างประเทศ ซึ่งความสัมพันธ์มีทิศทางตรงข้าม กับสมมติฐานที่ตั้งไว้ อันเป็นผลจากการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น ผลการศึกษาในครั้ง นี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินเยนในการคาดการณ์ ปรับตัว และ วางแผนธุรกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต