การตัดสินใจของผู้บริโภคในการเลือกช่องทางการชำระค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลอาทิตยา กันทับทิม |
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษา การตัดสินใจของผู้บริโภคในการเลือกช่องทางการชาระค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุปัจจัยที่กาหนดพฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกช่องทางการชาระค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคระหว่างผู้ให้บริการชาระเงินที่เป็นสถาบันการเงิน (bank) และผู้ให้บริการที่ชาระเงินมิใช่สถาบันการเงิน (non-bank) ตัวแปรในการศึกษา ประกอบด้วย ตัวแปรอิสระ คือ ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และ รูปแบบการดาเนินชีวิต ตัวแปรตาม คือ การตัดสินใจเลือกช่องทางการชาระค่าสาธารณูปโภค
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนทั่วไปในวัยทางานที่มีภาระค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค ที่ต้องชาระเป็นประจาทุกเดือนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จานวน 400 คน จากวิธีการสุ่มแบบสะดวก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยสถิติความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ตัวสถิติทดสอบคือ chi-square ( test)
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ด้านระดับการศึกษาส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกช่องทางในการชาระค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา, ด้านพนักงาน และ ด้านลักษณะทางกายภาพมีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกช่องทางการชาระค่าสาธารณูปโภคของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 3) รูปแบบการดำเนินชีวิต ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกช่องทางการชาระค่าสาธารณูปโภค ของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
คำสำคัญ: ธนาคาร, มิใช่ธนาคาร, ช่องทางการชาระเงิน