การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร

การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร (MBE, 2558)

การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร
เกียรติชัย ปุญญนิรันดร์

บทคัดย่อ

การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร เป็นการศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ คือ ศึกษาความเต็มใจที่จะจ่าย (Willingness To Pay : WTP) เพื่อการปรับปรุงนิทรรศการและสื่อการนาเสนอข้อมูลใหม่ โดยใช้วิธีการสมมติเหตุการณ์ (Contingent Valuation Method : CVM) และ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายของประชาชนที่มีต่อพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร โดยเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง แบ่งออกเป็นกลุ่มตัวอย่างจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร และ กลุ่มตัวอย่างที่สารวจในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มละ 200 ตัวอย่าง ด้วยรูปแบบคาถามแบบปลายเปิด (Open – Ended ) และรูปแบบคาถามปลายปิดแบบถามครั้งเดียว (Single Bounded Closed-ended)