การศึกษาความพร้อมสาหรับการใช้เทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

การศึกษาความพร้อมสาหรับการใช้เทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech)
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (MBE,2559)

การศึกษาความพร้อมสาหรับการใช้เทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech)
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

นายธเนศ สุขสาตร์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบวิวัฒนาการและสถานการณ์การใช้เทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เทคโนโลยีทางการเงินในประเภทต่าง ๆ ในกลุ่มแต่ละกลุ่มวัย การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ของผู้บริโภคและศึกษาถึงปัจจัยที่ผู้ใช้เทคโนโลยีทางการเงินประเภทต่าง ๆในการตั้งใจใช้งานเทคโนโลยีทางการเงินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online Survey) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล จานวนหน่วยตัวอย่าง 450 คน และเก็บข้อมูลแบบตามสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าผลกระทบส่วนเพิ่ม โดยใช้แบบจาลองโลจิท ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสการตั้งใจใช้เทคโนโลยีทางการเงินประเภทต่าง ๆ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ปัจจัยที่มีผลกระทบส่วนเพิ่มทางบวกได้แก่ ปัจจัยเทคโนโลยีทางการเงินในประเภทการลงทุนรายย่อย ที่ร้อยละ 49.30 ปัจจัยระดับการศึกษาปริญญาโทหรือสูงกว่า ที่ร้อยละ 24.86 เป็นปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ ที่ร้อยละ 21.92 ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยง ที่ร้อยละ 21.04 ถัดมา เป็นปัจจัยประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ต ที่ร้อยละ 11.94 ปัจจัย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์/Smart Phone ที่ใช้ ที่ร้อยละ 9.97 และปัจจัยระดับรายได้ที่ร้อยละ 0.0004 ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบส่วนเพิ่มด้านลบที่จะทาให้โอกาสการตั้งใจใช้เทคโนโลยีทางการเงินประเภทต่าง ๆ ลดลงได้แก่ ปัจจัยอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ที่ร้อยละ 54.96 และปัจจัยอาชีพรับจ้าง ที่ร้อยละ 21.86 ดังนั้นจึงควรมุ่งเน้นพัฒนาและส่งเสริมปัจจัยที่มีผลทางบวกเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินให้ผู้บริโภคมีการใช้งานที่สูงขึ้นและลดต้นทุนด้านการเงินของประเทศ

คำสำคัญ : เทคโนโลยีทางการเงิน ,การรับรู้ความเสี่ยง ,การรับรู้ประโยชน์