หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)

ภาพรวมหลักสูตร

หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจมุ่งเน้นสร้างความเข้าใจทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์และวิธีการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งการประยุกต์ใช้เครื่องมือวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อองค์กรธุรกิจเอกชน องค์กรภาครัฐ และองค์กรสาธารณประโยชน์

  • เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ
  • สอนโดยอาจารย์ระดับ PhD 100%
  • เลือกได้ระหว่าง Research หรือ Business Consulting
  • เสริมประสบการณ์โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรง
  • จบสาขาไหนก็เรียนได้

“ใช้เศรษฐศาสตร์เป็นแนวคิด ทำธุรกิจแบบมืออาชีพ”

ภาคปกติ
เรียนในวันและเวลาราชการ เวลา 09.00 – 16.00 น.

ภาคพิเศษ
เรียนในวันวันเสาร์ – วันอาทิตย์  เวลา 09.00 – 16.00 น.

ปรัชญา

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นในการสร้างความเข้าใจในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์และวิธีการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งเครื่องมือวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อประยุกต์ใช้ในองค์กรธุรกิจเอกชน องค์กรภาครัฐ และองค์กรสาธารณประโยชน์

มหาบัณฑิตทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คือ ผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจในการทำงานของระบบเศรษฐกิจภาคธุรกิจ และบทบาทของรัฐบาลที่มีผลต่อการประกอบธุรกิจ  มีทักษะทางวิชาการเศรษฐศาสตร์ และการประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจ การวิจัย หรือการแก้ปัญหาและให้คำปรึกษาทางธุรกิจ และมีศักยภาพในการเพิ่มพูนความรู้ไปตามพลวัตของการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจโลก และมีจริยธรรมในทางวิชาการและการประกอบอาชีพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในองค์กรธุรกิจเอกชนองค์กรภาครัฐและองค์กรสาธารณประโยชน์
  2. เพื่อสร้างศักยภาพของมหาบัณฑิตในการพัฒนาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์และการประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจ
  3. เพื่อปลูกฝังจริยธรรมในการประกอบอาชีพแก่มหาบัณฑิต
  4. เพิ่มทักษะในการปฏิบัติงานของมหาบัณฑิต

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes : PLOs) ของหลักสูตรมี 7 ประการ

PLO1: ประยุกต์ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ เศรษฐมิติ รวมถึงเทคนิคเชิงปริมาณ และทักษะการสร้างแบบจำลอง เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจ หน่วยงานรัฐ และสังคม

PLO2: สร้างแบบจำลอง วิเคราะห์และแปลผลข้อมูล เพื่อการแก้ปัญหา โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และวิจัยที่ทันสมัย

PLO3: รู้จักตั้งคำถาม ค้นคว้าและหาคำตอบ ตามกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต หาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้และเทคโนโลยี

PLO4: บูรณาการหลักคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในบริบทขององค์กรและสังคม

PLO5: สื่อสารและนำเสนออย่างมีประสิทธิผล ทั้งด้านการเขียน และการพูด

PLO6: มีภาวะผู้นำทางความคิดและความรับผิดรับชอบ รวมถึงการทำงานเป็นทีมทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกของกลุ่ม

PLO7: ตระหนักถึงหลักจรรยาบรรณของการประกอบวิชาชีพ มีจิตสำนึกต่อเพื่อนมนุษย์ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

วิธีการเรียนรู้

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)
Master of Economics (ฺBusiness Economics)
ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)
M.Econ. (Business Economics)

โครงสร้างหลักสูตรและแผนการเรียนรู้

หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (Master of Economics Program in Business Economics)

หมวดวิชาโครงสร้างหลักสูตรแผน ก.(2)
(ทำวิทยานิพนธ์)
โครงสร้างหลักสูตรแผน ข.
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐานไม่นับหน่วยกิตไม่นับหน่วยกิต
2. หมวดวิชาพื้นฐาน6 หน่วยกิต6 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาหลัก15 หน่วยกิต15 หน่วยกิต
4. หมวดวิชาเลือก3 หน่วยกิต12 หน่วยกิต
5. วิชาการค้นคว้าอิสระ3 หน่วยกิต
6. วิทยานิพนธ์12 หน่วยกิต
7. สอบประมวลความรู้สอบประมวลความรู้สอบประมวลความรู้
รวม36 หน่วยกิต36 หน่วยกิต

