ปัจจัยที่มีผลต่อการออมภาคสมัครใจเพื่อการเกษียณอายุของประชากรวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ปัจจัยที่มีผลต่อการออมภาคสมัครใจเพื่อการเกษียณอายุของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ปัจจัยที่มีผลต่อการออมภาคสมัครใจเพื่อการเกษียณอายุของประชากรวัยทำงาน
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ชญาน์รัศมิ์ วิทิตธนาชัยกุล

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร โดยมีสัดส่วนประชากร
ผู้สูงอายุเพิ่มขึ(นและมีแนวโน้มที่จะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นผลมาจากวิวัฒนาการทางการแพทย์และ
โครงสร้างสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้อัตราการเกิดลดลงและประชากรมีอายุคาดเฉลี่ยเพิ่มขึ้น สะท้อนถึงความ
จำเป็นที่ต้องพึ่งพาตนเองเพิ่มขึ้นในช่วงวัยเกษียณ การเตรียมความพร้อมทางการเงินไว้แต่เนิ่นๆ จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีการสนับสนุนรายได้หลังการเกษียณจากรัฐบาลผ่านช่องทางต่างๆ แต่
นั้นทำให้เกิดภาระทางการคลังที่เพิ่มสูงขึ้นตามมา ฉะนั้น ประชากรจึงจำเป็นต้องสร้างความมั่นคงทางการเงินของตนเองเพื่อรองรับการบริโภคในวัยเกษียณ
วัตถุประสงค์การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อโอกาสที่จะมีการออมภาคสมัครใจเพื่อการ
เกษียณอายุและปัจจัยที่ส่งผลต่อสัดส่วนการออมภาคสมัครใจเพื่อการเกษียณอายุต่อรายได้ของประชากรวัย
ทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ข้อมูลได้มาจากการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ โดย
มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ จำนวน 253 ราย ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อความน่าจะ
เป็นที่จะมีการออมภาคสมัครใจเพื่อการเกษียณอายุ มีทั้งสิ้น 5 ปัจจัย ได้แก่ รายได้ จำนวนบุตร อาชีพ อายุ
และทัศนคติและพฤติกรรมการออม โดยปัจจัยด้านรายได้และอายุมีผลต่อความน่าจะเป็นที่จะมีการออมภาค
สมัครใจเพื่อการเกษียณอายุเพิ่มขึ้นในทิศทางบวก ในทางตรงกันข้าม จำนวนบุตรที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อโอกาสที่
จะมีการออมภาคสมัครใจเพื่อการเกษียณอายุลดลง สำหรับปัจจัยด้านอาชีพ พนักงานรัฐวิสาหกิจและ
พนักงานของรัฐมีโอกาสที่จะมีการออมภาคสมัครใจเพื่อการเกษียณสูงกว่าข้าราชการ ซึ่งตรงข้ามกับผู้
ประกอบอาชีพอิสระมีโอกาสที่จะมีการออมภาคสมัครใจเพื่อการเกษียณอายุตํ่ากว่าข้าราชการ โดยผู้ที่มี
ทัศนคติและพฤติกรรมการออมตํ่ามีโอกาสที่จะมีการออมภาคสมัครใจเพื่อการเกษียณตํ่ากว่าผู้ที่มีทัศนคติ
และพฤติกรรมการออมสูง

ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่กำหนดสัดส่วนการออมภาคสมัครใจเพื่อการเกษียณอายุ พบว่า ปัจจัย
ที่มีนัยสำคัญทางสถิติมีทั(งสิ้น 7 ปัจจัย ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ ทักษะทาง
การเงิน ทัศนคติและพฤติกรรมการออม โดยปัจจัยอายุส่งผลในทิศทางบวกต่อสัดส่วนการออมภาคสมัครใจ
เพื่อการเกษียณอายุต่อรายได้ ในขณะที่อายุ มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้าม สำหรับผู้ที่มีสถานภาพสมรส
จะมีสัดส่วนการออมภาคสมัครใจเพื่อการเกษียณอายุมากกว่าคนโสด ส่วนกลุ่มผู้ที่จบการศึกษาตํ่ากว่าระดับ
ปริญญาตรีจะมีสัดส่วนการออมภาคสมัครใจต่อรายได้ตํ่ากว่าผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านอาชีพผู้
ประกอบอาชีพอิสระจะมีสัดส่วนการออมภาคสมัครใจสำหรับการเกษียณตํ่ากว่ากลุ่มข้าราชการ และกลุ่มผู้มี
ทักษะทางการเงินระดับตํ่ามีอัตราการออมภาคสมัครใจเพื่อการเกษียณตํ่ากว่ากลุ่มที่มีทักษะทางการเงินสูง
สอดคล้องกับกลุ่มผู้ที่มีทัศนคติและพฤติกรรมการออมระดับปานกลางและระดับตํ่าจะมีสัดส่วนการออมภาค
สมัครใจเพื่อวัยเกษียณตํ่ากว่าผู้ที่มีทัศนคติและพฤติกรรมการออมสูงเช่นกัน
จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า นอกจากปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลแล้ว ทักษะทางการเงิน ทัศนคติ
และพฤติกรรมการออมของบุคคล เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการเพิ่มโอกาสการออมและอัตราการออมใน
ระยะยาว ฉะนั้น ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้มีโครงการเสริมความรู้และเพิ่มทักษะทาง
การเงินให้แก่ประชาชนทุกระดับ และเน้นการปลูกฝังทัศนคติทางการเงินตั้งแต่ระดับเยาวชน โดยอาศัย
สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษาเป็นสื่อกลางในการปลูกฝัง พัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ และปรับ
ทัศนคติทางการเงินและพฤติกรรมการบริโภคและการออมของบุคคลอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้าง
ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว

คำสำคัญ : การออมภาคสมัครใจ การเกษียณอายุ