ค่าธรรมเนียมกับความสม่ำเสมอในการสร้างผลตอบแทนของกองทุน รวมหุ้นระยะยาวที่มีนโยบายการบริหารแบบ (active management)

ค่าธรรมเนียมกับความสม่ำเสมอในการสร้างผลตอบแทนของกองทุน
รวมหุ้นระยะยาวที่มีนโยบายการบริหารแบบ (active management) (MBE)

ค่าธรรมเนียมกับความสม่ำเสมอในการสร้างผลตอบแทนของกองทุน
รวมหุ้นระยะยาวที่มีนโยบายการบริหารแบบ (active management)

ชลทิชา วารีวนิช

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ใช้ข้อมูลของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่บริหารกองทุนแบบเชิงรุก (active management) จำ นวน 13 กองทุน และกองทุนหุ้นระยะยาวที่บริหารกองทุนแบบเชิงรับ (passive management) จำนวน 3 กองทุน โดยใช้ช่วงเวลาปี 2555-2559 โดยที่ Set index
เป็น เกณฑ์อ้างอิงผลการดำเนินงาน Benchmark ในการเทียบผลตอบแทนของกองทุนหุ้นระยะยาว โดยการทำวิจัยนี้ เพื่อหาความสม่ำเสมอของผลการดำเนินงานของกองทุนรวมและ ความสามารถของผู้จัดการกองทุนรวมในการบริหารกองทุนให้สามารถมีผลการดำเนินงานเหนือ Benchmark โดยมีปัจจัยเรื่องค่าธรรมเนียมการจัดการและอัตราส่วนค่าใช้จ่าย ในการมาศึกษาว่ามีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานหรือไม่ โดยการวิจัยนี้ได้ใช้เครื่องมือทางการเงินในการหาผลตอบแทน Sharpe Ratio เป็นวิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงเมือเทียบกับผลตอบแทนการลงทุน และ Information Ratio ซึ่งเป็นวิธีการที่แสดงถึงความสามารถของผู้จัดการกองทุนในการบริหารกองทุนและสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าเกณฑ์อ้างอิง และในส่วนค่าธรรมเนียมที่นักลงทุนต้องเสียให้กับบริษัทจัดการกองทุนรวมงานวิจัยนี้ใช้เครื่องมือ Total Expense Ratio ซึ่งเป็นการทำค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมดของกองทุนรวม จากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าผู้จัดการกองทุนรวมสามารถที่จะรักษามาตรฐานผลการดำเนินงานในการบริหารกองทุนที่มีนโยบายแบบ (active management) ให้เหนือว่า Set index ได้ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ได้ศึกษา แต่ไม่สามารถสร้างผลตอบแทน ที่เป็นลำดับเดิม ได้ในทุกๆปี เมือเทียบ กับกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่มีนโยบายการบริหารแบบ (active management) เช่นเดียวกันและการเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมพร้อมกับผลตอบแทนซึ่งแสดงให้เห็นว่ากองทุน CGLTF ที่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมมากที่สุดสามารถทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีมากตามไปด้วย และไม่ว่าจะคำนวณด้วยวิธี Sharpe Ratio หรือ Information Ratio กองทุนนี้ ก็ยังให้ผลตอบแทนที่ดี และในส่วนกองทุนหุ้นระยะยาวที่มีการบริหารแบบนโยบายแบบเชิงรับ(passive management) ที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายแบบเชิงรุก(active management) แต่ก็ไม่ได้ทำให้ผลตอบแทนดีกว่ากองทุนที่บริหารแบบนโยบายเชิงรุก(active management)

 

คลิกเพื่อโหลดบทความฉบับเต็ม (PDF)