ความคุ้มค่าทางการเงินและทางเศรษฐกิจของโครงการพัฒนาท่าอากาศยานตรังวรัญญา เชาว์ชาญกิจ |
บทคัดย่อ
การขนส่งทางอากาศได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ท่าอากาศยานยังคงมีขนาดเท่าเดิม ส่งผลให้ไม่สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเพียงพอ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ รัฐบาลจึงให้การสนับสนุนการพัฒนาท่าอากาศยานต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อความเหมาะสมต่อการเติบโตของ ภาคการขนส่ง ดังนั้นการวิเคราะห์โครงการถือเป็นสิ่งสาคัญที่ช่วยในการตัดสินใจลงทุนและวางแผนโครงการอย่างเหมาะสม เพื่อให้มีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสภาพสังคมวัฒนธรรม และป้องกันปัญหาหรือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา ความเป็นไปได้ของโครงการพัฒนาท่าอากาศยานตรังทั้งทางด้านการเงินและด้านเศรษฐกิจ โดยใช้หลัก การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน
ผลการศึกษาการวิเคราะห์ทางการเงิน พบว่า โครงการไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน กล่าวคือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิทางการเงิน (FNPV) ติดลบ เท่ากับ 2,430.67 ล้านบาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนทางการเงิน (FBCR) เท่ากับ 0.45 เท่า อัตราผลตอบแทนภายในทางการเงิน (FIRR) เท่ากับ ร้อยละ 3.35 และ มีระยะเวลาคืนทุน 65 ปี 5 เดือน ส่วนการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่า โครงการมีความคุ้มค่าในการลงทุน เนื่องจากมูลค่าปัจจุบันสุทธิทางเศรษฐกิจ (ENPV) เท่ากับ 3,937.68 ล้านบาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนทางเศรษฐกิจ (EBCR) เท่ากับ 1.85 เท่า อัตราผลตอบแทนภายในเชิงเศรษฐกิจ(EIRR) เท่ากับ ร้อยละ18.04 และระยะเวลาคืนทุน 11ปี 8เดือน เมื่ออัตราคิดลด เท่ากับ ร้อยละ 10.2
เนื่องจากการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนเป็นการพยากรณ์ค่าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทาให้เกิดความไม่แน่นอน จึงต้องพิจารณาถึงค่าที่จะเปลี่ยนแปลง โดยการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ ผลการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน พบว่า ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนทุกกรณี โดยมีปัจจัยด้านเงินลงทุนส่งผลให้โครงการมีความอ่อนไหวมากที่สุด และผลการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ พบว่า มีความคุ้มค่าทุกกรณี โดยที่โครงการมีความอ่อนไหวในด้านผลตอบแทนทางตรงและทางอ้อมมากที่สุด
คำสาคัญ : ท่าอากาศยาน, ต้นทุนและผลตอบแทน, ต้นทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ต้นทุนเสียง