การศึกษาผลของการทำธุรกรรมการกู้ยืมเงินระหว่างผู้กู้และนักลงทุนโดยตรง ผ่านระบบออนไลน์ (Peer to Peer Lending) ต่อความสามารถในการทำกำไรของ ธนาคารพาณิชย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา

การศึกษาผลของการทำธุรกรรมการกู้ยืมเงินระหว่างผู้กู้และนักลงทุนโดยตรง
ผ่านระบบออนไลน์ (Peer to Peer Lending) ต่อความสามารถในการทำกำไรของ
ธนาคารพาณิชย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา

การศึกษาผลของการทำธุรกรรมการกู้ยืมเงินระหว่างผู้กู้และนักลงทุนโดยตรง
ผ่านระบบออนไลน์ (Peer to Peer Lending) ต่อความสามารถในการทำกำไรของ
ธนาคารพาณิชย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา

นริศรา โพธิ์ทอง*

บทคัดย่อ

การให้กู้ยืมเงินระหว่างผู้กู้และนักลงทุนโดยตรงผ่านระบบออนไลน์ (Peer to Peer Lending)ใน
สหรัฐอเมริกามีปริมาณที่สูงและมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วในหลายปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับหลายๆ
ประเทศ การเติบโตของการให้กู้ยืมระหว่างผู้กู้และนักลงทุนโดยตรงผ่านระบบออนไลน์ (P2P Lending) มี
ผลต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์หรือไม่นั􀃊น ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด สำหรับใน
ประเทศไทยการอนุญาตให้มีการทำธุรกรรมกู้ยืมเงินระหว่างผู้กู้และนักลงทุนโดยตรงผ่านระบบออนไลน์
(P2P Lending) อยู่ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณา การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการ
วิเคราะห์ถึงผลของการทำธุรกรรมการให้กู้ยืมเงินระหว่างผู้กู้และนักลงทุนโดยตรงผ่านระบบออนไลน์ (P2P
Lending) ต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ โดยศึกษาข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกา
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ถึงไตรมาสที่ 4 ของปี 2557 โดยวิธีการสร้างสมการถดถอยเชิงซ้อน ด้วยวิธี
กำลังสองน้อยท้สุด ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า อัตราส่วนของทุนต่อสินทรัพย์รวม และอัตราเงินเฟ้อ มีผล
ต่ออัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมอย่างมีนัยสำคัญ และอัตราการกันสำรองหนี้สูญต่อเงินกู้ยืมรวม มีผล
ต่ออัตราผลตอบแทนต่อทุนอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งพบว่าการให้กู้ยืมระหว่างผู้กู้และนักลงทุนโดยตรงผ่าน
ระบบออนไลน์ ไม่มีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศ
สหรัฐอเมริกาทั้งอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม(ROA) และ อัตราผลตอบแทนต่อทุน(ROE)

คำสำคัญ: การกู้ยืมระหว่างผู้กู้และนักลงทุนโดยตรงผ่านระบบออนไลน์ ความสามารถในการทำกำไร
ธนาคารพาณิชย์