การประเมินมูลค่าผลประโยชน์เชิงเศรษฐศาสตร์ของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร รูปแบบบุฟเฟ่ต์ผลไม้ กรณีศึกษา : จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด

การประเมินมูลค่าผลประโยชน์เชิงเศรษฐศาสตร์ของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร รูปแบบบุฟเฟ่ต์ผลไม้ กรณีศึกษา : จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด (MBE, 2558)

การประเมินมูลค่าผลประโยชน์เชิงเศรษฐศาสตร์ของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรรูปแบบบุฟเฟ่ต์ผลไม้ กรณีศึกษา : จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด

ชุติมา เหล่าทวีสุข

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมภาคบริการที่สร้างรายได้โดยมีมูลค่าเป็นอันดับหนึ่งของการค้าบริการรวมของประเทศไทย ทาให้การท่องเที่ยวมีบทบาทสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตต่อไปได้ โดยในปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงเกษตร(agro-tourism)เป็นการท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากพฤติกรรมการท่องเที่ยวของประชาชนในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งภาคตะวันออกของประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรคิดเป็นสัดส่วนต่อหนึ่งจังหวัดมากที่สุด โดยการท่องเที่ยวรูปแบบบุฟเฟ่ต์ผลไม้เป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆในแถบพื้นที่ภาคตะวันออก

จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกที่ได้รับความนิยมด้านการท่องเที่ยวในลักษณะบุฟเฟ่ต์ผลไม้ แต่เนื่องจากในปัจจุบันสวนผลไม้ในจังหวัดเหล่านี้ยังขาดความหลากหลายและความน่าสนใจของรูปแบบของกิจกรรมต่างๆที่ให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วม ประกอบทัศนียภาพของสวนผลไม้ยังขาดความสวยงาม การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเต็มใจจะจ่ายเพื่อการปรับปรุงทัศนียภาพและเพิ่มความหลากหลายของรูปแบบกิจกรรมและศึกษามูลค่าผลประโยชน์เชิงเศรษฐศาสตร์ของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในรูปแบบบุฟเฟ่ต์ผลไม้เมื่อมีการปรับปรุงทัศนียภาพและรูปแบบกิจกรรมภายในสวน โดยใช้เทคนิคสมมติเหตุการณ์(Contingent Valuation Method : CVM) รวมถึงศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจะจ่ายและศึกษาค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวระหว่างการเดินทางมายังสวนผลไม้