หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) เรียนออนไลน์

ภาพรวมหลักสูตร

หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจมุ่งเน้นสร้างความเข้าใจทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์และวิธีการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งการประยุกต์ใช้เครื่องมือวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อองค์กรธุรกิจเอกชน องค์กรภาครัฐ และองค์กรสาธารณประโยชน์

  • สอนผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยโปรแกรม Microsoft Teams (พร้อมอัดวิดีโอเพื่อทบทวน)
  • สอนโดยอาจารย์ระดับ PhD 100%
  • เรียนแบบ Block Course
  • ทำ Business Consulting
  • เสริมประสบการณ์โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรง
  • จบสาขาไหนก็เรียนได้

“ใช้เศรษฐศาสตร์เป็นแนวคิด ทำธุรกิจแบบมืออาชีพ”

ภาคพิเศษ
เรียนในวันวันเสาร์ – วันอาทิตย์  เวลา 09.00 – 16.00 น.

ปรัชญา

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นในการสร้างความเข้าใจในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์และวิธีการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งเครื่องมือวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อประยุกต์ใช้ในองค์กรธุรกิจเอกชน องค์กรภาครัฐ และองค์กรสาธารณประโยชน์

มหาบัณฑิตทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คือ ผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจในการทำงานของระบบเศรษฐกิจภาคธุรกิจ และบทบาทของรัฐบาลที่มีผลต่อการประกอบธุรกิจ  มีทักษะทางวิชาการเศรษฐศาสตร์ และการประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจ การวิจัย หรือการแก้ปัญหาและให้คำปรึกษาทางธุรกิจ และมีศักยภาพในการเพิ่มพูนความรู้ไปตามพลวัตของการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจโลก และมีจริยธรรมในทางวิชาการและการประกอบอาชีพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในองค์กรธุรกิจเอกชนองค์กรภาครัฐและองค์กรสาธารณประโยชน์
  2. เพื่อสร้างศักยภาพของมหาบัณฑิตในการพัฒนาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์และการประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจ
  3. เพื่อปลูกฝังจริยธรรมในการประกอบอาชีพแก่มหาบัณฑิต
  4. เพิ่มทักษะในการปฏิบัติงานของมหาบัณฑิต

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes : PLOs) ของหลักสูตรมี 7 ประการ

PLO1: ประยุกต์ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ เศรษฐมิติ รวมถึงเทคนิคเชิงปริมาณ และทักษะการสร้างแบบจำลอง เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจ หน่วยงานรัฐ และสังคม

PLO2: สร้างแบบจำลอง วิเคราะห์และแปลผลข้อมูล เพื่อการแก้ปัญหา โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และวิจัยที่ทันสมัย

PLO3: รู้จักตั้งคำถาม ค้นคว้าและหาคำตอบ ตามกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต หาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้และเทคโนโลยี

PLO4: บูรณาการหลักคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในบริบทขององค์กรและสังคม

PLO5: สื่อสารและนำเสนออย่างมีประสิทธิผล ทั้งด้านการเขียน และการพูด

PLO6: มีภาวะผู้นำทางความคิดและความรับผิดรับชอบ รวมถึงการทำงานเป็นทีมทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกของกลุ่ม

PLO7: ตระหนักถึงหลักจรรยาบรรณของการประกอบวิชาชีพ มีจิตสำนึกต่อเพื่อนมนุษย์ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

วิธีการเรียนรู้

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)
Master of Economics (ฺBusiness Economics)
ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)
M.Econ. (Business Economics)

โครงสร้างหลักสูตรและแผนการเรียนรู้

หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (Master of Economics Program in Business Economics)

หมวดวิชาโครงสร้างหลักสูตรแผน ข.
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐานไม่นับหน่วยกิต
2. หมวดวิชาพื้นฐาน6 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาหลัก15 หน่วยกิต
4. หมวดวิชาเลือก12 หน่วยกิต
5. วิชาการค้นคว้าอิสระ3 หน่วยกิต
6. วิทยานิพนธ์
7. สอบประมวลความรู้สอบประมวลความรู้
รวม36 หน่วยกิต

แผนการศึกษาแผน ข. (ไม่ทำวิทยานิพนธ์)

