การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ ติดตั้งบนหลังคาประเภทที่พักอาศัย ในพื้นที่ที่แตกต่างกันของประเทศไทย (MBE,2557)

การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ ติดตั้งบนหลังคาประเภทที่พักอาศัย ในพื้นที่ที่แตกต่างกันของประเทศไทย (MBE,2557)

การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ ติดตั้งบนหลังคาประเภทที่พักอาศัย ในพื้นที่ที่แตกต่างกันของประเทศไทย

วิวัฒน์ ชโนวิทย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของภาคนิพนธ์นี้เพื่อศึกษาความคุ้มค่าของต้นทุนและผลตอบแทนของการติดตั้งแผงเซลแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาประเภทที่พักอาศัยขนาด 4 Kwในกรณีที่เข้าร่วมโครงการจาหน่ายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และสามารถจาหน่ายเข้าระบบสายส่งของการไฟฟ้า (On grid) เปรียบเทียบกับกรณีที่ใช้ไฟฟ้าเองในที่พักอาศัย ตลอดอายุโครงการ 25 ปี โดยศึกษาความคุ้มค่าทางด้านการเงินและทางด้านเศรษฐศาสตร์ ในพื้นที่ที่แตกต่างกันด้านความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ 3 พื้นที่ ของประเทศไทยได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคเหนือ ซึ่งใช้ตัวชี้วัดคือ NPV , B/C Ratio และ IRR

โดยผลการศึกษาเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการจาหน่ายไฟฟ้ากับผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการทั้ง 3 พื้นที่พบว่า ครัวเรือนที่ได้รับการได้รับการสนับสนุนโดยการรับซื้อไฟฟ้ามีความคุ้มค่าทางการเงินในการลงทุนมากกว่าผู้ที่ผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ใช้ในครัวเรือนของตนเอง และเมื่อพิจารณาโครงการทางเศรษฐศาสตร์พบว่าการจัดทาโครงการเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากประชาชนกลุ่มที่อยู่อาศัยนี้ แม้ว่าจะรวมผลประโยชน์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในการลด CO2 และผลประโยชน์จากการลดการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานฟอสซิลแล้วกลับไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน เนื่องจากเงินอุดหนุนในการรับซื้อไฟฟ้าเป็นเงินโอนจากประชาชนกลุ่มอื่นๆ ดังนั้นโครงการรับซื้อไฟฟ้าถือว่าไม่มีประสิทธิภาพในทางเศรษฐศาสตร์ แต่เมื่อพิจารณาการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้งานเองพบว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เพราะเกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้ผลิตพลังงานใช้เองและเกิดผลกระทบทางบวกต่อสังคม และเมื่อพิจารณาปัจจัยด้านภูมิศาสตร์พบว่าพื้นที่ที่มีความคุ้มค่าในการลงทุนมากที่สุดได้แก่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคเหนือ ตามลาดับ

การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะให้ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้เองในครัวเรือนดีกว่าที่จะจาหน่ายให้กับรัฐเพราะมูลค่าจุบันสุทธิมีค่าสูงกว่า และรัฐควรปรับราคารับซื้อไฟฟ้าให้เหมาะสม โดยลดสัดส่วนที่รัฐอุดหนุนรับซื้อลง และเน้นไปพัฒนาและส่งเสริมด้านลดต้นทุนซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีกว่า

คำสำคัญ : พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา,พลังงานไฟฟ้า,การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน