การทดสอบความแตกต่างผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงรายได้ของเกษตรกรต่อปริมาณการผลิตยางพาราระหว่างจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดนครศรีธรรมราชพงศ์เพชร เพ็ชรล่อเหลียน |
บทคัดย่อ
ยางพาราถือว่าเป็นสินค้าเกษตรกรรมที่ส่งออกเป็นอันดับ 1 และมีมูลค่าสูงที่สุดในสินค้าเกษตรส่งออก ในปัจจุบันราคายางพาราตกต่ำลงเกษตรกรจึงมีการหารายได้เสริมจากการทาอาชีพอื่นและสภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดนครศรีธรรมราชแตกต่างกัน จึงส่งผลต่อรายได้และปริมาณการผลิตยางพาราของเกษตกร การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของรายได้เสริมที่มีผลกระทบต่อปริมาณการผลิตยางพาราของจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ศึกษาได้ทาการออกแบบสอบถามเพื่อสารวจปริมาณการผลิตยางพาราและรายได้ของกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรจังหวัดละ 50 ครัวเรือน รวมทั้งหมด 100 ครัวเรือน ในช่วงเดือนมีนาคม ผลการวิจัยพบว่า รายได้เฉลี่ยของเกษตรกรสวนยางจังหวัดภูเก็ตคือ 23,942 บาท ปริมาณยางพาราเฉลี่ย 630.16กิโลกรัม รายได้เฉลี่ยของเกษตรกรสวนยางจังหวัดนครศรีธรรมราชคือ 19,024.8 บาทปริมาณยางพาราเฉลี่ย 657.44กิโลกรัม โดยรายได้เสริมของเกษตรกรที่มากขึ้นส่งผลให้ปริมาณการผลิตยางพาราลดลงทั้ง 2 จังหวัด และปริมาณการผลิตยางพาราของเกษตรกรจังหวัดภูเก็ตลดลงน้อยกว่าเกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ : ยางพารา, เกษตกร, รายได้เสริม