ปีที่ 1  ภาคการศึกษาที่ 1

ศธ 4000คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
ศธ 6001จุลเศรษฐศาสตร์และการตัดสินใจทางธุรกิจ3 หน่วยกิต
ศธ 6002มหเศรษฐศาสตร์และการวิเคราะห์เศรษฐกิจ3 หน่วยกิต
ศธ 6003พื้นฐานบัญชีและการจัดการทางการเงิน3 หน่วยกิต

ปีที่ 1  ภาคการศึกษาที่ 2

ศธ 5000เศรษฐมิติประยุกต์และการพยากรณ์ธุรกิจ3 หน่วยกิต

ปีที่ 1  ภาคการศึกษาที่ 3

ศธ 5002สัมมนาปฏิบัติการการให้คำปรึกษาทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ3 หน่วยกิต
ศธ 6004เศรษฐศาสตร์เพื่อการผลิตและการตลาด3 หน่วยกิต
ศธ 7003ธุรกิจระหว่างประเทศ3 หน่วยกิต
ศธ 7005การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ3 หน่วยกิต

ปีที่ 2  ภาคการศึกษาที่ 1

ศธ 6005เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจ3 หน่วยกิต
ศธ 7001การวิเคราะห์ความคุ้มค่าการลงทุน3 หน่วยกิต
ศธ 7004เทคโนโลยีดิจิทัลในธุรกิจและเศรษฐกิจ3 หน่วยกิต
ศธ 9000การค้นคว้าอิสระ3 หน่วยกิต

รายวิชา

ก. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
ศธ 4000 คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
หมายเหตุ :

  1. หน่วยกิตที่ได้จากการศึกษาวิชาในหมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยกิต ตามข้อกำหนดการศึกษาในข้อ 3.1.1. การยกเว้นไม่ต้องเรียนวิชาในหมวดวิชาเสริมพื้นฐาน กระทำได้ตามข้อกำหนดที่ระบุไว้เกี่ยวกับวิชานั้น ๆ หรือให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน

ข. หมวดวิชาพื้นฐาน 6 หน่วยกิต
สำหรับนักศึกษา แผน ก.(2)
ศธ 5000 เศรษฐมิติประยุกต์และการพยากรณ์ธุรกิจ
ศธ 5002 สัมมนาปฏิบัติการการให้คำปรึกษาทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

ค. หมวดวิชาหลัก 15 หน่วยกิต
ศธ 6001 จุลเศรษฐศาสตร์และการตัดสินใจทางธุรกิจ
ศธ 6002 มหเศรษฐศาสตร์และการวิเคราะห์เศรษฐกิจ
ศธ 6003 พื้นฐานบัญชีและการจัดการทางการเงิน
ศธ 6004 เศรษฐศาสตร์เพื่อการผลิตและการตลาด
ศธ 6005 เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจ

ง. หมวดวิชาเลือก
ศธ 7001 การวิเคราะห์ความคุ้มค่าการลงทุน
ศธ 7003 ธุรกิจระหว่างประเทศ
ศธ 7004 เทคโนโลยีดิจิทัลในธุรกิจและเศรษฐกิจ
ศธ 7005 การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ

จ. วิชาการค้นคว้าอิสระ (สำหรับแผน ข.)
ศธ 9000 การค้นคว้าอิสระ

คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

กรณีนักศึกษาเรียนภาคพิเศษ

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) องค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันอนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา
  2. เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงอย่างอื่นซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา โดยมีใบรับรองจากแพทย์ปริญญาที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์
  3. เป็นผู้มีความประพฤติดี
  4. มีประสบการณ์การทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 1 ปี คัดเลือกโดยการสอบสัมภาษณ์และพิจารณาจากผลการศึกษาที่ผ่านมา
  5. ผ่านการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีที่สถาบันกำหนด
หมายเหตุ : คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

ภาคพิเศษ             : ประมาณ 165,000 บาท

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

FAQ หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจออนไลน์

      • ตามแผนการเรียนของภาคพิเศษ ระยะเวลาการศึกษาประมาณ 1 ปี 8 เดือน
      • เริ่มนับประสบการณ์การทำงานหลังจากวันสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีจนถึงวันเปิดภาคเรียน

      • ภาคพิเศษ เรียนเฉพาะวันเสาร์ – อาทิตย์  สัปดาห์ละ 9-12 ชั่วโมง
      • เข้าศึกษาภาค 2 ของทุกปี (เริ่มเรียนเดือนมกราคม)

      • เปิดรับสมัคร ประมาณกลางเดือนมิถุนายน - เดือนพฤศจิกายน

ประชาสัมพันธ์