พฤติกรรมและรูปแบบการออมของแรงงานนอกระบบ

พฤติกรรมและรูปแบบการออมของแรงงานนอกระบบ

5920322028  .ส.โชติกา ศุภนภาโสตถิ์

บทคัดย่อ

          งานศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมของแรงงานนอกระบบ ซึ่งได้นำข้อมูลการสำรวจแรงงานนอกระบบของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2560 มาวิเคราะห์ โดยวิธีสมการถดถอย (Regression Model) ด้วยวิธีการกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Square : OLS) รวมถึงวิเคราะห์ผลของปัจจัยต่างๆว่าส่งผลอย่างไรต่อการออมของแรงงานนอกระบบ โดยศึกษาตัวแปรอายุ, เพศ, การศึกษา,อาชีพ, ความต้องการทำงานเพิ่มจากานประจำและความต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือในด้านต่างๆ ตลอดจนนำผลการศึกษาของปัจจัยต่างๆที่ได้ศึกษา มาวิเคราะห์หาแนวทางในการกระตุ้นและส่งเสริมการออมให้แรงงานนอกระบบมีเงินออมอย่างเพียงพอหลังเกษียณอายุการทำงาน ผู้วิจัยคาดหวังว่าจะสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้มาเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมและกระตุ้นการออมเงินของแรงงานนอกระบบให้เพิ่มมากขึ้น

ผลการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายของแรงงานนอกระบบโดยจำแนกเป็นช่วงอายุเป็นไปตามทฤษฎีการบริโภคตามวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Theory of Consumption) ในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโดยจำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า แรงงานนอกระบบผู้ประกอบอาชีพช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนรายได้ต่อค่าใช้จ่ายมากที่สุด ในขณะที่แรงงานนอกระบบผู้ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม, ประมงและพนักงานบริการจำหน่ายสินค้าเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนรายได้ต่อค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมของแรงงานนอกระบบ ได้แก่ กลุ่มอาชีพ, จำนวนชั่วโมงการทำงานของแรงงานนอกระบบและนโยบายความช่วยเหลือต่างๆจากภาครัฐที่ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 90

(IS2)Final Paper_5920322028