หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์และการบริหาร)
ภาพรวมหลักสูตร
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ในปัจจุบันผู้บริหารต้องเผชิญกับความท้าทายในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ภายในองค์กร ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ความรู้ความสามารถในการประยุกต์องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อให้การดำเนินงานด้านต่าง ๆ สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล องค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยในการบริหารจัดการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ภายใต้การดำเนินงานที่ประกอบด้วยคุณธรรม และจริยธรรมซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศโดยรวมอย่างยั่งยืน
ด้วยเหตุนี้คณะพัฒนาการเศรษฐกิจเล็งเห็นความจำเป็นในการผลิตบุคลากร เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศตามแนวทางดังกล่าว จึงได้เริ่มเปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และการบริหาร โดยหลักสูตรนี้เป็นการประยุกต์ทฤษฎีและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการตัดสินใจในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ ที่กว้างไกลและเข้าใจสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ให้ได้ทั้งสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจและธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและเป็นผู้บริหารที่ก้าวล้ำในโลกธุรกิจยุคใหม่
เน้นการประยุกต์หลักเศรษฐศาสตร์เพื่อใช้ในการตัดสินใจและบริหารองค์กร การเรียนประกอบด้วย การศึกษาทฤษฏี กรณีศึกษา การวิเคราะห์ข่าวสาร การอภิปราย การศึกษาดูงาน
“คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ ตัดสินใจอย่างนักบริหาร”
ปรัชญาหลักสูตร
มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นนักบริหารที่มีความรู้ความเข้าใจสภาพทางเศรษฐกิจ สามารถใช้องค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ในการบริหารงานอย่างมีคุณธรรม ถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อประโยชน์สังคมและประเทศชาติ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- สร้างหลักสูตรที่ให้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับผู้มีอาชีพนักบริหารทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมถึงเจ้าของกิจการ เพื่อเพิ่มมิติทางเศรษฐศาสตร์ในการตัดสินใจ
- สร้างผู้บริหารที่เข้าใจสภาวะทางเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจ และวิธีคิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์
- สร้างหลักสูตรที่เน้นประยุกต์แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการใช้งานในภาคปฏิบัติมากกว่าการมุ่งเน้นศึกษาทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์
เปิดสอน
ภาคปกติ จัดการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) แบบ Block Course (เรียนในวันและเวลาราชการ)
ภาคพิเศษ จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย แบบ Block Course (เรียนวันเสาร์-อาทิตย์)
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes : PLOs) มี 6 ประการ
LO1: เข้าใจและประยุกต์หลักการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการตัดสินใจเชิงบริหาร
LO2: วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจ สภาวะและนโยบายทางเศรษฐกิจ เพื่อการตัดสินใจและ
แก้ปัญหาด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ที่ทันสมัย
LO3: มีทักษะในการตั้งคำถาม ค้นคว้าหาคำตอบ ตามกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต แสวงหา
ความก้าวหน้า และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของความรู้และเทคโนโลยี
LO4: มีภาวะผู้นำและความรับผิดชอบรวมถึงสามารถทำงานเป็นทีมทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกของกลุ่ม
LO5: สื่อสารและนำเสนออย่างมีประสิทธิผล ทั้งด้านการเขียน และการพูด
LO 6 ยึดหลักธรรมมาภิบาล มีจิตสานึกต่อเพื่อนมนุษย์ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
วิธีการเรียนรู้
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์และการบริหาร)
Master of Economics (Economics and Management)
ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์และการบริหาร)
M.Econ. (Economics and Management)
โครงสร้างหลักสูตรและแผนการเรียน
หมวดวิชา | โครงสร้างหลักสูตรแผน ก. (2) ทำวิทยานิพนธ์ | โครงสร้างหลักสูตรแผน ข. ไม่ทำวิทยานิพนธ์ |
1.หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน | 9 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) | 9 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
2.หมวดวิชาพื้นฐาน | 3 หน่วยกิต | 3 หน่วยกิต |
3.หมวดวิชาหลัก | 9 หน่วยกิต | 9 หน่วยกิต |
4.หมวดวิชาเอก | 9 หน่วยกิต | 9 หน่วยกิต |
5.หมวดวิชาเลือก | 3 หน่วยกิต | 12 หน่วยกิต |
6.วิชาการค้นคว้าอิสระ | – | 3 หน่วยกิต |
7.วิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต | – |
8.สอบประมวลความรู้ | สอบประมวลความรู้ | สอบประมวลความรู้ |
รวม | 36 หน่วยกิต | 36 หน่วยกิต |
แผนการศึกษา
แผนการศึกษาแผน ก.(2) (ทำวิทยานิพนธ์)
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
สพ 4000 | พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา | 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ภส 4001 | การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา | 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ศบ 5000 | การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการบริหาร | 3 หน่วยกิต |
ศบ 6010 | เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ | 3 หน่วยกิต |
ศบ 7xxx | วิชาเอก 1 | 3 หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
ภส 4002 | การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ | 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ศบ 6020 | การวิเคราะห์เศรษฐกิจแบบเปิด | 3 หน่วยกิต |
ศบ 6030 | นโยบายเศรษฐกิจ | 3 หน่วยกิต |
ศบ 7xxx | วิชาเอก 2 | 3 หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 3
ศบ 7xxx | วิชาเอก 3 | 3 หน่วยกิต |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
XX xxxx | วิชาเลือก 1 | 3 หน่วยกิต |
