หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเงิน)
ภาพรวมหลักสูตร
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเงินของโลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การขยายตัวของตลาดการเงินและการลงทุนเกิดขึ้นทั้งในระดับทวิภาคี พหุภาคีและภูมิภาคมีความรุดหน้าอย่างมาก ตลาดการเงินมีความซับซ้อนและมีพลวัตมากขึ้น กอปรกับการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการเงินของโลกมีอยู่สูง การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจของอีกหลายประเทศในเวลาอันรวดเร็ว มีผลกระทบรุนแรงและกว้างขวาง รวมถึงประเทศไทย จนทำให้ต้องเผชิญกับความผันผวนทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น
นอกจากนั้น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันเป็นไปอย่างก้าวกระโดด เทคโนโลยีทางการเงิน (Financial Technology) หรือ ฟินเทค (FinTech) ได้เปลี่ยนโลกการเงินและเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คนและการดำเนินกิจกรรมการให้บริการทางการเงินและการลงทุนอย่างมาก ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา มีการกล่าวถึง “ฟินเทค” ในหลากหลายมิติ ทั้งในมิติของผลประโยชน์ที่มีต่อผู้ใช้บริการทางการเงินและประเทศโดยรวม และในมิติของผลกระทบต่อภาคการเงินการธนาคาร และการลงทุน (Disruption)
การขาดแคลนบุคลากรในสายอาชีพทางเศรษฐศาสตร์การเงิน โดยเฉพาะผู้ที่มีความสามารถในการเข้าใจกลไกการทำงานของระบบเศรษฐกิจและสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทางเศรษฐกิจกับการวิเคราะห์ทางการเงินด้วยเครื่องมือการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงบุคลากรที่มีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางการเงินและสภาพแวดล้อมทางการเงินยุคใหม่ เป็นปัญหาหนึ่งที่ต้องได้รับการตอบสนองอย่างเร่งด่วนเพื่อรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ
คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ ได้เปิดสอนหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยมุ่งเน้นในการจัดสรรทรัพยากรเงินทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด ภายใต้ความเสี่ยง และความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลข่าวสาร ดังนั้น หลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงินจึงเป็นการผสมผสานของ 3 สาขาวิชาหลัก ได้แก่ ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ทฤษฎีทางการเงิน และเครื่องมือทางเศรษฐมิติ เข้าด้วยกัน เพื่อผลิตบุคลากรทางการเงินที่สามารถเชื่อมโยงเศรษฐกิจ มหภาค ตลาดทุน ตลาดเงิน ทั้งในและระหว่างประเทศ และสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางการเงินได้อย่างเหมาะสม ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 หลักสูตรได้มีการเพิ่มสาขาวิชาเอก 2 สาขาวิชาเอก ได้แก่ สาขาวิชาเอกวิเคราะห์การลงทุน (Investment Analysis) และสาขาวิชาเอกวางแผนการเงิน (Financial Planning) เพื่อเพิ่มความหลากหลายและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานที่ต้องการบุคลากรทางการเงินที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะสาขามากขึ้น และในปี พ.ศ. 2566 หลักสูตรได้มีการปรับปรุงให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในตลาดให้เป็นปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยมีการปรับชื่อ 2 สาขาวิชาเอก เป็น สาขาวิชาเอกการวิเคราะห์การเงินและการลงทุน (Financial and Investment Analysis) และสาขาวิชาเอกการวางแผนและการจัดการความมั่งคั่ง (Wealth Planning and Management) รวมทั้งมีการปรับโครงสร้างของหลักสูตรโดยมีจำนวนหน่วยกิตในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงิน โดยเฉพาะในส่วนการพัฒนาทักษะในการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลที่ต้องใช้ทักษะและเครื่องมือที่ทันสมัย ความรู้ในเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงินที่ตอบสนองต่อสภาพการเงินยุคใหม่ และความตระหนักถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สอดรับกับอุตสาหกรรมการเงินที่ให้ความสำคัญกับมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) รวมถึงการเสริมทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในภาคการเงิน เช่น การคิดเชิงวิเคราะห์และตรรกะ การนำเสนอข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีม
เปิดสอนทั้งภาคปกติ (เรียนในเวลาราชการ) และภาคพิเศษ (เรียนวันเสาร์-อาทิตย์) โดยกำหนดให้ศึกษาตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต ซึ่งผู้ศึกษาในภาคปกติและภาคพิเศษสามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายในเวลาประมาณ 1 ปี 8 เดือน
ความแตกต่างระหว่างหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ กับเศรษฐศาสตร์การเงิน
หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (สาขาวิชาธุรกิจการเงินและการธนาคาร) มุ่งเน้นที่จะอธิบายปรากฏการณ์ทางการเงินและช่วยบุคลากรด้านการเงินของบริษัทตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจการเงิน เช่น การประเมินมูลค่าธุรกิจ ทางเลือกของการลงทุนใดเหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจ ความเสี่ยงทางการเงินเป็นอย่างไรและจะจัดการความเสี่ยงเหล่านั้นได้อย่างไร ตลอดจนการเลือกแนวทางในการจัดการสินทรัพย์และภาระผูกพันของธุรกิจควรเป็นไปอย่างไร เป็นต้น
ในขณะที่หลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงินมุ่งเน้นในการตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในตลาดการเงินและราคาสินทรัพย์ทางการเงินของนักลงทุน เช่น ราคาของสินทรัพย์ทางการเงินประเภทต่างๆ (พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นสามัญ ตราสารอนุพันธ์) ถูกกำหนดขึ้นอย่างไร ผู้ลงทุนควรถือสินทรัพย์ทางการเงินประเภทใดบ้างในกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนจึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ในการลงทุน ผู้วิเคราะห์ควรใช้เครื่องมือใดจึงจะเหมาะสมในการวิเคราะห์การลงทุน เป็นต้น
ปรัชญาหลักสูตร
ปรัชญาหลักสูตร
หลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตเพื่อเป็นบุคลากรทางเศรษฐศาสตร์การเงินในระดับสูง ที่มีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน สามารถจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล เท่าทันเทคโนโลยีทางการเงินที่ทันสมัย และมีทักษะและพฤติกรรมอันพึงประสงค์สำหรับการประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมการเงิน เพื่อตอบโจทย์ปัญหาของระบบเศรษฐกิจและตลาดการเงินอย่างมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพและในทางวิชาการ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนสอดรับกับอุตสาหกรรมการเงินตามมิติของสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, and Governance: ESG)
ปรัชญาการเรียนการสอนของหลักสูตร
นักศึกษาของหลักสูตรสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับจากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริงทั้งในการปฏิบัติงาน และการดำเนินชีวิต
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเงิน เท่าทันเทคโนโลยีทางการเงิน (Financial technology: FinTech) และสภาพแวดล้อมทางการเงินยุคใหม่ เพื่อตอบโจทย์ปัญหา พัฒนาและตอบสนองต่อความต้องการของระบบเศรษฐกิจและตลาดการเงิน
2. เพื่อพัฒนามหาบัณฑิตของหลักสูตรให้มีพฤติกรรมอันพึงประสงค์สำหรับการประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมการเงิน ได้แก่ การมีภาวะผู้นำ บุคลิกภาพน่าเชื่อถือ การทำงานเป็นทีม มีหลักคิดเชิงตรรกะ กล้าตัดสินใจ ใฝ่เรียนรู้ สามารถสื่อสารได้อย่างเป็นระบบ
3. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตของหลักสูตรที่มีความตระหนักรู้ ยึดหลักจริยธรรมในการประกอบอาชีพและในทางวิชาการ และให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนสอดรับกับอุตสาหกรรมการเงินตามมิติของสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, and Governance: ESG)
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes : PLOs) ของหลักสูตรมี 6 ประการ
PLO1 : ประยุกต์องค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเงิน และการใช้เครื่องมือเชิงปริมาณ เพื่อการตัดสินใจและตอบโจทย์ปัญหาของระบบเศรษฐกิจและตลาดการเงิน
PLO2 : วิเคราะห์และแปลผลข้อมูลเพื่อการตัดสินใจและตอบโจทย์ปัญหาด้วยทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์และทฤษฎีทางการเงิน ด้วยเครื่องมือในการวิเคราะห์ วิจัยทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน
PLO3 : มีทักษะในการตั้งคำถามที่ตรงประเด็นกับสาเหตุของปัญหา ทักษะการเรียนรู้ค้นคว้าหาคำตอบ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้และเทคโนโลยี
PLO4 : มีทักษะในการสื่อสาร ทั้งการเขียน การพูด และการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการสรุปและแสดงให้อยู่ในรูปของภาพ ที่อธิบายเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการแสดงได้ (Data Visualization)
PLO5 : มีหลักคิดเชิงตรรกะ แก้ปัญหาเชิงระบบ การคิดวิเคราะห์ และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนทั้งในฐานะผู้นำ และสมาชิกของทีม
PLO6 : ตระหนักรู้จรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพและในทางวิชาการ ยึดหลักจริยธรรม และให้ความสำคัญกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สอดรับกับอุตสาหกรรมการเงินตามมิติของสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, and Governance: ESG)
วิธีการเรียนรู้
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเงิน)
Master of Economics (Financial Economics)
ศ.ก. (เศรษฐศาสตร์การเงิน)
M.Econ. (Financial Economics)
วิชาเอก มีสาขาวิชาเอกจำนวน 2 สาขาวิชา ดังนี้
– การวิเคราะห์การเงินและการลงทุน (Financial and Investment Analysis)
– การวางแผนและการจัดการความมั่งคั่ง (Wealth Planning and Management)
โครงสร้างหลักสูตรและแผนการเรียน
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต
แผน 1 ศึกษารายวิชา 27 หน่วยกิต วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
แผน 2 ศึกษารายวิชา 36 หน่วยกิต วิชาค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
หมวดวิชา | แผน 1 | แผน 2 |
---|---|---|
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน | ไม่นับหน่วยกิต | ไม่นับหน่วยกิต |
2. หมวดวิชาพื้นฐาน | 6 หน่วยกิต | 6 หน่วยกิต |
3. หมวดวิชาหลัก | 12 หน่วยกิต | 12 หน่วยกิต |
4. หมวดวิชาเอก | 9 หน่วยกิต | 9 – 15 หน่วยกิต |
5. หมวดวิชาเลือก | – | 3 – 9 หน่วยกิต |
6. วิชาการค้นคว้าอิสระ | – | 3 หน่วยกิต |
7. วิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต | – |
8. สอบประมวลความรู้ | สอบประมวลความรู้ | สอบประมวลความรู้ |
รวม | 39 หน่วยกิต | 39 หน่วยกิต |
แผนการศึกษา
แผน 1 (ทำวิทยานิพนธ์)
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา | 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา | 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ศก 5011 การวิเคราะห์เชิงปริมาณสำหรับเศรษฐศาสตร์การเงิน | 1.5 หน่วยกิต |
ศก 5012 เศรษฐมิติการเงิน | 3 หน่วยกิต |
ศก 6011 เศรษฐศาสตร์จุลภาคเพื่อการวิเคราะห์ทางการเงิน | 3 หน่วยกิต |
ศก 6013 การเงินธุรกิจ | 3 หน่วยกิต |
ศก 7xxx วิชาเอก (วิชาที่ 1) | 3 หน่วยกิต |
รวม | 13.5 หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ | 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ศก 5013 การวิจัยทางเศรษฐศาสตร์การเงิน | 1.5 หน่วยกิต |
ศก 6012 เศรษฐศาสตร์มหภาคและระบบการเงิน | 3 หน่วยกิต |
ศก 6014 ทฤษฎีกลุ่มหลักทรัพย์ | 3 หน่วยกิต |
ศก 7xxx วิชาเอก (วิชาที่ 2) | 3 หน่วยกิต |
รวม | 10.5 หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคฤดูร้อน
ศก 7xxx วิชาเอก (วิชาที่ 3) | 3 หน่วยกิต |
รวม | 3 หน่วยกิต |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
ศก 9004 วิทยานิพนธ์ | 3 หน่วยกิต |
รวม | 3 หน่วยกิต |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
