ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากนโยบายแทรกแซงราคาก๊าซเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง
ศุภัชญา ชนชนะชัย |
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจ (Deadweight Loss: DWL) จากนโยบายการแทรกแซงราคา LPG ในภาคขนส่ง และ NGV โดยการประมาณการตัวแบบอุปสงค์ของตลาด ก๊าซเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง ได้แก่ LPG และ NGV เพื่อสร้างแบบจาลองคานวณ DWL ที่เกิดขึ้น จากนโยบาย การแทรกแซงราคาของภาครัฐในตลาดก๊าซเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง
จากผลการศึกษาพบว่า จากการประมาณการตัวแบบอุปสงค์ทางเศรษฐมิติด้วยวิธี OLS ของ LPG ในภาคขนส่ง จะเห็นว่า LPG และน้ามันดีเซลเป็นสินค้าทดแทนกัน และผู้บริโภค LPG อ่อนไหวต่อราคาน้ามันดีเซล นอกจากนี้เมื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงผู้บริโภคจะหันมาใช้ LPG มากขึ้น และในส่วนของ NGV นั้น พบว่า NGV และน้ามันดีเซลเป็นสินค้าทดแทนกัน และเมื่อราคาขายปลีก NGV และน้ามันดีเซลลดลง จะส่งผลให้ปริมาณการใช้ NGV เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นราคาขายปลีกน้ามันเบนซินและการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงจานวนประชากรส่งผลต่อปริมาณการใช้ NGV ในทิศทางเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าเมื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้น ผู้บริโภคจะใช้ NGV มากขึ้นเช่นกัน และจากการประเมิน DWL จากการแทรกแซงราคา LPG ในภาคขนส่ง และ NGV ทาให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจรวมกว่า 107,245 ล้านบาท ในปี 2547 และเพิ่มสูงขึ้นเป็น 370,000 ล้านบาท ในปี 2556 ซึ่งในช่วงเริ่มแรกของนโยบายยังคงเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจไม่มากนัก เนื่องจากปริมาณการใช้ก๊าซเชื้อเพลิงในภาคขนส่งยังมีไม่มาก แต่เมื่อนโยบายการตรึงราคาของรัฐยังใช้อยู่เป็นระยะเวลานานทาให้ผู้บริโภคหันมาใช้ก๊าซเชื้อเพลิงในภาคขนส่งเพิ่มมากขึ้น ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ จึงเพิ่มขึ้นในเวลาต่อมา การลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของนโยบายการแทรกแซงราคาก๊าซเชื้อเพลิงในภาคขนส่งสามารถทาได้โดยยกเลิกการบิดเบือนกลไกราคา หรือการอุดหนุนราคาไขว้ และให้ตลาดก๊าซเชื้อเพลิง ในภาคขนส่งเกิดการซื้อขายกันอย่างเสรี การสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามาดาเนินธุรกิจก๊าซเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง โดยเฉพาะ NGV เพื่อให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น นอกจากนั้น ยังควรมีการพัฒนาและสนับสนุนพลังงานทดแทนก๊าซเชื้อเพลิงในภาคขนส่งเพื่อการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนด้วย
คำสำคัญ : แทรกแซงราคา, ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ, ก๊าซเชื้อเพลิง