หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
ภาพรวมหลักสูตร
หลักสูตรเศรษฐศาสตร์มุ่งเน้นสร้างความเข้าใจในแนวคิดและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ วิธีการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์เชิงปริมาณ และมีศักยภาพในการเพิ่มพูนความรู้ไปตามพลวัตของการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจโลก และมีจริยธรรมในทางวิชาการและการประกอบอาชีพ
ปรัชญาหลักสูตร
ปรัชญาหลักสูตร
หลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ วิธีการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์เชิงปริมาณ และมีศักยภาพในการเพิ่มพูนความรู้ไปตามพลวัตของการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจโลก และมีจริยธรรมในทางวิชาการและการประกอบอาชีพ
ปรัชญาการเรียนการสอนของหลักสูตร
นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอนไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ และการวิจัย
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจแนวคิดและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนาผลกระทบจากนโยบายการพัฒนา และอิทธิพลของระบบเศรษฐกิจโลกต่อการดำเนินธุรกิจ และการพัฒนาประเทศ
- เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจได้ รวมทั้งมีทักษะในการใช้แนวคิดและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ และเครื่องมือวิเคราะห์เชิงปริมาณได้อย่างเหมาะสม
- เพื่อพัฒนามหาบัณฑิตให้มีศักยภาพในการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจที่สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes : PLOs) ของหลักสูตรมี 4 ประการ
PLO1: ประยุกต์ใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางเศรษฐกิจ
PLO2: วิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายภาครัฐต่อเศรษฐกิจด้วยเครื่องมือเชิงปริมาณที่เหมาะสม และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
PLO3: ตระหนักถึงจริยธรรมในการตั้งคำถามและค้นคว้าหาคำตอบ
PLO4: สื่อสารและนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการเรียนรู้
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Master of Economics Program
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
ศ.ม.
โครงสร้างหลักสูตรและแผนการเรียน
หมวดวิชา | โครงสร้างหลักสูตรแผน 1 (ทำวิทยานิพนธ์) | โครงสร้างหลักสูตรแผน 2 |
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน | (ไม่นับหน่วยกิต) | (ไม่นับหน่วยกิต) |
2. หมวดวิชาพื้นฐาน | 12 หน่วยกิต | 12 หน่วยกิต |
3. หมวดวิชาหลัก | 9 หน่วยกิต | 9 หน่วยกิต |
4. หมวดวิชาเลือก | 3 หน่วยกิต | 12 หน่วยกิต |
5. วิชาการค้นคว้าอิสระ | – | 3 หน่วยกิต |
6. วิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต | – |
7. สอบประมวลความรู้ | สอบประมวลความรู้ | สอบประมวลความรู้ |
รวม | 36 หน่วยกิต | 36 หน่วยกิต |
แผนการศึกษา
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
แผน ก.(2) ศึกษารายวิชา 24 หน่วยกิต วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
แผน ข ศึกษารายวิชา 33 หน่วยกิต วิชาการค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
แผนการศึกษาแผน ก.(2) (ทำวิทยานิพนธ์)
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
สพ 4000 | พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา | 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ภส 4001 | การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา | 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ศม 5200 | การวิเคราะห์เชิงปริมาณ | 3 หน่วยกิต |
ศม 5300 | จุลเศรษฐศาสตร์ขั้นกลาง | 3 หน่วยกิต |
ศม 5400 | มหเศรษฐศาสตร์ขั้นกลาง | 3 หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
ภส 4002 | การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ | 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ศม 5100 | คณิตศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
ศม 6100 | ทฤษฎีจุลเศรษฐศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
ศม 6200 | ทฤษฎีมหเศรษฐศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
ศม 6300 | เศรษฐมิติ | 3 หน่วยกิต |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
XX xxxx | วิชาเลือก 1 | 3 หน่วยกิต |
ศม 9004 | วิทยานิพนธ์ | 3 หน่วยกิต |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
ศม 9004 | วิทยานิพนธ์ | 9 หน่วยกิต |
