ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์ไทยวฐิภาพรรณ คชพงษ์ |
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงโครงสร้างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์ไทย รวมถึงพิจารณาบทบาทและความสาคัญของปัจจัยต่างๆ ทั้งจากภายในประเทศและจากต่างประเทศ ซึ่งในที่นี้เน้นศึกษาถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสาหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี MRR (Minimum Retail Rate) เนื่องจากเป็นอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานที่ธนาคารพาณิชย์ใช้ในการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน ในการศึกษาได้นาแบบจาลองตามแนวคิดของ Edward and Khan ที่อธิบายปัจจัยกาหนดอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบกึ่งเปิดและปิด (Semi-Open Economy) มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ สาหรับปัจจัยที่นามาใช้ศึกษานั้นประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ปัจจัยจากต่างประเทศ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยต่างประเทศ ในส่วนของปัจจัยจากภายในประเทศ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่แท้จริง ปริมาณเงินที่ตามความหมายกว้างที่แท้จริง นอกจากนี้ในการศึกษายังได้ทาการศึกษาปัจจัยภายในประเทศเพิ่มเติม คือ ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยจากฐานข้อมูลสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เนื่องจากตัวแปรดังกล่าวอาจให้ผลที่เป็นไปได้สองกรณีซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัด จึงจาเป็นต้องทาการศึกษาเพิ่มเติม โดยข้อมูลที่นามาใช้ในการศึกษาอยู่ในช่วงระหว่างไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2540 ถึงไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2560 พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศ, ผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่แท้จริง และ อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้ารายย่อยชั้นดีมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสาคัญ ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาณเงินตามความหมายกว้างที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้ารายย่อยชั้นดีมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามอย่างมีนัยสาคัญ นอกจากนี้แล้วยังพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีราคาที่อยู่อาศัยจากฐานข้อมูลสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ นั้นมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามอย่างมีนัยสาคัญเช่นกัน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการทดแทน (Substitution Effect ) โดยผู้กู้เลือกทางเลือกอื่นแทนการกู้ซื้อบ้าน เช่น การเช่าบ้าน กล่าวคือหากบ้านมีราคาสูงขึ้น ความต้องการเงินกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจะลดลง ทาให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยลดลง
คำสำคัญ: อัตราดอกเบี้ย , สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย , ดัชนีราคา