หนี้สินเกินตัว ในพนักงานรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย กรณีศึกษา พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่

หนี้สินเกินตัว ในพนักงานรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย กรณีศึกษา พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ (MBE)

หนี้สินเกินตัว ในพนักงานรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย กรณีศึกษา พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่

นายสุรศักดิ์ สุรธรรมานันท์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เน้นศึกษาเกี่ยวกับหนี้สินเกินตัว ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ และมีผลกระทบต่อเนื่องไปถึงปัญหาการวางแผนทางการเงิน และการออมเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามีทั้งข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานใหญ่ ระดับ 2-7 โดยใช้แบบสอบถาม(Questionnaire) จำนวน 357 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และรวบรวมข้อมูลสำคัญของพนักงาน กฟภ. เช่น อายุงาน ข้อมูลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ด้วยแบบจำลองถดถอยเชิงเส้นตรงแบบฉบับ ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบธรรมดา (Ordinary Least Square: OLS) พบว่าปัจจัยที􀃉ส่งผลกระทบต่อตัวแปรตาม สัดส่วนหนี้สินต่อรายได้เฉ่ยต่อเดือน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.10 ได้แก่เพศ (x1) , อายุ (x2) , ระดับการศึกษาปริญญาตรี (x3) ,ระดับการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี (x4) ,
สถานภาพสมรส (x8) , จำนวนบุคคลที่ต้องดูแลค่าใช้จ่าย (x10) , จำนวนผู้ร่วมอาศัย (x11) , ตำแหน่งการทำงาน (x14) , ระดับการทำงาน (x15) , สังกัดงานกลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนา (x17) และ สังกัดงานกลุ่มเครือข่ายและบริการ (x18)ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะหนี้สินเกินตัวได้ใช้แบบจำลองโพรบิท (Probit Model) ในการอธิบายพฤติกรรมของตัวแปรตามที่มีลักษณะข้อมูลเป็นสองทางเลือก ซึ่ง 1 ก็คือผู้ที่มีภาวะหนี้สินเกินตัว(ผู้ที่มีสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้เฉลี่ยต่อเดือนตั้งแต่ 50% ขึ้นไป) และ 0 ก็คือผู้ที่มีภาวะหนี้สินเกินตัว (ผู้ที่มี
สัดส่วนหนี้สินต่อรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า50%) พบว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะหนี้สินเกินตัว ที่ระดับนัยสำคัญ 0.10 ได้แก่ เพศ (x1) ,สถานภาพสมรส (x8) , ภูมิลำเนา (x9) , จำนวนผู้ร่วมอาศัย (x11) , สังกัดงานกลุ่มเครือข่ายและบริการ (x18) และ ระดับความรู้ทางด้านการเงิน (x19)

จากการสรุปผลคำนวณเกี่ยวกับการออมเพื่อวัยเกษียณพบว่า พนักงานจะมีเงินเพียงพอไว้ใช้จ่ายในวัยเกษียณ โดยแหล่งเงินที่สำคัญจะมาจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นแหล่งเงินหลักในการใช้จ่ายในวัยเกษียณ ส่วนเงินออมนอกเหนือจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะผลตอบแทนการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่มีความแน่นอนและจากผลสรุปทั้งหมดพบว่า ถึงแม้พนักงานจะมีสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่สูง ก็ไม่ได้พบว่าเป็นปัญหาต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน และวัยเกษียณ จะมีเพียงพนักงานส่วนน้อยที่ประสบปัญหาภาวะหนี้สินเกินตัว แต่สิ่งสำคัญในงานการศึกษานี้คือการเน้นให้ความรู้ความเข้าใจแก่พนักงานเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน ให้พนักงานตระหนักถึงเงินออม บริหารจัดการหนี้ที่มีอยู่ สามารถวางแผนทางการเงิน เพื่อการใช้จ่ายในวัยเกษียณได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี

คำสำคัญ : หนี้สินเกินตัว , พนักงานรัฐวิสาหกิจ , พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค , หนี้ , ออม