การกำหนดราคาน้าประปาโดยอาศัยหลักต้นทุนส่วนเพิ่ม : กรณีศึกษาการประปาส่วนภูมิภาค

การกำหนดราคาน้าประปาโดยอาศัยหลักต้นทุนส่วนเพิ่ม : กรณีศึกษาการประปาส่วนภูมิภาค (MBE)

การกำหนดราคาน้าประปาโดยอาศัยหลักต้นทุนส่วนเพิ่ม : กรณีศึกษาการประปาส่วนภูมิภาค

จิระนันท์ รัตนรักษาสัตย์

บทคัดย่อ

การประปาส่วนภูมิภาคให้บริการน้าประปาในพื้นที่ 74 จังหวัดทั่วประเทศไทย ตอบสนองความต้องการใช้น้ำ ที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้น้า และขยายพื้นที่จ่ายน้ำไปยังท้องถิ่นที่มีความขาดแคลน้ำสะอาดทำให้ต้องมีการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิต การขยายเขตพื้นที่จ่ายน้ำอยู่เสมอ ซึ่งน้ำประปาเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต ราค่าน้ำ ประปาจึงถูกกำหนดโดยรัฐบาล ไม่สามารถตั้งราคาเพื่อสะท้อนต้นทุนการผลิตที่แท้จริงได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำวิธีต้นทุนส่วนเพิ่มเฉลี่ย AIC มาพิจารณาราคาค่าน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการลงทุน ตามแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่กา หนดให้ราคาเท่ากับต้นทุนส่วนเพิ่มเฉลี่ย ซึ่งเป็นราคาที่ก่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และยังสามารถสะท้อนราคาค่าน้า ประปาที่เป็นต้นทุนการผลิตแท้จริงของการประปาส่วนภูมิภาคได้ ผลจากการคำนวณพบว่า ต้นทุนส่วนเพิ่มเฉลี่ย AIC กรณีรวมค่าน้ำดิบการประปาส่วนภูมิภาคมีต้นทุนส่วนเพิ่มเฉลี่ย AIC เท่ากับ 14.99 บาทต่อลูกบาศก์เมตร โดยแบ่งเป็นต้นทุน
ค่าใช้จ่ายในการลงทุนโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายระบบประปา การประปาส่วนภูมิภาคสาขาชัยภูมิ เท่ากับ10.33 บาทต่อลูกบาศก์เมตร และต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดาเนินงานเฉลี่ยส่วนเพิ่ม เท่ากับ 4.66 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ราคาที่ได้จากการคา นวณต้นทุนส่วนเพิ่มเฉลี่ย AIC มีค่าสูงกว่าราคาค่าน้ำ ที่เรียกเก็บจากผู้ใช้น้า ประเภทที่1 เท่ากับ 10.20 บาทต่อลูกบาศก์เมตร และต่า กว่าราคาค่าน้า ที่เรียกเก็บจากผู้ใช้น้ำประเภทที่ 2 เท่ากับ 16.00 บาทต่อลูกบาศก์เมตร และ 3 เท่ากับ 18.00 บาทต่อลูกบาศก์เมตร และจากการคำนวณต้นทุนส่วนเพิ่มเฉลี่ย AIC กรณีรวมค่าบำบัดน้ำเสีย เท่ากับ 25.89 บาทต่อลูกบาศก์เมตร

คำสำคัญ : การประปาส่วนภูมิภาค, อัตราค่าน้ำ ประปา, อัตราค่าน้้ำประปาที่เหมาะสม