รองศาสตราจารย์ ดร.ณดา จันทร์สม
ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ
คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
10 กว่าปีที่ผ่านมา มีกรณียักยอกเงินวัดจนกลายเป็นคดีดังอยู่หลายคดี เกิดเป็นวิกฤติความศรัทธา มีผลกระทบกับจิตใจคนไทยจ่านวนมาก รวมถึงกรณีล่าสุดที่เกิดขึ้นกับอดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง คำถามก็คือ เราจะช่วยกันสร้างระบบให้วัดมีการบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาลได้อย่างไร เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
วันที่ 24 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา มูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล ร่วมกับ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อันทปัญโญ (สวมโมกข์กรุงเทพ) และ กองทุนธรรมาภิบาลไทย จัดเสวนาเรื่อง “ระบบธรรมาภิบาลวัด : จะสร้างได้อย่างไร?” ณ ห้องนิพพานชิมลอง ชั้น 2 สวนโมกข์กรุงเทพ โดยเน้นการระดมความคิด วิเคราะห์ปัญหา และช่วยกันหาแนวทางคำตอบอย่างเป็นรูปธรรม
การบริหารการเงินวัด ยังมีปัญหาเรื่องธรรมาภิบาล
รศ.ดร.ณดา จันทร์สม ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ฉายภาพว่า จากการศึกษาเรื่อง “การบริหารการเงินของวัดในประเทศไทย” เมื่อปี 2555 วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรประเภทองค์กรทางศาสนา และมีเจ้าอาวาสเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลความเรียบร้อยต่างๆ ภายในวัด แต่ก็ยังมีโครงสร้างการบริหารที่ไม่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล

รองศาสตราจารย์ ดร.ณดา จันทร์สม
ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
เมื่อเจาะลงไปถึงเรื่องการบริหารเงินวัด พบว่า กฎหมายมีการกำหนดให้วัดจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย และให้เจ้าอาวาสตรวจตราให้เป็นที่ เรียบร้อย แต่เจ้าอาวาสเป็นพระสงฆ์ มีข้อจำกัดในการทำกิจต่าง ๆ จึงมีการแต่งตั้งไวยาวัจกรมาช่วยดูแลในส่วนที่สงฆ์ดำเนินการเองไม่ได้
ส่วนเรื่องการจัดทำบัญชีวัด พบข้อมูลว่า แต่ละวัดทำบัญชีตามสมัครใจหรือตามแต่สะดวกจะทำ เมื่อทำแล้วก็จัดเก็บข้อมูลไว้เองที่วัด ไม่ได้ เผยแพร่ให้สาธารณะได้รับทราบ หลังจากนั้นปี 2558 มหาเถรสมาคมจึงมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทุกวัดต้องนำส่งบัญชี รายรับรายจ่ายให้กับทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการจัดทำบัญชีของวัด ไม่ได้เป็นไปตามหลักการบัญชีสากลทั่วไป เนื่องจากวัดมีความหลากหลาย ตั้งแต่วัดขนาด ใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก จึงมีข้อจำกัดในการทำ และไม่ได้กำหนดระเบียบการเบิกจ่ายที่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถดูได้ว่าเกิดการโยก ย้ายเงินตรงไหน
จนกระทั่งในปี 2564 ได้มีการออกกฎกระทรวงฉบับใหม่ว่าด้วยการดูแลและจัดการศาสนสมบัติของวัด ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ เช่น จะต้องมีการลงนามการเบิกจ่ายเงินในสมุดบัญชีวัดมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป หรือห้ามวัดถือครองเงินสดเกิน 1 แสนบาท เกินจากนั้นต้อง นำเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร เป็นต้น
| แต่คำถามที่ตามมาคือ การจะทำให้เป็นไปตามวิธีปฏิบัติดังกล่าว ต้องใช้กลไกอย่างไรในการกำกับ
ติดตามเนื้อหาการเสวนาฉบับเต็มได้ที่ ThaiPublica: ระบบธรรมาภิบาลวัด จะสร้างได้อย่างไร?