แผนการศึกษาแผน ข (ไม่ทำวิทยานิพนธ์)
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
สพ 4000 | พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา | 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ภส 4001 | การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา | 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ศม 5200 | การวิเคราะห์เชิงปริมาณ | 3 หน่วยกิต |
ศม 5300 | จุลเศรษฐศาสตร์ขั้นกลาง | 3 หน่วยกิต |
ศม 5400 | มหเศรษฐศาสตร์ขั้นกลาง | 3 หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
ภส 4002 | การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ | 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
ศม 5100 | คณิตศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
ศม 6100 | ทฤษฎีจุลเศรษฐศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
ศม 6200 | ทฤษฎีมหเศรษฐศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
ศม 6300 | เศรษฐมิติ | 3 หน่วยกิต |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
XX xxxx | วิชาเลือก 1 | 3 หน่วยกิต |
XX xxxx | วิชาเลือก 2 | 3 หน่วยกิต |
XX xxxx | วิชาเลือก 3 | 3 หน่วยกิต |
XX xxxx | วิชาเลือก 4 | 3 หน่วยกิต |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
ศม 9000 | การค้นคว้าอิสระ | 3 หน่วยกิต |
รายวิชา
ก. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา
ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ
ภส 4011 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
ภส 4012 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ
หมายเหตุ :
- หน่วยกิตที่ได้จากการศึกษาวิชาในหมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยกิต ตามข้อกำหนดการศึกษา
- การยกเว้นไม่ต้องเรียนวิชาในหมวดวิชาเสริมพื้นฐานกระทำได้ ตามข้อกำหนดที่ระบุไว้เกี่ยวกับวิชานั้น ๆ หรือให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน
ข. หมวดวิชาพื้นฐาน 12 หน่วยกิต
ศม 5100 คณิตศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์
ศม 5200 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
ศม 5300 จุลเศรษฐศาสตร์ขั้นกลาง
ศม 5400 มหเศรษฐศาสตร์ขั้นกลาง
ค. หมวดวิชาหลัก 9 หน่วยกิต
ศม 6100 ทฤษฎีจุลเศรษฐศาสตร์
ศม 6200 ทฤษฎีมหเศรษฐศาสตร์
ศม 6300 เศรษฐมิติ
ง. หมวดวิชาเลือก
กำหนดให้นักศึกษาแผน 1 เลือกวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต และแผน 2 เลือกวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
ศม 7100 การวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจ
ศม 7200 ปฏิบัติการทางเศรษฐมิติ
ศม 7300 เศรษฐศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน
ศม 7400 นโยบายเศรษฐกิจ
ศธ 7005 การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ
ศธ 7006 ธุรกิจเพื่อความยั่งยืนและการกำหนดนโยบาย
หมายเหตุ :
1. นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาวิชาในหมวดวิชาเลือก หรือวิชาในหลักสูตรอื่นของสถาบันหรือวิชาของสถาบันอื่นเป็นวิชาเลือก เพื่อให้หน่วยกิตครบถ้วนตามข้อกำหนดของหลักสูตรได้
2. กรณีเลือกวิชาในหลักสูตรอื่นของสถาบันหรือวิชาของสถาบันอื่น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้แนะนำและได้รับอนุมัติจากคณบดี
3. การจัดการเรียนการสอนในหมวดวิชาเลือกให้เป็นไปตามที่คณะกำหนด
จ. วิชาการศึกษาตามแนวแนะ
ศม 8001 การศึกษาตามแนวแนะ 1
ศม 8002 การศึกษาตามแนวแนะ 2
ศม 8003 การศึกษาตามแนวแนะ 3
ฉ. วิชาการค้นคว้าอิสระ (สำหรับแผน 2)
ศม 9000 การค้นคว้าอิสระ
ช. วิทยานิพนธ์ (สำหรับแผน 1)
ศม 9004 วิทยานิพนธ์
คำอธิบายรายวิชา
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
กรณีนักศึกษาเรียนภาคปกติ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) องค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันอนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา
- เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงอย่างอื่นซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา โดยมีใบรับรองจากแพทย์ปริญญาที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์
- เป็นผู้มีความประพฤติดี
- ผ่านการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีที่สถาบันกำหนด
หมายเหตุ : คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
ภาคปกติ : ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ 99,000 บาท
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม