1. ค่าใช้จ่ายภาคปกติ ตลอดหลักสูตรประมาณ 99,000 บาท

      2. ค่าใช้จ่ายภาคพิเศษ ตลอดหลักสูตรประมาณ 210,000 บาท (รวมค่าเอกสารประกอบการสอน)

      • ตามแผนการเรียนของภาคปกติ ระยะเวลาการศึกษาประมาณ 2 ปี

      • ตามแผนการเรียนของภาคพิเศษ ระยะเวลาการศึกษาประมาณ 1 ปีครึ่ง – 2 ปี

      • เริ่มนับประสบการณ์การทำงานหลังจากวันสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีจนถึงวันเปิดภาคเรียน

      • เริ่มนับประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ก่อนจบปริญญาตรีจนถึงวันเปิดภาคเรียน และต้องสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี

      • สมัครเข้ากรณีปกติ นักศึกษาต้องสมัครสอบข้อเขียน และนำคะแนนข้อเขียนที่ผ่านเกณฑ์ มายื่นในการสมัครสอบสัมภาษณ์

      • สมัครเข้ากรณีทุนส่งเสริมการศึกษาประเภท 1 และประเภท 2 นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยระดับปริญญาตรี ตั้งแต่ 2.75 ขึ้นไป สามารถยื่นสมัครสอบสัมภาษณ์ได้ โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน

      • ภาคปกติ สอบข้อเขียน(ข้อสอบแบบปรนัย) ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

      • ภาคพิเศษ สอบข้อเขียน(ข้อสอบแบบปรนัย) ของคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ ประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ และความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์

      • ภาคปกติ สัปดาห์ละ 12 ชม. ขึ้นอยู่กับตารางเรียน อาจอยู่ระหว่าง 2 – 4 วัน

      • ภาคพิเศษ วันธรรมดาเย็น สัปดาห์ละ 9 ชม. ช่วงเวลา 18.00 – 21.00 น.

      • ภาคพิเศษวันเสาร์ – อาทิตย์  สัปดาห์ละ 9 ชม. เรียนเฉพาะวันเสาร์ – อาทิตย์

      • เข้าศึกษาภาค 1 ของทุกปี (ส.ค. – ธ.ค.) เปิดรับสมัครภาคปกติ /ภาคพิเศษวันธรรมดาเย็น / ภาคพิเศษวันเสาร์-อาทิตย์

                ภาคปกติ ประมาณเดือนตุลาคม – เดือนมีนาคม

                ภาคพิเศษ ประมาณเดือนพฤศจิกายน – กลางเดือนมิถุนายน

      • เข้าศึกษาภาค 2 ของทุกปี (ม.ค. – พ.ค.) เปิดรับสมัครภาคปกติ /ภาคพิเศษวันเสาร์-อาทิตย์

                ภาคปกติ ประมาณเดือนมีนาคม – เดือนกันยายน

                  ภาคพิเศษ ประมาณกลางเดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม

      • ทุนการศึกษามีให้เฉพาะภาคปกติ

      • ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภท 1 ผู้รับทุนจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมด ตลอดหลักสูตร รวมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้แก่ผู้รับทุนเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งในแต่ละภาคผู้รับทุนจะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.30 และต้องศึกษาใน แผน ก (ทำวิทยานิพนธ์)

      • ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภท 2 ผู้รับทุนจะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ซึ่งในแต่ละภาคผู้รับทุนจะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.30

      • ทุนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (MOU) ประเภทที่ 1 ผู้รับทุนจะต้องเป็นนักศึกษาต่างชาติที่มีความสัมพันธ์หรือมีข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับทางสถาบัน จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมดตลอดหลักสูตร รวมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้แก่ผู้รับทุนเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งในแต่ละภาคผู้รับทุนจะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.00 และต้องศึกษาใน แผน ก (ทำวิทยานิพนธ์)

      • ทุนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (MOU) ประเภทที่ 2 ผู้รับทุนจะต้องเป็นนักศึกษาต่างชาติที่มีความสัมพันธ์หรือมีข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับทางสถาบัน จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร ซึ่งในแต่ละภาคผู้รับทุนจะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.00

      • ทุนค่าธรรมเนียมการศึกษา ผู้รับทุนจะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตในภาคการศึกษาที่ขอทุน ซึ่งนักศึกษาจะต้องมีความจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน และหากมิใช้เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนภาคแรกจะต้องได้แต้มเฉลี่ยสะสมของภาคก่อนไม่น้อยกว่า 3.00

ภาคปกติ แบ่งเป็น 2 กรณี

  • กรณีทุนส่งเสริมการศึกษา

กรณีทุนการศึกษา ประเภทที่ 1 : ยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมดตลอดหลักสูตร รวมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้แก่ผู้รับทุน ภาคการศึกษาละ 30,000 บาท และภาคฤดูร้อน ภาคละ 15,000 บาท ผู้รับทุนจะต้องมีผลการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 3.00 และต้องศึกษาในแผน 1 (ทำวิทยานิพนธ์) ซึ่งขณะกำลังศึกษาต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคไม่ต่ำกว่า 3.50

กรณีทุนการศึกษา ประเภทที่ 2 : ยกเว้นค่าหน่วยกิตให้แก่ผู้รับทุนตลอดหลักสูตร ผู้รับทุนจะต้องมีผลการศึกษาในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.75 และขณะกำลังศึกษาต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคไม่ต่ำกว่า 3.30

  • กรณีสอบสัมภาษณ์

ผู้สมัครมีผลการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.00 และดำเนินการคัดเลือกโดยการสอบสัมภาษณ์

ภาคพิเศษ แบ่งเป็น 2 กรณี

  • กรณีสอบข้อเขียน ผู้สมัครจะต้องสอบข้อเขียนในวิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาเศรษฐศาสตร์ และวิชาการเงิน โดยได้คะแนนจากทุกวิชารวมกันไม่ต่ำกว่า 50% จึงจะผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน (ภาคพิเศษ)

  • กรณีสอบสัมภาษณ์ จะพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครจากคุณสมบัติพื้นฐานต่างๆ เช่น สาขาวิชาที่ศึกษา ผลการศึกษาระดับปริญญาตรี บุคลิกภาพ ทัศนคติ ประสบการณ์ในการทำงาน หน้าที่และงานในความรับผิดชอบ โอกาสในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ความพร้อมในการศึกษาของผู้สมัคร เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้สมัครจะต้องได้รับการทดสอบทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ โดยการสรุปความเข้าใจจากบทความภาษาอังกฤษที่ได้อ่านให้กับคณะกรรมการ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาในการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน (ภาคพิเศษ) ด้วย

ภาคพิเศษ สอบข้อเขียน (ข้อสอบแบบปรนัย) ของคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ ประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาเศรษฐศาสตร์ และวิชาการเงิน

กรณีสอบสัมภาษณ์ ผู้สมัครต้องมีประสบการณ์การทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันเปิดภาคการศึกษาแรก โดยมีประสบการณ์การทำงานในสายงานด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน บัญชี การตลาด พัฒนาธุรกิจ หรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทางการเงิน

- ตามแผนการเรียนของภาคปกติ ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี

- ตามแผนการเรียนของภาคพิเศษ ระยะเวลาการศึกษาประมาณ 1 ปี 8 เดือน

- ภาคปกติ เข้าศึกษาภาคการศึกษาที่ 2 ของทุกปี (ม.ค.-พ.ค.) ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม

- ภาคพิเศษ เข้าศึกษาภาคการศึกษาที่ 1 ของทุกปี (ส.ค.-ธ.ค.) ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม ภาคฤดูร้อน เดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม

-ภาคปกติ สัปดาห์ละ 12 ชม. ขึ้นอยู่กับตารางเรียน อาจอยู่ระหว่าง 2 – 4 วัน

-ภาคพิเศษ วันเสาร์ – อาทิตย์ สัปดาห์ละ 9 - 12 ชม. เรียนเฉพาะวันเสาร์ – อาทิตย์

- ค่าใช้จ่ายภาคปกติ ตลอดหลักสูตรประมาณ 99,000 บาท

- ค่าใช้จ่ายภาคพิเศษ ตลอดหลักสูตรประมาณ 250,000 บาท (รวมค่ากิจกรรมพิเศษและเอกสารประกอบการสอน)

ทุนการศึกษาภาคปกติ

• ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภท 1 ผู้รับทุนจะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.50 จึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัว ภาคการศึกษาปกติ ภาคละ 30,000 บาท และภาคฤดูร้อน ภาคละ 15,000 บาท

• ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภท 2 ผู้รับทุนจะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.30 จึงจะมีสิทธิ์ได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

• ทุนค่าธรรมเนียมการศึกษา ผู้รับทุนจะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตในภาคการศึกษาที่ขอทุน ซึ่งนักศึกษาจะต้องมีความจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน และหากมิใช่เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนภาคแรกจะต้องได้แต้มเฉลี่ยสะสมของภาคก่อนไม่น้อยกว่า 3.00

ทุนการศึกษาภาคพิเศษ

• ทุนส่งเสริมการศึกษา ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ผู้ได้รับทุนจะได้รับการสนับสนุนค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมกิจกรรมพิเศษทั้งหมดตลอดหลักสูตร ซึ่งผู้รับทุนจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.30

หลักสูตรเศรษฐศาสตร์และการบริหาร ภาคพิเศษ ตลอดหลักสูตรประมาณ 300,000 บาท (รวมค่าธรรมเนียมสถาบัน และค่ากิจกรรมพิเศษ จำนวน 20,000 บาท ) แบ่งจ่ายเป็นภาคการศึกษา

การสอบเข้าหลักสูตรเศรษฐศาสตร์และการบริหาร ต้องสอบข้อเขียน และทดสอบประสบการณ์ โดยข้อเขียน เป็นข้อสอบอัตนัย มี 3 ข้อ ให้เลือกวิเคราะห์ 1 ข้อ เป็นเรื่องทั่วไปถามทัศนคติ ความคิดเห็น ส่วนทดสอบประสบการณ์ เป็นการสัมภาษณ์เรื่องการศึกษา การทำงาน จุดมุ่งหมายของการศึกษา เป็นต้น

หลักสูตรภาคพิเศษ ระยะเวลาศึกษาประมาณ 2 ปี เรียนเป็นแบบ Block Course (เรียนทีละวิชา) เรียนวันเสาร์เวลา 9.00 – 16.00 น. และวันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 12.00 น.

- เป็นคลาสเล็ก อบอุ่นไม่เกิน 20 คน/คลาส

- มีผู้อำนวยการหลักสูตรและเจ้าหน้าที่หลักสูตรคอยดูแลด้านการเรียน

เพื่อนร่วมห้องหลากหลายอายุประมาณ 27 – 45 ปี มีทั้งหมอ เภสัชกร วิศวกร สถาปนิก พนักงานธนาคาร พนักงานบริษัทเอกชน ข้าราชการ และเจ้าของธุรกิจ