การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ.2524 – 2549
ยุทธเกียรติ ธนะสถิตย์ |
บทคัดย่อ
พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) เป็นพิธีสารภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCCC (United Framework Convention on Climate Change) ซึ่งร่างขึ้น
เพื่อกำหนดแนวทางการลดวิกฤติภาวะโลกร้อนและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อพัฒนาด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของมนุษย์ ส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นไปสะสมในบรรยากาศ และก่อให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) อันเนื่องมาจากภาวะเรือนกระจก (Greenhouse
Effect)
การศึกษาเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ.2524 – 2549
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้พลังงาน
ของประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ.2524 – 2549 ในรูปของ ผลกระทบทางด้านรายได้ (Income Effect)
ผลกระทบทางด้านความเข้มข้นของการใช้พลังงาน (Energy Intensity Effect) ผลกระทบทางด้าน
สัดส่วนของเชื้อเพลิง (Fuel Share Effect) และผลกระทบทางด้านประชากร (Population Effect)
โดยใช้วิธีการวิเคราะห์แบบ Decomposition Analysis ด้วยเทคนิค Logarithmic Mean Divisia
Index (LMDI)
พร้อมทั้งคาดการณ์แนวโน้มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้พลังงาน
ในช่วงปี พ.ศ.2550 – 2570 ภายใต้สถานการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน รวมถึงระบุ
ประเภทพลังงานและอุตสาหกรรมของประเทศไทยที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด
จากการใช้พลังงาน ในรูปของ ถ่านหิน (Coal) น้ำมันปิโตรเลียม (Petroleum) และก๊าซธรรมชาติ
(Natural Gas)…