ศก 9004 วิทยานิพนธ์ | 9 หน่วยกิต |
รวม | 9 หน่วยกิต |
แผนการศึกษา
แผน 2 (ไม่ทำวิทยานิพนธ์)
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา | 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา | 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ศก 5011 การวิเคราะห์เชิงปริมาณสำหรับเศรษฐศาสตร์การเงิน | 1.5 หน่วยกิต |
ศก 5012 เศรษฐมิติการเงิน | 3 หน่วยกิต |
ศก 6011 เศรษฐศาสตร์จุลภาคเพื่อการวิเคราะห์ทางการเงิน | 3 หน่วยกิต |
ศก 6013 การเงินธุรกิจ | 3 หน่วยกิต |
ศก 7xxx วิชาเอก (วิชาที่ 1) | 3 หน่วยกิต |
รวม | 13.5 หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ | 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ศก 5013 การวิจัยทางเศรษฐศาสตร์การเงิน | 1.5 หน่วยกิต |
ศก 6012 เศรษฐศาสตร์มหภาคและระบบการเงิน | 3 หน่วยกิต |
ศก 6014 ทฤษฎีกลุ่มหลักทรัพย์ | 3 หน่วยกิต |
ศก 7xxx วิชาเอก (วิชาที่ 2) | 3 หน่วยกิต |
รวม | 10.5 หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคฤดูร้อน
ศก 7xxx วิชาเอก (วิชาที่ 3) | 3 หน่วยกิต |
รวม | 3 หน่วยกิต |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
ศก 7xxx วิชาเลือก | 3 หน่วยกิต |
ศก 7xxx วิชาเลือก | 3 หน่วยกิต |
ศก 7xxx วิชาเลือก | 3 หน่วยกิต |
ศก 9000 การค้นคว้าอิสระ | 3 หน่วยกิต |
รวม | 12 หน่วยกิต |
รายวิชา
ก. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา
ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ
ภส 4011 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
ภส 4012 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ
หมายเหตุ
1. หน่วยกิตที่ได้จากการศึกษาวิชาในหมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยกิต ตามข้อกำหนดการศึกษาในข้อ 3.1.1. การยกเว้นไม่ต้องเรียนวิชาในหมวดวิชาเสริมพื้นฐาน กระทำได้ตามข้อกำหนดที่ระบุไว้เกี่ยวกับวิชานั้นๆ หรือให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน
2. การยกเว้นการเรียนวิชา ภส 4001, ภส 4002, ภส 4011, ภส 4012 ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่หลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษากำหนด
3. การยกเว้นการเรียนวิชา สพ 4000 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด
ข. หมวดวิชาพื้นฐาน 6 หน่วยกิต
ศก 5011 การวิเคราะห์เชิงปริมาณสำหรับเศรษฐศาสตร์การเงิน
ศก 5012 เศรษฐมิติการเงิน
ศก 5013 การวิจัยทางเศรษฐศาสตร์การเงิน
ค. หมวดวิชาหลัก 12 หน่วยกิต
ศก 6011 เศรษฐศาสตร์จุลภาคเพื่อการวิเคราะห์ทางการเงิน
ศก 6012 เศรษฐศาสตร์มหภาคและระบบการเงิน
ศก 6013 การเงินธุรกิจ
ศก 6014 ทฤษฎีกลุ่มหลักทรัพย์
ง. หมวดวิชาเอก 9 – 15 หน่วยกิต
หมวดวิชาเอก ประกอบด้วย 2 สาขาวิชาเอก คือ การวิเคราะห์การเงินและการลงทุน และการวางแผนและการจัดการความมั่งคั่ง โดยกำหนดให้นักศึกษาต้องเรียนวิชาเอก ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต สาขาวิชาเอกทุกสาขามุ่งให้นักศึกษามีความรู้ความชำนาญเฉพาะสาขา ซึ่งนักศึกษาสามารถระบุสาขาวิชาเอก ดังนี้
1. ไม่ระบุสาขาวิชาเอก เรียนวิชาเอก จำนวน 9 หน่วยกิต โดยที่ไม่ใช่สาขาวิชาเอกเดียวกัน
2. ระบุสาขาวิชาเอกหนึ่งสาขา เรียนวิชาในสาขาวิชาเอกที่เลือกครบ 9 หน่วยกิต
3. ระบุสาขาวิชาเอกสองสาขา (เฉพาะแผน 2) เรียนวิชาในสาขาวิชาเอกทั้ง 2 สาขา ให้ครบ 15 หน่วยกิต
สาขาวิชาเอกการวิเคราะห์การเงินและการลงทุน
ศก 7011 ทฤษฎีการกำหนดราคาสินทรัพย์
ศก 7012 อนุพันธ์และการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน
ศก 7030 นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงิน
สาขาวิชาเอกการวางแผนและการจัดการความมั่งคั่ง
ศก 7021 การวางแผนการเงินและการจัดการความมั่งคั่ง
ศก 7022 การวางแผนการลงทุนและการจัดการสินทรัพย์
ศก 7030 นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงิน
จ. หมวดวิชาเลือก กำหนดให้เลือกเรียนในแผน 2 ดังนี้ 3 – 9 หน่วยกิต
1. ไม่ระบุสาขาวิชาเอก นักศึกษาเลือกศึกษาในหมวดวิชาเลือก จำนวน 9 หน่วยกิต
2. ระบุสาขาวิชาเอกหนึ่งสาขา นักศึกษาเลือกศึกษาในหมวดวิชาเลือก จำนวน 9 หน่วยกิต
3. ระบุสาขาวิชาเอกสองสาขา นักศึกษาเลือกศึกษาในหมวดวิชาเลือก จำนวน 3 หน่วยกิต
ศก 7101 จริยธรรมกับเศรษฐศาสตร์การเงิน
ศก 7102 การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน
ศก 7111 การวิเคราะห์งบการเงิน
ศก 7112 การวิเคราะห์หลักทรัพย์และกลยุทธ์การลงทุน
ศก 7113 การสร้างแบบจำลองและพยากรณ์ทางการเงิน
ศก 7114 ตลาดการเงินระหว่างประเทศ
ศก 7221 การวางแผนการประกันภัย
ศก 7222 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
ศก 7223 การวางแผนภาษีและมรดก
ศก 7224 การวางแผนการเงินแบบองค์รวม
หมายเหตุ
1. นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาวิชาในหมวดวิชาเลือก หรือเลือกวิชาในกลุ่มสาขาวิชาเอกของหลักสูตรที่ไม่ใช่สาขาวิชาเอกของตน หรือเลือกวิชาจากหลักสูตรอื่น ๆ ของสถาบันเป็นวิชาเลือกเพื่อให้หน่วยกิต ครบถ้วนตามข้อกำหนดของหลักสูตรได้ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้แนะนำและได้รับอนุมัติจากคณบดี
2. การจัดการเรียนการสอนในหมวดวิชาเลือกให้เป็นไปตามที่คณะกำหนด
ฉ. วิชาการศึกษาตามแนวแนะ 1-3 หน่วยกิต
ศก 8801 การศึกษาตามแนวแนะ 1
ศก 8802 การศึกษาตามแนวแนะ 2
ศก 8803 การศึกษาตามแนวแนะ 3
ช. วิชาการค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
(กำหนดให้เรียน 3 หน่วยกิต ในแผน 2)
ศก 9000 การค้นคว้าอิสระ
ซ. วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
ศก 9004 วิทยานิพนธ์
คำอธิบายรายวิชา
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
กรณีนักศึกษาเรียนภาคปกติ
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) หรือองค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันอนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา
2. เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงอย่างอื่นซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา โดยมีใบรับรองจากแพทย์ปริญญาที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์
3. เป็นผู้มีความประพฤติดี
4. ผ่านการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีที่สถาบันกำหนด
กรณีนักศึกษาเรียนภาคพิเศษ
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) องค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันอนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา
2. เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงอย่างอื่นซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา โดยมีใบรับรองจากแพทย์ปริญญาที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์
3. เป็นผู้มีความประพฤติดี
4. มีประสบการณ์การทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี แบ่งเป็น 2 กรณี
– กรณีสอบสัมภาษณ์ ผู้สมัครต้องมีประสบการณ์การทำงานในสายงานด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน บัญชี การตลาด พัฒนาธุรกิจ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน หรือมีประสบการณ์การลงทุน หลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี คัดเลือกโดยการสอบสัมภาษณ์และพิจารณาจากผลการศึกษาในอดีต บุคลิกภาพ ทัศนคติ ความสามารถ และความพร้อมในการศึกษาของผู้สมัคร
– กรณีสอบข้อเขียน ผู้สมัครต้องมีประสบการณ์การทำงาน ไม่จำกัดสายงาน หลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี คัดเลือกโดยการสอบข้อเขียน (วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาเศรษฐศาสตร์ และวิชาการเงิน) และพิจารณาจากผลการศึกษาในอดีต
5. ผ่านการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีที่สถาบันกำหนด
หมายเหตุ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
ภาคปกติ : ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 99,000 บาท
ภาคพิเศษ : ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 250,000 บาท
FAQ หลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน
ภาคปกติ แบ่งเป็น 2 กรณี
กรณีทุนส่งเสริมการศึกษา