ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศไทย

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศไทย

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศไทย

ชญาน์รัศมิ์ วิทิตธนาชัยกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราการออมและอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และเพื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่ออัตราการออม อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และอัตราการลงทุนภาคเอกชนภายในประเทศตัวแปรในการศึกษา ประกอบด้วย ตัวแปรอิสระ คือ ขนาดและทิศทางของอัตราการออม และขนาดและทิศทางของอัตราการลงทุนในประเทศ ตัวแปรตาม คือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

การศึกษาคร้ังนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) แบบอนุกรมเวลา (Time Series)เป็นรายไตรมาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 – 2559 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยข้อมูลที่รวบรวมเป็นข้อมูลรายปี ซึ่งจะทำการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรายไตรมาส และข้อใดที่อยู่ในรูปตัวเงินจะทำการปรับค่าให้อยู่ในรูปของค่าที่แท้จริง โดยใช้ GDP Deflator เป็นตัวปรับค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ วิเคราะห์โดยการสร้างแบบจำลองเป็นสมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Linear Regression) โดยการประมาณค่าสัมประสิทธิ์ในแต่ละสมการ ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Square : OLS)

ผลการวิจัยพบว่า 1)ปริมาณการออม ปริมาณการลงทุนภาคเอกชนภายในประเทศ อัตราการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า อัตราแรงงาน อัตราการบริโภค ดัชนีราคาผู้บริโภคและมูลค่าการสะสมทุนภาคเอกชน สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้ร้อยละ 98.05 2) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  รายได้ภาคเอกชน อัตราการบริโภค อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง สัดส่วนของปริมาณเงินในความหมายกว้างต่อปริมาณเงินในความหมายแคบ  และนวัตกรรมทางการเงิน เช่น การใช้ Mobile Banking , Internet Banking, Fintech สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการออมได้ร้อยละ 84.18

 

คำสำคัญ: นวัตกรรมทางการเงิน