ศบ 9004 | วิทยานิพนธ์ | 3 หน่วยกิต |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
ศบ 9004 | วิทยานิพนธ์ | 9 หน่วยกิต |
หมายเหตุ : อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
แผนการศึกษาแผน ข (ไม่ทำวิทยานิพนธ์)
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
สพ 4000 | พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา | 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ภส 4001 | การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา | 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ศบ 5000 | การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการบริหาร | 3 หน่วยกิต |
ศบ 6010 | เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ | 3 หน่วยกิต |
ศบ 7xxx | วิชาเอก 1 | 3 หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
ภส 4002 | การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ | 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ศบ 6020 | การวิเคราะห์เศรษฐกิจแบบเปิด | 3 หน่วยกิต |
ศบ 6030 | นโยบายเศรษฐกิจ | 3 หน่วยกิต |
ศบ 7xxx | วิชาเอก 2 | 3 หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 3
ศบ 7xxx | วิชาเอก 3 | 3 หน่วยกิต |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
XX xxxx | วิชาเลือก 1 | 3 หน่วยกิต |
XX xxxx | วิชาเลือก 2 | 3 หน่วยกิต |
XX xxxx | วิชาเลือก 3 | 3 หน่วยกิต |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
XX xxxx | วิชาเลือก 4 | 3 หน่วยกิต |
ศบ 9000 | การค้นคว้าอิสระ | 3 หน่วยกิต |
หมายเหตุ : อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
รายวิชา
ก. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา
ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ
ภส 4011 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
ภส 4012 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ
หมายเหตุ :
- หน่วยกิตที่ได้จากการศึกษาวิชาในหมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยกิต ตามข้อกำหนดการศึกษา การยกเว้นไม่ต้องเรียนวิชาในหมวดวิชาเสริมพื้นฐาน กระทำได้ตามข้อกำหนดที่ระบุไว้เกี่ยวกับวิชานั้น ๆ หรือให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน
- การยกเว้นการเรียนวิชา ภส 4001, ภส 4002, ภส 4011, ภส 4012 ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่หลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษากำหนด
- การยกเว้นการเรียนวิชา สพ 4000 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด
ข. หมวดวิชาพื้นฐาน 3 หน่วยกิต
ศบ 5000 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการบริหาร
ค. หมวดวิชาหลัก 9 หน่วยกิต
ศบ 6010 เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ
ศบ 6020 การวิเคราะห์เศรษฐกิจแบบเปิด
ศบ 6030 นโยบายเศรษฐกิจ
ง. หมวดวิชาเอก
(กำหนดให้เรียนวิชาใดก็ได้ในหมวดวิชาเอก จำนวน 9 หน่วยกิต ในแผน ก (2) และแผน ข)
ศบ 7010 การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันและกลยุทธ์องค์การ
ศบ 7020 การเงินสำหรับผู้บริหาร
ศบ 7030 การวางแผนและวิเคราะห์โครงการ
ศบ 7040 เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ
ศบ 7050 การบริหารภายใต้พลวัตเศรษฐกิจโลก
ศบ 7060 การจัดการนวัตกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
หมายเหตุ :
นักศึกษาแผน ก (2) และแผน ข ต้องเลือกศึกษาในหมวดวิชาเอก อย่างน้อย 3 วิชา และสามารถเลือกศึกษาวิชาในหมวดวิชาเอกวิชาอื่น แทนวิชาในหมวดวิชาเลือกได้
จ. วิชาการศึกษาตามแนวแนะ
ศบ 7101 ทรัพยากรมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขัน
ศบ 7102 สัมมนาทางเศรษฐศาสตร์และการบริหาร
ศบ 8001 การศึกษาตามแนวแนะ
ศบ 8002 การศึกษาตามแนวแนะ
ศบ 8003 การศึกษาตามแนวแนะ
หมายเหตุ:
- นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาวิชาในหมวดวิชาเลือก หรือ เลือกวิชาในกลุ่มสาขาวิชาเอก หรือวิชาในหลักสูตรอื่น ๆ ของสถาบันเป็นวิชาเลือก เพื่อให้หน่วยกิตครบถ้วนตามข้อกำหนดของหลักสูตรได้
- กรณีเลือกวิชาในหลักสูตรอื่น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้แนะนำและได้รับอนุมัติจากคณบดี
- การจัดการเรียนการสอนในหมวดวิชาเลือกให้เป็นไปตามที่คณะกำหนด
ฉ. วิชาการค้นคว้าอิสระ (สำหรับแผน ข.)
ศบ 9000 การค้นคว้าอิสระ
ช. วิทยานิพนธ์ (สำหรับแผน ก.(2))
ศบ 9004 วิทยานิพนธ์
คำอธิบายรายวิชา
คำอธิบายรายวิชาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์และการบริหาร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564)
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
กรณีนักศึกษาเรียนภาคปกติ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) องค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันอนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา
- เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงอย่างอื่นซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา โดยมีใบรับรองจากแพทย์ปริญญาที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์
- เป็นผู้มีความประพฤติดี
- นักศึกษาต้องมีคะแนน TOEFL ไม่น้อยกว่า 500 PBT, 173 CBT and 61 iBT หรือ IELTS SCORE ไม่น้อยกว่า 6.5 หรือ NIDA TEAP ไม่น้อยกว่า 500 ภายในภาคการศึกษาแรกที่ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
- ผ่านการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีที่สถาบันกำหนด
กรณีนักศึกษาเรียนภาคพิเศษ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) องค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันอนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา
- เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงอย่างอื่นซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา โดยมีใบรับรองจากแพทย์ปริญญาที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์
- เป็นผู้มีความประพฤติดี
- อายุ 27 ปีขึ้นไปหรือมีประสบการณ์ทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี
หมายเหตุ : คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
ภาคปกติ : ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 165,000 บาท
ภาคพิเศษ : ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 300,000 บาท
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม