การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการเดินเรือคลองแสนแสบส่วนต่อขยาย จากวัดศรีบุญเรืองถึงสานักงานเขตมีนบุรี (MBE,2557)

การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการเดินเรือคลองแสนแสบส่วนต่อขยาย

จากวัดศรีบุญเรืองถึงสานักงานเขตมีนบุรี

วาฎิกาณ์ ไพศาลธยางกูล*

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางด้านการเงิน รวมถึงการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ของโครงการเดินเรือคลองแสนแสบส่วนต่อขยายจากวัดศรีบุญเรืองถึงสานักงานเขตมีนบุรี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนการรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตถึงสภาพแวดล้อมในพื้นที่โครงการที่ทาการศึกษาและใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูลจากเส้นทางการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคลและรถโดยสารประจาทางบนถนนรามคาแหงและถนนเสรีไทย ระยะทางรวม 11 กิโลเมตร ตลอดแนวเส้นทางของโครงการที่ทาการศึกษา วิธีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน และการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์

ผลของการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนทางด้านการเงิน พบว่าโครงการมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV) เท่ากับ 2,325,240,000 บาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อทุน(B/C Ratio) เท่ากับ 5.46 และอัตราผลตอบแทนภายใน(IRR) ร้อยละ 38.22 การศึกษาความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ พบว่า โครงการมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV) เท่ากับ 7,754,550,000 บาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อทุน(B/C Ratio) เท่ากับ 17.99 และอัตราผลตอบแทนภายใน(IRR) ร้อยละ 149.75 ในการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ(Sensitivity Analysis) พบว่าไม่ว่าต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 หรือร้อยละ 20 โครงการก็ยังคงมีผลตอบแทนเป็นบวก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโครงการมีผลตอบแทนมากกว่าค่าเสียโอกาสในการลงทุน ดังนั้นโครงการมีความคุ้มค่าทั้งทางด้านการเงินและทางด้านเศรษฐศาสตร์

งานวิจัยนี้ค้นพบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อทุน(B/C Ratio) และอัตราผลตอบแทนภายใน(IRR)ทางด้านการเงิน(Financial Value) มีค่าน้อยกว่าทางด้านเศรษฐศาสตร์(Economic Value) อันเนื่องจากเป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมากกว่าความคุ้มค่าทางด้านการเงินซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นเพื่อก่อให้เกิดสวัสดิการทางสังคม (Social Welfare) ดังนั้นภาครัฐควรดาเนินการลงทุนเป็นเจ้าของโครงการ และดาเนินการโดยภาคเอกชนในลักษณะของการจ้างเดินเรือจากภาครัฐโดยภาครัฐเป็นผู้ควบคุมราคาค่าโดยสาร กาหนดข้อปฏิบัติและขอบเขตตามแนวนโยบายในการดาเนินงานของภาคเอกชน เพื่อให้การดาเนินโครงการเกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด(Maximize Welfare) ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และทางด้านการเงิน

คาสาคัญ : เรือโดยสาร, ประหยัดเวลาเดินทาง, คลองแสนแสบ

คลิกเพื่อโหลดบทคัดย่อ (PDF)