ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทาธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางดั้งเดิม และช่องทางใหม่ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑลชุติกาญจน์ สารรักษ์ |
บทคัดย่อ
การทำธุรกรรมการเงินในปัจจุบันพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ช่องทางสาขาธนาคารยังคงมีผู้เข้าใช้บริการแต่มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ โดยบางส่วนหันไปทาธุรกรรมผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทาธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางดั้งเดิม และช่องทางใหม่ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นแนวทางให้สถาบันการเงินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนาไปพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบรับกับความต้องการของผู้บริโภค การศึกษาในครั้งนี้ใช้ข้อมูลที่ได้จากการเก็บแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยวิเคราะห์ด้วยแบบจาลองโลจิสติก (Logistic regression analysis)
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่ทาธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางดั้งเดิม/สาขาธนาคาร ส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุ 41-50 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัท รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-30,000 บาท ส่วนผู้ที่ทาธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางใหม่/อินเทอร์เน็ต ส่วนมากเป็นเพศหญิงเช่นกัน อายุ 21-30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อาชีพพนักงานบริษัท รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-30,000 บาท ส่วนผลจากการวิเคราะห์ด้วยแบบจาลองโลจิสติกพบว่า อายุ มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสาคัญ ในขณะที่ ระดับรายได้ มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสาคัญต่อการเลือกทาธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางใหม่/อินเทอร์เน็ต ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับช่องทางการทาธุรกรรมการเงินช่องทางดั้งเดิม และช่องทางใหม่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมากกับปัจจัยความเชื่อมั่นในระบบรักษาความปลอดภัย และภาพลักษณ์ของธนาคาร
คำสำคัญ : ธุรกรรมการเงิน เทคโนโลยีทางการเงิน อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง โมบายแบงก์กิ้ง