แผนการศึกษาแผน ก.(2) (ทำวิทยานิพนธ์)

ปีที่ 1  ภาคการศึกษาที่ 1

สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
ภส 4001การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
ศธ 4000คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
ศธ 6001จุลเศรษฐศาสตร์และการตัดสินใจทางธุรกิจ3 หน่วยกิต
ศธ 6003พื้นฐานบัญชีและการจัดการทางการเงิน3 หน่วยกิต

ปีที่ 1  ภาคการศึกษาที่ 2

ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
ศธ 6002มหเศรษฐศาสตร์และการวิเคราะห์เศรษฐกิจ3 หน่วยกิต
ศธ 6004เศรษฐศาสตร์เพื่อการผลิตและการตลาด3 หน่วยกิต
XX   xxxxวิฃาเลือก3 หน่วยกิต

ปีที่ 1  ภาคการศึกษาที่ 3

ศธ 5000เศรษฐมิติประยุกต์และการพยากรณ์ธุรกิจ3 หน่วยกิต

ปีที่ 2  ภาคการศึกษาที่ 1

ศธ 5001สัมมนาปฏิบัติการการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ3 หน่วยกิต
ศธ 6005เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจ3 หน่วยกิต
ศธ 9004วิทยานิพนธ์3 หน่วยกิต

ปีที่ 2  ภาคการศึกษาที่ 2

ศธ 9004วิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิต
หมายเหตุ : แผนการศึกษาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

แผนการศึกษาแผน ข. (ไม่ทำวิทยานิพนธ์)

ปีที่ 1  ภาคการศึกษาที่ 1

สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
ภส 4001การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
ศธ 4000คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
ศธ 6001จุลเศรษฐศาสตร์และการตัดสินใจทางธุรกิจ3 หน่วยกิต
ศธ 6003พื้นฐานบัญชีและการจัดการทางการเงิน3 หน่วยกิต

ปีที่ 1  ภาคการศึกษาที่ 2

ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
ศธ 6002มหเศรษฐศาสตร์และการวิเคราะห์เศรษฐกิจ3 หน่วยกิต
ศธ 6004เศรษฐศาสตร์เพื่อการผลิตและการตลาด3 หน่วยกิต
XX  xxxxวิชาเลือก3 หน่วยกิต
XX  xxxxวิชาเลือก3 หน่วยกิต

ปีที่ 1  ภาคการศึกษาที่ 3

ศธ 5000เศรษฐมิติประยุกต์และการพยากรณ์ธุรกิจ3 หน่วยกิต

ปีที่ 2  ภาคการศึกษาที่ 1

ศธ 5001สัมมนาปฏิบัติการการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ*3 หน่วยกิต
ศธ 5002สัมมนาปฏิบัติการการให้คำปรึกษาทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ*3 หน่วยกิต
ศธ 6005เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจ3 หน่วยกิต
XX xxxxวิชาเลือก3 หน่วยกิต
XX xxxxวิชาเลือก3 หน่วยกิต

หมายเหตุ : นักศึกษาเลือกเรียนวิชา ศธ 5001 สัมมนาปฏิบัติการการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ หรือ วิชา ศธ 5002 สัมมนาปฏิบัติการการให้คำปรึกษาทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ เพียง 1 วิชาตามความสนใจ

ปีที่ 2  ภาคการศึกษาที่ 2

ศธ 9000การค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
หมายเหตุ : แผนการศึกษาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

รายวิชา

ก. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
สพ 4000 พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา
ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ
ภส 4011 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา
ภส 4012 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ
ศธ 4000 คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
หมายเหตุ :

  1. หน่วยกิตที่ได้จากการศึกษาวิชาในหมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยกิต ตามข้อกำหนดการศึกษาในข้อ 3.1.1. การยกเว้นไม่ต้องเรียนวิชาในหมวดวิชาเสริมพื้นฐาน กระทำได้ตามข้อกำหนดที่ระบุไว้เกี่ยวกับวิชานั้น ๆ หรือให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน
  2. การยกเว้นการเรียนวิชา ภส 4001, ภส 4002, ภส 4011, ภส 4012 ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่หลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษากำหนด
  3. การยกเว้นการเรียนวิชา สพ 4000 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด

ข. หมวดวิชาพื้นฐาน 6 หน่วยกิต
สำหรับนักศึกษา แผน ก.(2)
ศธ 5000 เศรษฐมิติประยุกต์และการพยากรณ์ธุรกิจ
ศธ 5001 สัมมนาปฏิบัติการการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

สำหรับนักศึกษา แผน ข.
ศธ 5000 เศรษฐมิติประยุกต์และการพยากรณ์ธุรกิจ
ศธ 5001 สัมมนาปฏิบัติการการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
ศธ 5002 สัมมนาปฏิบัติการการให้คำปรึกษาทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
หมายเหตุ: นักศึกษาเลือกเรียนวิชา ศธ 5001 สัมมนาปฏิบัติการการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ หรือ วิชา ศธ 5002 สัมมนาปฏิบัติการการให้คำปรึกษาทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ เพียง 1 วิชาตามความสนใจ

ค. หมวดวิชาหลัก 15 หน่วยกิต
ศธ 6001 จุลเศรษฐศาสตร์และการตัดสินใจทางธุรกิจ
ศธ 6002 มหเศรษฐศาสตร์และการวิเคราะห์เศรษฐกิจ
ศธ 6003 พื้นฐานบัญชีและการจัดการทางการเงิน
ศธ 6004 เศรษฐศาสตร์เพื่อการผลิตและการตลาด
ศธ 6005 เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยกลยุทธ์ทางธุรกิจ

ง. หมวดวิชาเลือก
ศธ 7001 การวิเคราะห์ความคุ้มค่าการลงทุน
ศธ 7002 การวางแผนและจัดการโครงการ
ศธ 7003 ธุรกิจระหว่างประเทศ
ศธ 7004 เทคโนโลยีดิจิทัลในธุรกิจและเศรษฐกิจ
ศธ 7005 การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ
ศธ 7006 ธุรกิจเพื่อความยั่งยืนและการกำหนดนโยบาย
หมายเหตุ:

  1. นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาวิชาในหมวดวิชาเลือก หรือวิชาในหลักสูตรอื่นของสถาบันหรือวิชาของสถาบันอื่น เป็นวิชาเลือก เพื่อให้หน่วยกิตครบถ้วนตามข้อกำหนดของหลักสูตรได้
  2. กรณีเลือกวิชาในหลักสูตรอื่นของสถาบันหรือวิชาของสถาบันอื่น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้แนะนำและได้รับอนุมัติจากคณบดี
  3. การจัดการเรียนการสอนในหมวดวิชาเลือกให้เป็นไปตามที่คณะกำหนด

จ. วิชาการศึกษาตามแนวแนะ
ศธ 8801 การศึกษาตามแนวแนะ 1
ศธ 8802 การศึกษาตามแนวแนะ 2
ศธ 8803 การศึกษาตามแนวแนะ 3
ศธ 8806 การศึกษาตามแนวแนะ 6

ฉ. วิชาการค้นคว้าอิสระ (สำหรับแผน ข.)
ศธ 9000 การค้นคว้าอิสระ

ช. วิทยานิพนธ์ (สำหรับแผน ก.(2))
ศธ 9004 วิทยานิพนธ์

คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

กรณีนักศึกษาเรียนภาคปกติ

  1.  เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) องค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันอนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา
  2. เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงอย่างอื่นซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา โดยมีใบรับรองจากแพทย์ปริญญาที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์
  3. เป็นผู้มีความประพฤติดี
  4. ผ่านการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีที่สถาบันกำหนด

กรณีนักศึกษาเรียนภาคพิเศษ

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) องค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันอนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา
  2. เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงอย่างอื่นซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา โดยมีใบรับรองจากแพทย์ปริญญาที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์
  3. เป็นผู้มีความประพฤติดี
  4. มีประสบการณ์การทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 1 ปี คัดเลือกโดยการสอบสัมภาษณ์และพิจารณาจากผลการศึกษาที่ผ่านมา
  5. ผ่านการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีที่สถาบันกำหนด
หมายเหตุ : คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

ภาคปกติ               : ประมาณ 99,000 บาท
ภาคพิเศษ             : ประมาณ 210,000 บาท

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

FAQ หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

      1. ค่าใช้จ่ายภาคปกติ ตลอดหลักสูตรประมาณ 99,000 บาท

      2. ค่าใช้จ่ายภาคพิเศษ ตลอดหลักสูตรประมาณ 210,000 บาท (รวมค่าเอกสารประกอบการสอน)

      • ตามแผนการเรียนของภาคปกติ ระยะเวลาการศึกษาประมาณ 2 ปี

      • ตามแผนการเรียนของภาคพิเศษ ระยะเวลาการศึกษาประมาณ 1 ปีครึ่ง – 2 ปี

      • เริ่มนับประสบการณ์การทำงานหลังจากวันสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีจนถึงวันเปิดภาคเรียน

      • เริ่มนับประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ก่อนจบปริญญาตรีจนถึงวันเปิดภาคเรียน และต้องสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี

      • สมัครเข้ากรณีปกติ นักศึกษาต้องสมัครสอบข้อเขียน และนำคะแนนข้อเขียนที่ผ่านเกณฑ์ มายื่นในการสมัครสอบสัมภาษณ์

      • สมัครเข้ากรณีทุนส่งเสริมการศึกษาประเภท 1 และประเภท 2 นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยระดับปริญญาตรี ตั้งแต่ 2.75 ขึ้นไป สามารถยื่นสมัครสอบสัมภาษณ์ได้ โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน

      • ภาคปกติ สอบข้อเขียน(ข้อสอบแบบปรนัย) ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

      • ภาคพิเศษ สอบข้อเขียน(ข้อสอบแบบปรนัย) ของคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ ประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ และความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์

      • ภาคปกติ สัปดาห์ละ 12 ชม. ขึ้นอยู่กับตารางเรียน อาจอยู่ระหว่าง 2 – 4 วัน

      • ภาคพิเศษ วันธรรมดาเย็น สัปดาห์ละ 9 ชม. ช่วงเวลา 18.00 – 21.00 น.

      • ภาคพิเศษวันเสาร์ – อาทิตย์  สัปดาห์ละ 9 ชม. เรียนเฉพาะวันเสาร์ – อาทิตย์

      • เข้าศึกษาภาค 1 ของทุกปี (ส.ค. – ธ.ค.) เปิดรับสมัครภาคปกติ /ภาคพิเศษวันธรรมดาเย็น / ภาคพิเศษวันเสาร์-อาทิตย์

                ภาคปกติ ประมาณเดือนตุลาคม – เดือนมีนาคม

                ภาคพิเศษ ประมาณเดือนพฤศจิกายน – กลางเดือนมิถุนายน

      • เข้าศึกษาภาค 2 ของทุกปี (ม.ค. – พ.ค.) เปิดรับสมัครภาคปกติ /ภาคพิเศษวันเสาร์-อาทิตย์

                ภาคปกติ ประมาณเดือนมีนาคม – เดือนกันยายน

                  ภาคพิเศษ ประมาณกลางเดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม

      • ทุนการศึกษามีให้เฉพาะภาคปกติ

      • ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภท 1 ผู้รับทุนจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมด ตลอดหลักสูตร รวมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้แก่ผู้รับทุนเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งในแต่ละภาคผู้รับทุนจะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.30 และต้องศึกษาใน แผน ก (ทำวิทยานิพนธ์)

      • ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภท 2 ผู้รับทุนจะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ซึ่งในแต่ละภาคผู้รับทุนจะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.30

      • ทุนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (MOU) ประเภทที่ 1 ผู้รับทุนจะต้องเป็นนักศึกษาต่างชาติที่มีความสัมพันธ์หรือมีข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับทางสถาบัน จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมดตลอดหลักสูตร รวมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้แก่ผู้รับทุนเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งในแต่ละภาคผู้รับทุนจะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.00 และต้องศึกษาใน แผน ก (ทำวิทยานิพนธ์)

      • ทุนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (MOU) ประเภทที่ 2 ผู้รับทุนจะต้องเป็นนักศึกษาต่างชาติที่มีความสัมพันธ์หรือมีข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับทางสถาบัน จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร ซึ่งในแต่ละภาคผู้รับทุนจะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.00

      • ทุนค่าธรรมเนียมการศึกษา ผู้รับทุนจะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตในภาคการศึกษาที่ขอทุน ซึ่งนักศึกษาจะต้องมีความจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน และหากมิใช้เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนภาคแรกจะต้องได้แต้มเฉลี่ยสะสมของภาคก่อนไม่น้อยกว่า 3.00

ประชาสัมพันธ์