นิติเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการค้ายาเสพติด
ศุกระวรรณ เศวตะพุกกะ
ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ
คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
www.econ.nida.ac.th
นิติเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการค้ายาเสพติด
“กฎหมาย” เป็นกฎเกณฑ์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยภาครัฐเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนไปสู่แนวทางที่สังคมพึงปรารถนา ทำให้สังคมเกิดความสงบสุข เรียบร้อยและเป็นธรรม ผ่านบทลงโทษต่างๆ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการเมาแล้วขับ ซึ่งจะทำให้คนมีพฤติกรรมระมัดระวังมากขึ้น ลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งการออกกฏหมายนั้นกลับไม่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมอย่างที่ตั้งใจไว้ ดังนั้น จึงเกิดศาสตร์ที่ผสมผสานระหว่างเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เข้าใจถึงการตัดสินใจของมนุษย์เข้ามารวมกับสาขานิติศาสตร์ และมีชื่อเรียกใหม่ว่า “นิติเศรษฐศาสตร์” ซึ่งอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์จากการมีข้อกฎหมายต่างๆ เพื่อผลิต “กฎหมายที่ดี” มีคุณภาพและครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
จากงานสัมมนาของศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เรื่อง “กฎหมายและการโกง: การทดลองเชิงเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม 2561 ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทองใหญ่ อัยยะวรากูล คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้พูดถึงที่มาและความหมายของนิติเศรษฐศาสตร์รวมไปถึงกรณีศึกษาต่างๆที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมมนุษย์
ตัวอย่างแรกที่อาจารย์ทองใหญ่ได้พูดถึง คือ เรื่องของกฎหมายการค้ายาเสพติด โดยถ้าใช้หลักการณ์ทางเศรษฐศาสตร์ ตลาดยาเสพติดจะแตกต่างจากตลาดอื่นๆ โดยมีอุปสงค์ต่อราคาที่ต่ำมากๆ หรือต่ำแบบสมบูรณ์ (Perfectly Price Inelastic) โดยไม่ว่าราคายาเสพติดจะสูงแค่ไหนก็ตาม ผู้เสพก็ยินดีที่จะจ่ายเงินราคาแพงเพื่อเสพยาเสพติดนั้น ดังนั้น การออกกฎหมายห้ามซื้อขายยาเสพติดจึงมีผลทำให้ ปริมาณยาเสพติดในตลาดอันส่งผลให้ราคาของยาเสพติดนั้นเพิ่มมสูงขึ้นมาก จนทำให้ยาเสพติดกลางเป็นของราคาแพงที่มีคุณค่าและหายากตามความรู้สึกของผู้เสพ ดังนั้นจึงส่งผลให้ผู้ค้ายามีโอกาสทำกำไรส่วนเกินสูงขึ้น และเป็นแรงจูงใจให้เกิดผู้ค้ายามากขึ้น โดยหลักฐานหนึ่งเห็นได้จากการเก็บข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าราคาของโคเคนมีการตั้นสูงกว่าต้นทุนส่วนเพิ่ม (Marginal Cost) มากกว่า 10,000 เท่าเลยทีเดียว
นอกจากนี้ แนวคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมยังถูกเอามาใช้ในการเข้าใจพฤติกรรมของผู้ค้ายาเสพติดมากขึ้น โดยนักเศรษฐศาสตร์อธิบายว่า ผู้ค้ายาเสพติดนั้นจะมีพฤติกรรมที่เป็นคนชอบความเสี่ยง (Risk Lover) หรือรับความเสี่ยงได้ค่อนข้างสูงกว่าการก่ออาชญากรรมประเภทอื่นๆ ดังนั้นเมื่อเอามิติทางด้านความเสี่ยงมาพิจารณา อย่างในกรณีของประเทศไทยในอดีต ได้มีการจับคนขนเฮโรอีนข้ามชายแดนมา 10 กิโลกรัม โดยโทษในตอนนั้นสำหรับผู้ที่ขนเฮโรอีนมีโทษถึงประหารชีวิต เมื่อสอบถามถึงค่าจ้างที่เขาได้รับพบว่าได้รับค่าจ้างเพียงเที่ยวละ 50,000 บาท ดังนั้นการตัดสินใจของผู้ค้ารายนี้ คำนึงถึงเพียงค่าตอบแทน แต่ไม่ได้คำนึงว่าความเสี่ยงที่จะถูกจับได้และบทลงโทษที่ตามมา ดังนั้นถ้าภาครัฐมีการเพิ่มโทษในการจับกลุ่ม หรือเพิ่มโอกาสที่ผู้ค้าจะถูกจับกุมให้มากขึ้น ก็จะเป็นแนวทางหนี่งที่ผู้รับจ้างขนยาเสพติดอาจตัดสินใจที่จะไม่ขนก็เป็นได้
ดังนั้นถ้าหากมีการใช้นิติเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมกับการเข้าใจปัญหายาเสพติดก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาปัญหายาเสพติดของประเทศลงได้ เพื่อให้สามารถเข้าใจการตอบสนองต่อกฎหมาย การเข้ามาร่วมในการออกกฏหมาย การแก้ไขตลอดจนการพัฒนาทางด้านกฎหมายแล้ว ก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพระหว่างผู้ใช้และผู้ออกกฏหมายได้มากขึ้น เพราะในบางครั้งผู้ออกกฏหมายอาจคิดว่าการออกกฏหมายแบบนี้มาแล้ว ก็จะทำให้คนไม่กระทำความผิด แต่ในความเป็นจริงปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมมนุษย์ มีอยู่หลากหลาย ดังนั้นการจะออกกฏหมายให้เกิดประสิทธิภาพต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่ตามมาด้วยเช่นกัน
Forensic economics of the drug trade
ศุกระวรรณ เศวตะพุกกะ
ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ
คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
www.econ.nida.ac.th
นิติเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการค้ายาเสพติด
“กฎหมาย” เป็นกฎเกณฑ์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยภาครัฐเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนไปสู่แนวทางที่สังคมพึงปรารถนา ทำให้สังคมเกิดความสงบสุข เรียบร้อยและเป็นธรรม ผ่านบทลงโทษต่างๆ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการเมาแล้วขับ ซึ่งจะทำให้คนมีพฤติกรรมระมัดระวังมากขึ้น ลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งการออกกฏหมายนั้นกลับไม่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมอย่างที่ตั้งใจไว้ ดังนั้น จึงเกิดศาสตร์ที่ผสมผสานระหว่างเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เข้าใจถึงการตัดสินใจของมนุษย์เข้ามารวมกับสาขานิติศาสตร์ และมีชื่อเรียกใหม่ว่า “นิติเศรษฐศาสตร์” ซึ่งอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์จากการมีข้อกฎหมายต่างๆ เพื่อผลิต “กฎหมายที่ดี” มีคุณภาพและครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
จากงานสัมมนาของศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เรื่อง “กฎหมายและการโกง: การทดลองเชิงเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม 2561 ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทองใหญ่ อัยยะวรากูล คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้พูดถึงที่มาและความหมายของนิติเศรษฐศาสตร์รวมไปถึงกรณีศึกษาต่างๆที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมมนุษย์
ตัวอย่างแรกที่อาจารย์ทองใหญ่ได้พูดถึง คือ เรื่องของกฎหมายการค้ายาเสพติด โดยถ้าใช้หลักการณ์ทางเศรษฐศาสตร์ ตลาดยาเสพติดจะแตกต่างจากตลาดอื่นๆ โดยมีอุปสงค์ต่อราคาที่ต่ำมากๆ หรือต่ำแบบสมบูรณ์ (Perfectly Price Inelastic) โดยไม่ว่าราคายาเสพติดจะสูงแค่ไหนก็ตาม ผู้เสพก็ยินดีที่จะจ่ายเงินราคาแพงเพื่อเสพยาเสพติดนั้น ดังนั้น การออกกฎหมายห้ามซื้อขายยาเสพติดจึงมีผลทำให้ ปริมาณยาเสพติดในตลาดอันส่งผลให้ราคาของยาเสพติดนั้นเพิ่มมสูงขึ้นมาก จนทำให้ยาเสพติดกลางเป็นของราคาแพงที่มีคุณค่าและหายากตามความรู้สึกของผู้เสพ ดังนั้นจึงส่งผลให้ผู้ค้ายามีโอกาสทำกำไรส่วนเกินสูงขึ้น และเป็นแรงจูงใจให้เกิดผู้ค้ายามากขึ้น โดยหลักฐานหนึ่งเห็นได้จากการเก็บข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าราคาของโคเคนมีการตั้นสูงกว่าต้นทุนส่วนเพิ่ม (Marginal Cost) มากกว่า 10,000 เท่าเลยทีเดียว
นอกจากนี้ แนวคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมยังถูกเอามาใช้ในการเข้าใจพฤติกรรมของผู้ค้ายาเสพติดมากขึ้น โดยนักเศรษฐศาสตร์อธิบายว่า ผู้ค้ายาเสพติดนั้นจะมีพฤติกรรมที่เป็นคนชอบความเสี่ยง (Risk Lover) หรือรับความเสี่ยงได้ค่อนข้างสูงกว่าการก่ออาชญากรรมประเภทอื่นๆ ดังนั้นเมื่อเอามิติทางด้านความเสี่ยงมาพิจารณา อย่างในกรณีของประเทศไทยในอดีต ได้มีการจับคนขนเฮโรอีนข้ามชายแดนมา 10 กิโลกรัม โดยโทษในตอนนั้นสำหรับผู้ที่ขนเฮโรอีนมีโทษถึงประหารชีวิต เมื่อสอบถามถึงค่าจ้างที่เขาได้รับพบว่าได้รับค่าจ้างเพียงเที่ยวละ 50,000 บาท ดังนั้นการตัดสินใจของผู้ค้ารายนี้ คำนึงถึงเพียงค่าตอบแทน แต่ไม่ได้คำนึงว่าความเสี่ยงที่จะถูกจับได้และบทลงโทษที่ตามมา ดังนั้นถ้าภาครัฐมีการเพิ่มโทษในการจับกลุ่ม หรือเพิ่มโอกาสที่ผู้ค้าจะถูกจับกุมให้มากขึ้น ก็จะเป็นแนวทางหนี่งที่ผู้รับจ้างขนยาเสพติดอาจตัดสินใจที่จะไม่ขนก็เป็นได้
ดังนั้นถ้าหากมีการใช้นิติเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมกับการเข้าใจปัญหายาเสพติดก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาปัญหายาเสพติดของประเทศลงได้ เพื่อให้สามารถเข้าใจการตอบสนองต่อกฎหมาย การเข้ามาร่วมในการออกกฏหมาย การแก้ไขตลอดจนการพัฒนาทางด้านกฎหมายแล้ว ก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพระหว่างผู้ใช้และผู้ออกกฏหมายได้มากขึ้น เพราะในบางครั้งผู้ออกกฏหมายอาจคิดว่าการออกกฏหมายแบบนี้มาแล้ว ก็จะทำให้คนไม่กระทำความผิด แต่ในความเป็นจริงปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมมนุษย์ มีอยู่หลากหลาย ดังนั้นการจะออกกฏหมายให้เกิดประสิทธิภาพต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่ตามมาด้วยเช่นกัน